Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร
โครงสร้างของทางเดินอาหาร
ส่วนที่เป็นทางเดินอาหาร
ช่องปาก (Mouth cavity)
หน้าที่ : ฟันทำหน้าที่บดอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร เพื่อให้ง่ายต่อการกลืนและเคลื่อนผ่านไปยังส่วนต่อไป นอกจากนี้ ในน้ำลายยังมีเอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกแป้ง
หลอดอาหาร (Esophagus)
อาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารด้วยวิธีที่เรียกว่า Peritalsis ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารให้ก้อนอาหารที่กลืนลงไปตกลงสู่กระเพาะอาหาหาร
กระเพาะอาหาร (Stomach)
ก้อนอาหารจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการเคลื่อนไหว หรือเกิดการบีบตัวและคลายตัว เพื่อเป็นการคลุกเคล้าอาหารให้ทำผสมกับน้ำย่อยที่หลั่งออกมจากต่อมไร้ท่อ ในกระเพาะอาหารจะมีสภาวะเป็นกรดประมาณ pH 2 – 3 ซึ่งเอื้อต่อการทำงานของเอนไซม์หรือน้ำย่อย โดยอาหารจำพวกโปรตีนจะถูกย่อยที่กระเพาะอาหารมากที่สุดด้วยเอนไซมม์เพปซิน
ตับอ่อน (Pancreas)
ผลิตน้ำย่อยซึ่งเป็นเอนไซม์หลายชนิด และมีบทบาทในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน น้ำย่อยที่ผลิตโดยดับอ่อนจะลำเลียงผ่านท่อมาสู่ทางเดินอาหารที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
ตับ (Liver)
ทำหน้าที่ผลิตน้ำดี เพื่อช่วยการย่อยไขมันและวิตามินบางชนิด โดยน้ำดีที่สร้างจากตับจะเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีและลำเลียงเข้าสู่ทางเดินอาหารบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น
ถุงน้ำดี (Gallbladder)
ทำหน้าที่เก็บน้ำดี (Bile) ที่ผลิตมาจากตับ และปล่อยน้ำดีเข้าสู่ทางเดินอาหารผ่านท่อน้ำดี เมื่อมีอาหารเคลื่อนผ่านมายังลำไส้เล็กส่วนต้น
ลำไส้เล็ก (Small intestine)
ลำไส้เล็กทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อย, คลุกเคล้าอาหารที่ให้เข้ากับน้ำย่อยจากตับอ่อน, และดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้ว สารอาหารทั้งโปรตีนน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ภายในลำไส้เล็ก แบคทีเรียบางชนิดที่อยู่ในลำไส้เล็กมีบทบาทในการผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต
ลำไส้ใหญ่ (Large intestine)
ดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตผ่านทางผนังลำไส้ และไม่พบกระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นในลำไส่ใหญ่ กากอาหารต่างๆ ที่เหลือจากการย่อยจะถูกขับออกจากร่างกายทางทวารหนัก (Anus) แบคทีเรียเจ้าถิ่นที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่มีบทบาทช่วยป้องกันเชื้อแปลกปลอมที่ปะปนมากับอาหาร รวมถึงช่วยรักษาสมดุลภายในลำไส้ให้อยู่ในสภาวะปกติ
ต่อมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ GIT
ผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ต่อมน้ำลายของมนุษย์มีด้วยกัน 3 คู่
Parotid gland : พบได้ที่บริเวณกกหู ผลิตน้ำลาย ชนิดใสชนิดเดียว
Submandibular gland : พบได้ที่บริเวณขากรรไกรล่าง ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดใสจะมากกว่า เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายได้มากที่สุด
Sublingual gland : ขนาดเล็กที่สุด พบได้ที่บริเวณใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดเหนียวจะมากกว่า
ตับ/ตับอ่อน
ฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin )
แหล่งสร้าง : จากเบต้าเซลล์ ( beta cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่รอบนอกของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
หน้าที่ : ลดระดับน้ำตาลในเลือด ( ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 80 - 100 มิลลิกรัม / 100 ลบ.ซม. ) โดย- เพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ- กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน ( โมเลกุลของคาร์โเก็บสะสมไว้ภายในเซลล์บไฮเดรตที่สร้างจากกลูโคส )
ความผิดปกติ : ทำให้เกิดโรคเบาหวาน( diabetes mellitus)โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน(lnsulin) ได้น้อย
หรือไม่ได้เลยทำให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บสะสมไว้ภายในเซลล์ได้จึงเกิดการสะสมของน้ำตาลในเลือดเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีมากเกินปกติก็จะถูกไตขับออกมาในปัสสาวะ
ฮอร์โมนกลูคากอน ( Glucagon )
แหล่งสร้าง : จากแอลฟาเซลล์( alpha cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ส่วนในและเป็นเซลล์ส่วนใหญ่ของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
หน้าที่ : เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด เพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนและกรดไขมัน
โรคของช่องปาก
ความพิการแต่กำเนิด
Hare Lip and Cleft palate(โรคปากแหว่งเพดานโหว่)
เกิดตั้งเเต่ทารกในครรภ์มารดาในช่วง2 -3เดือนของการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความผิดพลาดในการสร้างอวัยวะ เช่น ปากเเละเพดาน
ปากแหว่ง
ด้านบนของปากมีช่องเว้า ปากเเหว่งไม่สมบูรณ์หรือปากเเหว่งบางส่วนอาจมีรอยไปถึงจมูก อาจเกิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
สาเหตุ : การเชื่องของขากรรไกรบนเเละส่วนจมูกยื่นใกล้กลางไม่สำเร็จ
เพดานโหว่
แผ่นกระดูกกระโหลกศรีษะประกอบเป็นเพดานเเข็ง2แผ่นไม่เชื่อมกัน
สาเหตุ : ความบกพร่องของการเชื่อมส่วนยื่นของเพดานปากด้านข้าง ผนังกลางจมูก
มี2ชนิด
ชนิดสมบูรณ์ : มีรอยเเยกทั้งเพดานเเข็งเเละเพดานอ่อน อาจมีขากรรไกรยื่น
ชนิดไม่สมบูรณ์ : มีช่องที่เพดานปาก มักเป็นที่เพดานอ่อน
การอักเสบ
Gingivitis
เศษอาหารหมักหมมหรือหินปูน ทำให้เกิดเเบคทีเรียเเละเกิดการอักเสบ
Periodonitis
เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบฟันมักเกิดที่เหงือกก่อนเเล้วลามไปเนื้อเยื่อ อักเสบทำให้เหงือกร่นเเละสูญเสียฟัน
Dental caries
รอยโรคที่มีการทำลายสาร enamel เเละ dentine โรคเเทรกซ้อนที่สำคัญ "Osteomyelitis / Cellulitis"
Recurrent herpes labialis
เกิดจาก herpes simplex virus ระยะเเรกเป็นvesicleขนาดเล็กที่ริมฝีปาก ต่อมาเเตกเป็นเเผล ถ้าร่างกายมีความต้านทานลดลง จะเกิดรอยโรคซ้ำบริเวณเดิม
Aphthous ulcer
เป็นเเผลที่เกิดซ้ำในช่องปาก มักเป้นเเผลตื้นคลุมด้วย exudate สีเทารอบๆเป็นสีเดงมักหายใน1สัปดาห์
Oral candidiasis (Thrush)
เกิดจากเชื้อรา Candida albicans พบในเด็กเล็กที่ภูมิต่ำ บริเวณที่อักเสบคลุมด้วย fibro - suppurative exudate ที่มีเชื้อราปน
ฟัน
เคลือบฟัน (enamel) : เป็ นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมี
ส่วนประกอบของ แคลเซียมและฟอสเฟต
เนื้อฟัน (dentine) : เเข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน มีการสร้างสารละลายตลอดเวลา มีเซลล์จำนวนมาก
โพรงประสาทฟัน (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงเเละนำของเสียออกจากฟันเเละมีเส้นประสาทรับความรู้สึก
เคลือบรากฟัน (cementum) : ส่วนของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่ในรากฟัน มีเส้นประสาทไหลเวียนจำนวนมาก
เหงือก (gingiva) : เนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟันเเละกระดูกขากรรไกรไว้
Tonsillitis
Acute tonsillitis
เกิดจากเชื้อ Streptococcus Staphylococcus พบ tonsil บวมโตมีexudate สีขาวคลุมที่ผิว ภาวะเเทรกซ้อนที่สำคัญ "Peritonsillar abscess"
Chronic hypertrophic tonsillitis
เกิดจากการอักเสบของ tonsil เป็นๆหายๆพบtonsilขนาดใหญ่กว่า2 เซนติเมตร เนื่องจาก limphoid hyperplasia
โรคของต่อมน้ำลาย
Mumps
เกิดจากการติดเชื้อกลุ่ม Paramyxovirus เป็นการอักเสบเเบบacute interstitial inflammation
ติดต่อกันโดย น้ำลาย เสมหะ (5-10ปี)
ผู้ชายอาจมีอัณฑะอักเสบ(Orchitis)
ผู้หญิงอาจมีรังไข่อักเสบ(Oophoritis)
อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย(Meningoencephalitis)
โรคของหลอดอาหาร
ความพิการเเต่กำเนิด
Esophageal atresia เป็ นภาวะที่ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของ
หลอดอาหาร
Esophageal stenosis เป็ นภาวะที่บางส่วนของ
หลอดอาหารตีบ
Achalasia
จำนวน myenteric ganglion cell ในผนังหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ควบคุมการหดตัวเพื่อบีบไล่อาหารมีจำนวนลดลงหรือไม่มี
กลืนอาหารลำบากและสำลัก โดยเฉพาะเวลา
กลางคืนหลอดอาหารส่วนบนมีการโป่งออกผนังบาง
Esophageal varices
หลอดเลือดดำโป่งพองบริเวณหลอดอาหารส่วนล่างเป็นเส้นเลือดที่ท่ออาหาร esophagus ส่วนล่างเกิดการขยายตัว ทำให้เกิดผนังของเส้นเลือดบางลงง่ายต่อการฉีกขาดหรือแตกและมีเลือดออก
สาเหตุ : หลอดเลือดดeมีลักษณะคดเคี้ยว จาก portal
hypertension ทำให้เกิดแผลได้ ทำให้เกิดภาวะเลือดออก ''cirrhosis''
ความผิดปกติของกระเพาะอาหาร
ความพิการแต่กำเนิด
Diaphragmatic hernia ทำให้พบส่วนที่เป็นทางเดินอาหารอยู่ในทรวงอก
Gastritis
เป็นการอักเสบของ gastric mucosa จากสารระคาย
เคืองและความบกพร่องกลไกป้องกัน mucosa เกิดอันตรายต่อเส้นเลือด→บวม →เลือดออก →รอยถลอก →เสี่ยงเป็ นมะเร็ง
ชนิดกระเพาะอาหารอักเสบ
Acute gastritis
สาเหตุ: ระคายเคืองจาก อาหาร ยา แอลกอฮอล์ การติดเชื้อ
พยาธิสภาพ: เริ่มจากอาการเลือดคั่งและบวมของเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจพบรอยโรคเรียก acute hemorrhagic erosivegastritis
Chronic gastritis
สาเหตุ: การท้นกลับน้ำดี,การระคายเคืองเรื้อรัง การดื่มเหล้า ยาASA กาติดเชื้อ Helicobacter pylori
รอยโรค : รอยแผลเป็น→ลุกลามเลือดออก แผลในกระเพาะอาหาร
Peptic ulcer
ภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย เกิดเเผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร พบได้ทุกเพศทุกวัย ตำแหน่งที่พบได้ เช่น หลอดอาหารส่วนล่าง กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้นที่ติดกับกระเพาะอาหาร
สาเหตุ : เกิดจากความเสียสมดุลระหว่างปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหารกับความต้านทานต่อกรดการติดเชื้อ Helicobacter pylori แบคทีเรียแกรมลบ/กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ/ใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ยาจะระคายต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยตรง
โรคกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลัน (Acute ulcer)
เป็นแผลตื้นไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหลายจุด เกิดขึ้นเป็น ครั้งคราว และหายเองประมาณ 6 สัปดาห์ มักพบมากในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหรือมีโรคติดเชื้อรุนเเรง
โรคกระเพาะอาหารแบบเรื้อรัง (Chronicpeptic ulcer)
มีลักษณะเป็นแผลลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารมีลักษณะเรื้อรัง ขอบเเผลนูนบวมเมื่อหายจะเป็นเเผลเป็นมี2ชนิด
แผลที่กระเพาะอาหาร(Gastric ulcer)
พบได้ในทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ทั้งส่วน
กระเพาะอาหาร ฟันดัส ไพโรริก และแอนทรัมอายุตั้งเเต่40 ขึ้นไป
สาเหตุ : สาเหตุมักพบเกิดจากความสามารถในการป้องกันกรดและเปปซินของกระเพาะอาหารลดลงทำให้เกิดแผลได้ง่าย
แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcer)
แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcer)
แผลเกิดบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น มักพบในทุกวัยโดยเฉพาะคนที่มีภาวะความเครียดสูง ดื่มสุราเเละสูบบุหรี่
สาเหตุ : จากการหลั่งกรดที่มากขึ้น
Peptic ulcer perforate
น้ำย่อยในกระเพาะมีกรด เมื่อกระเพาะทะลุกรดหลั่งออกมาในช่องท้องทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างหนัก
สาเหตุ : การติดเชื้อ Helicobacter pylori / การใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
โรคของลำไส้เล็ก
ความพิการแต่กำเนิด
Congenital atresia เป็นภาวะที่ไม่มีส่วน
ใดส่วนหนึ่งของลำไส้เล็ก
Congenital stenosis เป็นภาวะที่
บางส่วนของลำไส้เล็กตีบ
Intussusception
เป็นภาวะที่ลำไส้เล็กส่วนต้นถูกกลืนโดยส่วนปลาย ส่วนที่กลืน"intussuscipien" ส่วนที่ถูกกลืน "intussusceptum" พบในเด็กเล็กโดยเฉพาะผู้ชาย
สาเหตุ : ยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุ / เกิดหลังการติดเชื้อของลำไส้
หรือจากความผิดปกติในผนังของลำไส้เล็กที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด/
Intestinal adhesion
การติดกันของลำไส้ หรือการที่ลำไส้ติดกับอวัยวะ
ส่วนอื่น ทำให้มีการดึงรั้งลำไส้ Contentผ่านไม่สะดวกเป็นมากทำให้ลำไส้อุดตันได้
สาเหตุ : การอักเสบหรือภายหลังการผ่าตัดในช่องท้อง
Intestinal obstruction
ภาวะที่สิ่งต่างๆในลำไส้ได้แก่ น้ำ อาหาร น้ำย่อยและของเหลวต่างๆในลำไส้ไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ตามปกติ จึงก่อให้เกิดอาการ แน่นท้อง อาเจียน /อาจเกิดจากลำไส้ไม่บีบตัวได้ตามปกติ /เกิดจากช่องทางเดินในลำไส้ตีบเเคบ อุดตัน
โรคของลำไส้ใหญ่
ความพิการแต่กำเนิด
Hirschsprung’s disease or Congenital megacolon
มักพบในเพศชายพยาธิสภาพพบที่ rectum และ sigmoid colonไม่มี ganglion cell ใน colon จึงไม่มี peristalsis
ทำให้ content ผ่านไม่ได้/colon ส่วนที่อยู่เหนือกว่าผนังหนาเเละพองออก
Imperforate anus
เกิดจากเนื้อเยื่อที่แยกระหว่าง rectum กับ Anus ที่ควรหายไปตั้งแต่ทารกในครรภ์อายุ 8 สัปดาห์ ยังคงอยู่ / เกิดภาวะลำไส้อุดตัน
Diverticular disease
mucosa มีลักษณะคล้ายถุงยื่นเป็นติ่ง
ออกไปจาก muscle layer ของผนัง colon มักพบในผู้สูงอายุ รับประทานกากใยน้อย ไม่ออกกำลังกาย
ทำให้เกิดการหนาตัวของกล้ามเนื้อรอบๆติ่ง→เพิ่มแรงดัน →ติ่งแตก →abscess, peritonitis
Hemorrhoid
ริดสีดวงทวาร เกิดจากการโตขึ้นของกลุ่มเส้นเลือด และเนื้อเยื่อ บริเวณส่วนปลายของลำไส้ตรง ที่เรียกว่าhemorrhoidal tissue hemorrhoidal tissue จะมีหน้าที่ป้องกันกล้ามเนื้อของทวารหนัก
สาเหตุ : 1.เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณนั้น 2.เกิดจากการเพิ่มความดันในหลอดเลือดดำนานๆ เกิดการเบ่งอุจจาระบ่อยๆ
โครงสร้างเเละสรีรวิทยาของตับ
หน้าที่ของตับ
สร้างและหลั่งน ้ำดี
ควบคุมการสร้างและสลายคาร์โบไฮเดรท
ควบคุมการสร้างและสลายโปรตีน
ควบคุมการสร้างและสลายไขมัน
ควบคุมการสร้างและสลายวิตามิน
ทำการเปลี่ยนโครงสร้างและขับสารพิษและยาออกจากร่างกาย
ความผิดปกติของตับ
Jaundice
ระดับ bilirubin ในเลือดสุงกว่าปกติ2เท่า
อาการ : ผิวหนัง ตาเหลือง
สาเหตุ : มีการเเตก RBC เพิ่มขึ้น / มีความบกพร่องของเซลล์ตับในการจับbilirubin/มีการอุดตันของทางเดินน้ำดีภายในเเละภายนอกตับ
Ascites
ภาวะท้องมานเป็นการสะสมของเหลวในช่องท้อง โดยมีสาเหตุจากโรคตับเรื้อรัง มะเร็ง หัวใจขวาล้มเหลว ตับอ่อนอักเสบ nephrotic syndrome
ภาวะalbumin ต่ำ
การหลั่งADH↑,Aldosterone ↑
Portal hypertention (ภาวะความดันเลือดสูงในเส้นเลือดดำพอร์ตัล)
การอุดตันที่เกิดในเส้นเลือดพอร์ตัล(Prehepatic block)
การอุดตันที่เกิดขึ้นในตับส่วน sinusoids(Intrahepatic sinusoidal block)
การอุดตันที่เกิดขึ้นในเส้นเลือดดำเฮปพาติก(Posthepatic block)
Hepatitis
เป็นการอักเสบของตับจากการติดเชื้อ virus หรือ reactionจากยาและสารเคมี มีการทำลายparenchymal cell และมีtransaminases (SGOT,SGPT) ปล่อยเข้ากระแสเลือด
Cirrhosis
เป็นความผิดปกติของตับที่เกิดจากการอักเสบมีfibrosis และมี nodular regeneration ทำให้มีความผิดปกติทั้งโครงสร้างและหน้าที่ของตับ/ตับมีรูปร่างบิดเบี้ยว เเข้ง อุดตันทางเดินน้ำดีเกิดPortal hypertention
Disorders of the gall bladder
นิ่วในทางเดินน ้าดี (Gallstones)
Choledocholithiasis นิ่วที่เกิดในทางเดินน้ำดีร่วม เกิดจากการอักเสบของท่อน้ำดี(Cholangitis)
hepatolithiasis นิ่วที่เกิดในทางเดินน้ำดีภายในตับ มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลัก มีสีน้ำตาล เรียก Brown pigmentstones
Cholecystitis การอักเสบของถุงน้ำดีจากโรคนิ่ว
ในถุงน้ำดี ก้อนนิ่วจะไปอุดตันท่อน้ำดีความดันในถุงสูงทำให้ถุงน้ำดีขาดเลือดเกิดการอักเสบ
มี2ชนิด
นิ่วที่ประกอบด้วยโคเลสเตอรอล (Cholesterolstones)
เกิดจากการมีCholesterol เพิ่มขึ้นในน้ำดี หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารออกได้หมด
นิ่วที่ประกอบด้วยบิลิรูบิน (Pigment or bilirubinstones)
มักพบในผู้ป่วยตับเเข็งหรือมีความผิดปกติของเลือดโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียโรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD