Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด, นางสาวชื่นนภา มูลนิคม…
บทที่ 8 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
ภาวะติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal Infection)
การติดเชื้อแบคทีเรียภายหลังคลอดที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอดไปจนถึงระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด โดยมีสาเหตุจากการคลอดเท่านั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
การติดเชื้อระบบอวัยวะสืบพันธุ์
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อที่เต้านม
สาเหตุส่งเสริม
ปัจจัยเสี่ยงทั่วไป
1.1 ภาวะซีด (Anemia)
1.2 ภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดสารอาหาร พบว่าจะมีความผิดปกติของcell mediated immunity
1.3 การไม่ได้ฝากครรภ์ ทาให้ไม่ได้รับคาปรึกษาแนะนาการดูแลตนเองระหว่าง ตั้งครรภ์การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีผลต่อการติดเชื้อ
1.4 เศรษฐฐานะต่า เป็นองค์ประกอบที่จะนาไปสู่ปัจจัยส่งเสริมการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ การไม่ได้ดูแลสุขภาพตนเอง สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมที่ส่งเสริมการติดเชื้อ เป็นต้น
1.5 การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะถ้ามีถุงน้าคร่าแตกระหว่าง การมีเพศสัมพันธ์หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะพบอัตราการติดเชื้อสูงขึ้น
1.6 มีการอักเสบของมดลูก และปากมดลูกมาก่อน
1.7 ประวัติเป็นโรคเบาหวาน
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการคลอด
2.1 ถุงน้าคร่าแตกเนิ่นนาน (prolonged rupture of membranes)
2.2 จานวนครั้งของการตรวจภายใน
2.3 การทาหัตถการ , intrauterine fetal monitoring ในมารดาที่มีครรภ์เสี่ยงสูง
2.4 ระยะเวลาของการคลอดที่ยาวนาน
2.5 วิธีการคลอด การคลอดทางช่องคลอด จะมีการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างมาก
2.6 การมีบาดแผลฉีกขาดของช่องทางคลอด จากการคลอดปกติ หรือใช้เครื่องมือ ช่วยคลอด
2.7 การล้วงรก
2.8 การมีเศษรกและเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
การติดเชื้อหลังคลอดตามตำแหน่งที่เกิด
การติดเชื้อบริเวณฝีเย็บ (Localizied infection)
การอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis , Metritis)
การอักเสบของเยื่อบุในอุ้งเชิงกราน (Parametritis , Pelvic cellulitis)
การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง (Peritonitis)
การติดเชื้อบริเวณฝีเย็บ (Localizied infection)
สาเหตุ
เกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ขณะคลอด
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง พบว่า จะมีไข้หลังวันที่ 2 ของการคลอด เจ็บแผลฝีเย็บมาก แผลมีการอักเสบ บวมแดง บางครั้งเป็นฝีหนอง และแผลจะแยกออกจากกัน อาจมีอาการปัสสาวะลาบาก และปัสสาวะไม่ออกได้
การรักษา
ให้การรักษาเหมือนแผลที่ติดเชื้อทั่วไป โดยให้ยาปฏิชีวนะ และเปิดแผลให้กว้างขึ้นเพื่อให้ฝีหนองไหลออกได้สะดวก รวมทั้งการให้ยาแก้ปวดและใส่สายสวนปัสสาวะในกรณีที่ปัสสาวะลาบาก
ในรายที่แผลฝีเย็บแยก จะทำการเย็บซ่อมแซมได้ ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
การให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดา
ถอดไหมที่เย็บและเปิดแผลทั้งหมด
ใช้ยาชา 1% xylocain jelly ทาที่แผล
ตัดเนื้อเยื่อที่ตายออกทั้งหมด
ทาความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง ด้วย betadine
ให้ hot sitz bath วันละหลายครั้ง ด้วยน้าผสมเกร็ดด่างทับทิม หรือน้าเกลือ หรือให้ infra red light
ประเมินลักษณะแผล ถ้าแผลสีชมพูค่อนข้างแดง ให้เย็บฝีเย็บโดยยึดหลักปราศจากเชื้อ
การติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บหรือบริเวณที่มีการฉีกขาดของฝีเย็บ ช่องคลอดหรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ซึ่งเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ที่พบบ่อยที่สุด แต่มักไม่รุนแรงมากนัก
การพยาบาล
1.3 เมื่อแผลติดดีขึ้น ความเจ็บปวดน้อยลง ให้นั่งแช่ก้นวันละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้หนองไหลได้ดีและแผลสะอาด หลังการแช่ก้นแล้วให้อบไฟ จะช่วยให้แผลหายเร็ว รู้สึกสบายขึ้น
1.4 ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
1.5 กระตุ้นให้ลุกเดินบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงแผลได้ดีขึ้น
1.6 แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เมื่อชุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปื้อนหนองที่ไหลออกมา เพราะถ้าทิ้งไว้นาน อาจมีการปนเปื้อนเกิดการติดเชื้อใหม่ รวมทั้งสอนการใส่และถอดผ้าอนามัยที่ถูกต้อง และการทาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วนตนเอง
1.7 ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการไข้
1.8 ให้กาลังใจ อธิบายถึงพยาธิสภาพของการติดเชื้อบริเวณฝีเย็บ การรักษา และการปฏิบัติตนเพื่อลดความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือ
1.1 ติดตามประเมินแผลฝีเย็บทุกวัน โดยให้หญิงหลังคลอดนอนตะแคง ดึงแก้มก้นขึ้นไป ตรวจดูอาการแดง บวม จานวนและชนิดของสิ่งที่ซึมจากแผล ประเมิน ความเจ็บปวด แม้สัมผัสบริเวณแผลเบา ๆ ก็รู้สึกเจ็บปวดมาก
1.2 ดูแลทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยยึดเทคนิคปราศจากเชื้อ
การอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis , Metritis)
เป็นการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูกชั้น endometrium มักเริ่มจากบริเวณที่ฝังตัวของรกแล้วลามไปยังเยื่อบุโพรงมดลูกที่อื่น ทาให้มีการเกิดเนื้อเยื่อที่เน่าเปื่อยและมี discharge จากช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น
สาเหตุ
การตรวจภายใน
ถุงน้าคร่าแตกก่อนการเจ็บครรภ์จริง
การเจ็บครรภ์คลอดที่ยาวนาน
การผ่าตัดที่มดลูก
การตรวจ Internal electrical monitoring
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง พบว่า มีไข้สูง อุณหภูมิมากกว่า 38.3 องศาเซลเซียส (101 องศาฟาเรนไฮท์) การที่มีไข้หนาวสั่นมักพบร่วมกับภาวะ bacteremia และชีพจรเต้นเร็ว ขึ้นอยู่กับขอบเขตของการติดเชื้ออาจมากกว่า 160 ครั้ง / นาที ปวดท้องน้อย น้าคาวปลามีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าเกิดจากเชื้อ B- hemolytic streptococci น้าคาวปลาอาจน้อยและไม่มีกลิ่น
จากการตรวจร่างกาย จะตรวจพบระดับยอดมดลูกโตกว่าที่ควรจะเป็น กดเจ็บที่มดลูกหรือปีกมดลูกทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่งเมื่อตรวจทางช่องคลอด และเจ็บที่ข้าง คอมดลูก หรือเป็น parametritis เมื่อตรวจทางทวารหนัก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพาะเชื้อจากบริเวณที่ติดเชื้อ การเจาะเลือดตรวจพบว่ามีภาวะ leukocytosis ตั้งแต่ 15,000 - 30,000 cell per Ul ค่า neutrophils สูงขึ้น
การรักษา
ส่วนใหญ่ตอบสนองดีต่อการให้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้น มีภาวะแทรกซ้อน เช่น parametrial phlegmons การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด การมีถุงหนองในอุ้งเชิงกราน
การให้ยาปฏิชีวนะ ควรคานึงถึง ชนิดของยาต้องเลือกให้ตรงกับเชื้อ และขนาดของยาซึ่งอาจต้องเพิ่ม เพราะปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นกว่าก่อนตั้งครรภ์
การอักเสบจะพบแบคทีเรียทั้งชนิด aerobe และ anaerobe ดังนั้นต้องเลือกใช้ยาที่มีอานาจทาลายเชื้อทั้ง 2 ประเภท เช่น penicillin ร่วมกับ aminoglycoside , penicillin กับ tetracycine หรือ penicillin กับ cepharosporin
การพยาบาล
แนะนาและดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาเน้นการรับประทานยาให้ครบถ้วน และสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเป็นได้
ดูแลให้นอนพักผ่อนมากที่สุด
แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธุ์ และงดสวนล้างช่องคลอด
ดูแลให้รับประทานอาหารให้เพียงพอ และมีคุณภาพ
จัดให้นอนท่า fow ler’s ช่วยให้น้าคาวปลาไหลสะดวก ป้องกันการขังของน้าคาวปลาที่มีเชื้อ
ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจได้รับสารน้าทางหลอดเลือดดา ร่วมกับ oxytocin เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ดูแลให้ได้รับตามแผนการรักษา
ถ้ามีอาการปวดมดลูกรุนแรง หรือไม่สุขสบายจากการปวดท้อง ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ อาจต้องแยกหญิงหลังคลอด
แนะนำการทาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
การอักเสบของเยื่อบุในอุ้งเชิงกราน (Parametritis , Pelvic cellulitis)
เกิดจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อที่ช่องคลอดหรือปากมดลูกมาทางต่อมน้าเหลือง ไปยัง parametrium หรือมีการลุกลามโดยตรงของ การติดเชื้อบริเวณปากมดลูกที่ฉีกขาดจนถึงฐานของ broad ligament มายัง parametrium และเป็นการติดเชื้อที่แพร่กระจายออกมาจาก pelvic thrombophlebitis
สาเหตุ
มีการติดเชื้อที่ช่องคลอด หรือปากมดลูก ซึ่งทวีความรุนแรง หรือเป็นอยู่นานโดยไม่ได้รับการดูแลรักษา ทาให้เกิดการติดเชื้อลุกลาม
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง พบมีไข้สูง 38.9 - 40 องศาเซลเซียส (102 - 104 องศาฟาเรนไฮท์) หนาวสั่น มักเป็นเกิน 7 วันขึ้นไป
กดเจ็บที่ท้องน้อย อาจเป็นด้านใดด้านหนึ่ง ตรวจภายในพบมดลูกโต และ เคลื่อนไหวได้น้อย
การตรวจทางช่องคลอดร่วมกับการตรวจ ทางทวารหนัก (rectovaginal exame) พบ parametrium ตึง หนา และกดเจ็บ หากเป็นมากอาจพบ ฝีหนองที่เหนือ poupart’s ligament และที่ cul de sac ได้ หายใจเร็วตื้น กระหายน้า อย่างรุนแรง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยให้พวก broad - spectrum antibiotic และจึงเลือกให้เมื่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ชี้ชัดว่าติดเชื้อตัวใด
การพยาบาล
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการอย่างใกล้ชิดได้แก่คลาหน้าท้องเพื่อดูอาการกดเจ็บ ดูผ้าอนามัยและบริเวณฝีเย็บ สี กลิ่น และอาการบวมเลือด สัญญาณชีพ
จัดท่าให้นอน Semi - fowler
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับน้า ประมาณวันละ 3,000 - 4,000 มิลลิลิตร
ให้กาลังใจ พูดคุยเปิดโอกาสให้ซักถาม และอธิบายถึงพยาธิสภาพของโรค อาการแสดง และการรักษาพยาบาลอย่างคร่าว ๆ
แนะนำการปฏิบัติตัว ขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน
นางสาวชื่นนภา มูลนิคม รหัส 602701020