Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) - Coggle Diagram
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
ความรู้มี 2 ประเภท
ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายมี 4 ประการ
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
บรรลุเป้าหมายของงาน
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้
การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น
นิยามผลสัมฤทธิ์ 4 ส่วน
ขีดความสามารถ
ประสิทธิภาพ
การมีนวัตกรรม
การสนองตอบ
ตั้งเป้าหมายเพื่อ
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
งาน พัฒนางาน
การจัดการความรู้ที่ดี
“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน
“กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้
“คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้
กระบวนการจัดการความรู้
การเข้าถึงความรู้
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
การประมวลและกลั่นกรองความรู้
การเรียนรู้
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
การสร้างและแสวงหาความรู้
การบ่งชี้ความรู้