Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Skeletal Traction - Coggle Diagram
Skeletal Traction
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากมีการบาดเจ็บเนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
ข้อมูลสนับสนุน
S:-
O:ผู้ป่วยนอนบนเตียงตลอดเวลา
-ผมมัน มีคราบเลือดติดผม
-on skeletal traction with weight 5 kg.
-U slab left arm with arm sling
-close fracture left clavicle with close fracture left humerus with open fracture 1st finger proximal interphalangeal joint dislocate with closed fracture pubic rami both side with open fracture left femur
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน
2.ผู้ป่วยได้รับการทำความสะอาดร่างกาย
วัตถุประสงค์
1.ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
2.ญาติสามารช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันได้
การพยาบาล
1.ใช้เครื่องมือ Bathel ADL Indexในการประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย
2.สอนให้ผู้ป่วยโหนตัว โดยใช้บาร์ที่อยู่เหนือศีรษะ (trapeze) เมื่อต้องการทำความสะอาดบริเวณหลังหรือใส่หม้อนอนให้ตั้งขาดีขึ้นพร้อมทั้งโหนตัวโดยมือจับที่ trapeze ตะแคงตัวได้เล็กน้อยโดยระมัดระวังไม่ให้แนวของการดึง(line of pull)และไม่ให้บริเวณที่เข้าskeletal traction เคลื่อนไหวเพราะจะทำให้ผู้ป่วยปวดบริเวณที่หักได้
3.สอนญาติดูแลในเรื่องการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเช่น การเคลื่อนไหว การลุกนั่งและการเสริมสร้างทักษะและการกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองมากขึ้น
4.ดูแลให้หม้อนอนเมื่อต้องการขับถ่าย สอนวิธีการควบคุมขับถ่ายอุจจาระและแนะนำญาติให้ดูแลความสะอาดหลังการขับถ่ายเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย
5.ดูแลให้ผู้ปป่วยได้รับประทานอาหารให้สะดวกครบทั้ง3มื้อเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดและบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ข้อมูลสนับสนุน
S: -
O:มีสีหน้านิ่วคิ้วขมวดเมื่อขยับตัว
pain score = 7 คะแนน
มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะเย็บด้วยไนลอนขนาด 0.5x4 cm
คิ้วขวามีแผลฉีกขาดเย็บด้วยไนลอนขนาด 0.5x2 cm
แขนขวามีแผลฉีกขาดเย็บด้วยไนลอนขนาด 0.5x3 cm
ขาซ้ายผิดรูปมีแผลฉีกขาดตรงกับบริเวณที่กระดูกหัก
on skeletal traction with weight 5 kg
ปวดเมื่อกดลง pubic symphysis
T= 38.1 c PR= 100/min RR= 22/min BP= 130/80 mmHg
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีอาการสุขสบายขึ้นและปวดแผลลดลง
เกณฑ์การประเมิน
1.pain score < 7
2.ผู้ป่วยมีสีหน้าที่ดีขึ้น
3.ไม่มีอาการปวดแผล
4.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ T = 36.7-37.4 c PR = 60-100/min
RR = 18-24/min BP = 90-120/60-90 mmHg
การพยาบาล
1.จัดอวัยวะส่วนที่หักให้พักอยู่บนเครื่องพยุงหรือหมอนและให้การพยาบาลอย่างเบามือเพราะการเคลื่อนไหวบริเวณที่หักจะทำให้ปลายกระดูกที่หักเสียดสีกับเนื้อเยื่อและเยื่อหุ้มกระดูกซึ่งเป็นบริเวณที่ไจต่อความเจ็บปวด
2.ดูแลให้ได้รับยาMO 3 mg IV for prn. q 6 hr ตามแผนการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดระดับกลางถึงรุนแรง มีฤทธิ์กระตุ้น opioid receptorได้ดีในไขสันหลังและสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บปวดทำให้การนำความรู้สึกปวดลดลง เฝ้าระวังผลข้างเคียงคือกดการหายใจ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
3.ดูแลให้ได้รับยา tramadol (50 mg) 1 tab oral t.i.d. p.c เพื่อระงับการปวด มีฤทธิ์ระงับอาการปวดได้ค่อนข้างดีแต่มีผลกดการหายใจและระบบไหลเวียนเลือดน้อยมาก มีระยะเวลาออกฤทธิ์นานใกล้เคียงกับMO เฝ้าระวังผลข้างเคียงคือ เกิดอาการง่วงซึม เวียนศีรษะ อาเจียน
4.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอและจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายมากขึ้น
5.สอนเทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจต่างๆแก่ผู้ป่วยเช่น การสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ การทำสมาธิ การสวดมนต์และการฟังเพลงเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
6.ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก2ชั่วโมงและประเมินpain score เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลเนื่องจากมีช่องทางเปิดของผิวหนัง
ข้อมูลสนับสนุน
มีอาการปวดแผล pain score = 7
-Neutrophils = 86.6%
-มีแผลฉีกขาดทีศีรษะด้วยไหมสีดำ ขนาด 0.5x4 cm
-คิ้วขวามีแผลฉีกขาดเย็บด้วยไนลอนขนาด 0.5x2 cm
-แขนขวามีแผลฉีกขาดเย็บด้วยไนลอน 0.5x3 cm
-มีแผลฉีกขาดยริเวณที่กระดูกหักเย็บด้วยไนลอนขนาด 0.5x3 cm มีเลือดซึมก๊อซเล็กน้อย on skeletal traction with weight 5 kg
T = 38.1 C PR = 100/min RR= 22/min BP=130/80 mmHg
วัตถุประสงค์
ไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
-ไม่มีไข้
-สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ T = 36.7-37.4 c PR = 60-100/min
RR = 18-24/min BP = 90-120/60-90 mmHg
pain score < 7
-ค่า neutrophils = 55-65%
-แผลไม่มีการอักแสบ ไม่มีหนอง ไม่มีกลิ่น ไม่เบวมแดง
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับยา cefazolin 1 gm IV q 6hr ตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อโดยมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ เฝ้าระวังผลข้างเคียงของยาได้ ได้แก่ หนาวสั่น ปวดข้อ
2.ดูแลให้ได้รับยา paracetamol (500 mg) 1 tab oral prn. q 4 hr เพื่อระงับปสดและลดไข้โดยมีการออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandins ในระบบประสาทส่วนกลางได้ดี ซึ่ง prostaglandins เป็นตัวทำให้เกิดความเจ็บปวดและทำให้เกิดไข้ที่มีผลต่อศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เฝ้าระวังผลข้างเคียง ได้แก่ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ตับวาย
3.ล้างมือก่อนทำแผลและควรใส่ถุงมือปราศจากเชื้อทุกครั้งในการทำแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4.ล้างแผลแบบ dressing wound O.D ตามแผนการรักษาหลังทำความสะอาดต้องปิดแผลให้กว้างพอที่จะคลุมแผลทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
5.สังเกตลักษณะของแผลว่า บวม แดง ร้อน ซึม มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นอาการแสดงของการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
6.แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยเปิดแผลและเอามือเเกะเกาแผลหรือระวังไม่ให้แผลโดนน้ำเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ
7.ดูแลทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมรอเตียงผู้ป่วยเพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรค
8.แนะนำให้รับประทานอาหารชนิดเนื้อ นม ไข่ ผักใบเขียวและผลไม้เพื่อส่งเสริมการหายของแผล
9.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการรักษา
10.ประเมินสัญญาณชีพทุก4ชั่วโมงโดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกายให้ลดลงอยู่ในระหว่าง 36.7-37.4 C เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย
11.ประเมินภาวะการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ใส่เหล็กเกี่ยวกับลักณะบวม แดง ปวด กดเจ็บเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกเนื่องจากสูญเสียเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
-มีอาการอ่อนเพลีย
-มีเลือดซึมก๊อซ
-ปัสสาวะสีแดง 500 ml
-Hb = 9.7 g/dl
-Hct = 33%
Platelet = 117,000/cu.mm
PR = 100/MIN
BP = 130/80 mmHg
-Retain foley catch urine bag 400 ml
intake 2,400 ml output 2,200 ml
มีประวัติเกิดอุบัติเหตุ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะช็อก
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อก เช่น กระวนกระวาย สับสน หน้าซีด มือเย็นเท้าเย็น หายใจเร็ว ชีพจรเบาเร็ว
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ BP = 90-120/60-90 mmHg PR = 60-100/min RR = 16-24/min MAP = 60-100 mmHg
capillary filling time <2 sec
ค่า CBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ
Hb = 12.1 - 14.7 g/dl
Hct = 35-45 %
Platelet = 140,000 - 400,000 /cu.mm
urine output > 30 cc/hr
ไม่มีอาการกระสับกระส่าย วุ่นวาย รู้สึกตัวดี
การพยาบาล
1.ดูแลให้สารน้ำ NSS 1000 ml IV KVO ตามแผนการรักษาเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป
2.สังเกตุและประเมินอาการแสดงของภาวะช็อก เช่น หน้าซีด มือเย็น เท้าเย็น หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ capillary filling time urine output < 30 cc/hr เพื่อวางแผนการพยาบาลและให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม
3.ดูแลให้ผู้ป่วย bed rest เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
4.ประเมินสาเหตุของการเกิดภาวะช็อกเพื่อให้การดูแลที่ถูกต้อง เช่น การติดเชื้อ การแพ้ยาหรืออาหาร การสูญเสียเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งออกจากร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ เป็นต้น
5.ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น กระสับกระส่าย วุ่นวายเนื่องจากหากเกิดอาการดังกล่าวแล้วให้การพยาบาลไม่ทันอาจมีอาการซึมลงและโคม่าในที่สุด
6.ติดตามและบันทึกสัญญาณชีพทุก1ชั่วโมงเพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะช็อก
7.บันทึก urine output ทุก1ชั่วโมงเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของไต
8.ดูแลจัดท่านอนผู้ป่วยโดยจัดท่านอนราบยกปลายเท้าหรือนำผ้าบางๆมารองปลายเท้าเพื่อเพิ่ม venous return ทำให้ CO เพิ่มขึ้น
เสี่ยงเกิดภาวะท้องผูกเนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
ข้อสนับสนุน
on skeletal traction with weight 5 kg
ยังไม่อุจจาระ
bowel sound = 10/min
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่เกิดอาการท้องผูก
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ1ครั้ง
ไม่มีอาการท้องอืด
bowel sound = 6-12/min
การพยาบาล
1.ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ต่างๆทำให้อุจจาระนุ่มลงและช่วยในการขับถ่าย
2.ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2,000 cc หากไม่มีข้อห้ามเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก
3.ใช้ fracture bed pan เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับการขับถ่ายบนเตียงและจัดท่านอนขณะขับถ่าย
4.จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม มิดชิดและเป็นส่วนตัวเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกอาย
5.รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาเหน็บทวาร สวนอุจจาระ หรือยาระบาย
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
ข้อมูลสนับสนุน
นอนบนเตียงตลอด
on skeletal traction with weight 5 kg
มีประวติได้รับอุบัติเหตุ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีรอยแดงหรือรอยถลอกบริเวณปุ่มกระดูก
ไม่เกิดแผลกดทับ ผิวหนังเรียบ ตึง ไม่มีรอยถลอกหรือฉีกขาด
ผิวหนังชุ่มชื้น หยืดหยุ่นดี
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ญาติสามารถดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับได้
การพยาบาล
1.อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเรื่องแผลกดทับ สาเหตุและการป้องกัน
2.ประเมินอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือต่อไป
3.ให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนนุ่มเพื่อลดแรงกดและดูแลให้นอนในท่าที่ถูกต้องพร้อมพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก2ชั่วโมง
4.สอนและสาธิตให้ญาติปฏิบัติตามเมื่่อเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วย ควรใช้ผ้าขวางเตียงช่วยยกตัวผู้ป่วย ไม่ใช้วิธีลากดึงเพราะจะทำให้ผิวหนังเกิดการถลอก เนื้อเยื่อถูกทำลาย
5.แนะนำญาติให้ดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถ้าอากาศร้อนควรเช็ดตัวและเปลี่ยนผ้าปูบ่อยๆเพื่อลดแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนัง
6.แนะนำให้ใช้ครีมทาบริเวณผิวหนังเพื่อรักษาความชุ่มชื้น
7.ดูแลไม่ให้ขอบของเครื่องพยุง กดทับผิวหนังทำให้เกิดแผลและดูแลบริเวณส้นเท้าไม่ให้ถูกกดทับ เพราะการเกิดแผลกดทับบริเวณเอ็นร้อยหวายจะทำให้เป็นปัญหาในการเดิน
มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหวร่างกายเนื่องจากได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยนอนบนเตียงตลอดเวลา
วัตถุประสงค์
ไม่มีภาวะข้อติด
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถบรืหารกล้ามเนื้อและข้อได้ถูกต้อง
การพยาบาล
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion )
2.ดูแลให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายตามท่าต่างๆที่ได้รับการสอนจากแผนกกายภาพบำบัดประจำทุกวัน
3.สอนผู้ป่วยบริหารกล้ามเนื้อและข้อเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆโดยการเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาและขยับข้อบ่อยๆ