บทที่ 8การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน

ภาวะติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal Infection)

สาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยงทั่วไป

ภาวะซีด (Anemia)

ภาวะทุพโภชนาการ

การไม่ได้ฝากครรภ์

เศรษฐฐานะต่ำ

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์

มีการอักเสบของมดลูก และปากมดลูกมาก่อน

ประวัติเป็นโรคเบาหวาน

ปัจจัยที่เกี่ยวกับการคลอด

ถุงน้ำคร่ำแตกเนิ่นนาน

จำนวนครั้งของการตรวจภายใน

การทำหัตถการ

ระยะเวลาของการคลอดที่ยาวนาน

วิธีการคลอด การคลอดทางช่องคลอด จะมีการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างมาก

การมีบาดแผลฉีกขาดของช่องทางคลอด

การล้วงรก

การมีเศษรกและเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก

การติดเชื้อหลังคลอดตามตำแหน่งที่เกิด

การติดเชื้อบริเวณฝีเย็บ (Localizied infection)

สาเหตุ

เกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ขณะคลอด

การวินิจฉัย

จากอาการและอาการแสดง พบว่า จะมีไข้หลังวันที่ 2ของการคลอด เจ็บแผลฝีเย็บมาก แผลมีการอักเสบ บวมแดง บางครั้งเป็นฝีหนอง และแผลจะแยกออกจากกัน อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก และปัสสาวะไม่ออกได้

การรักษา

การให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ

ถอดไหมที่เย็บและเปิดแผลทั้งหมด

ใช้ยาชา 1% xylocain jelly ทาที่แผล

ตัดเนื้อเยื่อที่ตายออกทั้งหมด

ทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง ด้วย betadine

ให้ hot sitz bath วันละหลายครั้ง ด้วยน้ำผสมเกร็ดด่างทับทิม หรือน้ำเกลือ หรือให้ infra red light

ประเมินลักษณะแผล ถ้าแผลสีชมพูค่อนข้างแดง ให้เย็บฝีเย็บโดยยึดหลักปราศจากเชื้อ

การอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis , Metritis)

สาเหตุ

การตรวจภายใน

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์จริง

การเจ็บครรภ์คลอดที่ยาวนาน

การผ่าตัดที่มดลูก

การตรวจ Internal electrical monitoring

การวินิจฉัย

จากอาการและอาการแสดง

มีไข้สูง อุณหภูมิมากกว่า 38.3 องศาเซลเซียส

การที่มีไข้หนาวสั่นมักพบร่วมกับภาวะ bacteremia และชีพจรเต้นเร็วขึ้นอยู่กับขอบเขตของการติดเชื้ออาจมากกว่า 160 ครั้ง / นาที

ปวดท้องน้อย น้ าคาวปลามีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าเกิดจากเชื้อ beta-hemolytic streptococci น้ าคาวปลาอาจน้อยและไม่มีกลิ่น

จากการตรวจร่างกาย

ะตรวจพบระดับยอดมดลูกโตกว่าที่ควรจะเป็น กดเจ็บที่มดลูกหรือปีกมดลูกทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่งเมื่อตรวจทางช่องคลอด และเจ็บที่ข้าง คอมดลูก หรือเป็นparametritis เมื่อตรวจทางทวารหนัก

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

พาะเชื้อจากบริเวณที่ติดเชื้อ การเจาะเลือดตรวจพบว่ามีภาวะ
leukocytosis ตั้งแต่ 15,000 - 30,000 cell per l ค่า neutrophils สูงขึ้น

การรักษา

ให้ยาปฏิชีวนะ

การอักเสบของเยื่อบุในอุ้งเชิงกราน
(Parametritis , Pelvic cellulitis)

สาเหตุ

มีการติดเชื้อที่ช่องคลอด หรือปากมดลูก ซึ่งทวีความรุนแรง หรือเป็นอยู่นานโดยไม่ได้รับการดูแลรักษา ท าให้เกิดการติดเชื้อลุกลาม

การวินิจฉัย

มีไข้สูง 38.9 - 40 องศาเซลเซียส

หนาวสั่น มักเป็นเกิน 7 วันขึ้นไป

กดเจ็บที่ท้องน้อย อาจเป็นด้านใดด้านหนึ่ง

ตรวจภายในพบมดลูกโต และ
เคลื่อนไหวได้น้อย

การตรวจทางช่องคลอดร่วมกับการตรวจ ทางทวารหนัก (rectovaginal exame) พบparametrium ตึง หนา และกดเจ็บหากเป็นมากอาจพบ ฝีหนองที่เหนือ poupart’s ligament และที่ culde sac ได้ หายใจเร็วตื้น กระหายน้ำ อย่างรุนแรง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน

การรักษา

ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยให้พวก broad - spectrum antibiotic และจึงเลือกให้เมื่อผล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ชี้ชัดว่าติดเชื้อตัวใด

การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง (Peritonitis)

สาเหตุ

มีการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูก

แผลผ่าตัดในมดลูกแยก หรือเนื้อเน่าเปื่อย

การอักเสบของเยื่อบุในอุ้งเชิงกราน

ฝีที่ท่อนำไข่และรังไข่แตก

การวินิจฉัย

มีอาการท้องอืด กดเจ็บผนังหน้าท้อง หน้าท้อง โป่งตึง ปวดท้องท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน มีไข้สูง อุณหภูมิ 39 - 40.5 องศาเซลเซียสชีพจร 160 ครั้ง/นาที ล าไส้ไม่เคลื่อนไหว อันตรายจะเพิ่มมากขึ้น ถ้าพบมีฝีหนองร่วมด้วยที่ cul de sac subdiaphragmatic space การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพาะเชื้อจากเลือดในกรณีที่มีไข้สูง พบเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด

การรักษา

ให้สารน้ าทางหลอดเลือดด าให้เพียงพอ แก้ไขภาวะพร่องของกรด-ด่าง และภาวะซีด ตรวจติดตามและป้องกันภาวะ shock

ให้ gastric suction เพื่อลด distension จะทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น

งดน้ำและอาหารทางปาก

ให้สารต้านจุลชีพหลายอย่างรวมกัน ให้เหมาะสม

ผ่าตัด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องตัดมดลูกล้างเอาหนองออก และแก้ไขการอุดตัน ที่เกิดจากmechnical obstruction

ให้ยาแก้ปวด

การพยาบาลหญิงหลังคลอดที่มีการติดเชื้อบริเวณฝีเย็บ

ติดตามประเมินแผลฝีเย็บทุกวัน

ดูแลทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยยึดเทคนิคปราศจากเชื้อ

เมื่อแผลติดดีขึ้น ความเจ็บปวดน้อยลง ให้นั่งแช่ก้นวันละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้หนองไหลได้ดีและแผลสะอาด หลังการแช่ก้นแล้วให้อบไฟ จะช่วยให้แผลหายเร็ว รู้สึกสบายขึ้น

ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา

กระตุ้นให้ลุกเดินบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงแผลได้ดีขึ้น

แนะน าให้เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เมื่อชุ่ม

ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการไข้

ให้กำลังใจ

การพยาบาลหญิงหลังคลอดที่มีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก

แนะน าและดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาเน้นการรับประทานยาให้ครบถ้วน และสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเป็นได้

ดูแลให้นอนพักผ่อนมากที่สุด

แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธุ์ และงดสวนล้างช่องคลอด

ดูแลให้รับประทานอาหารให้เพียงพอ และมีคุณภาพ

จัดให้นอนท่า fow ler’s ช่วยให้น้ าคาวปลาไหลสะดวก ป้องกันการขังของน้ าคาวปลาที่มีเชื้อ

ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจได้รับสารน้ าทางหลอดเลือดด า ร่วมกับ oxytocin เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ดูแลให้ได้รับตามแผนการรักษา

ถ้ามีอาการปวดมดลูกรุนแรง หรือไม่สุขสบายจากการปวดท้อง ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา

ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ อาจต้องแยกหญิงหลังคลอด

แนะน าการท าความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

การพยาบาลหญิงหลังคลอดที่มีการอักเสบของเยื่อบุในอุ้งเชิงกราน

ดููแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา

สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการอย่างใกล้ชิดได้แก่คล าหน้าท้องเพื่อดูอาการกดเจ็บดูผ้าอนามัยและบริเวณฝีเย็บ สี กลิ่น และอาการบวมเลือดสัญญาณชีพ

จัดท่าให้นอน Semi - fowler

ดูแลให้ได้รับน้ำ ประมาณวันละ 3,000 - 4,000 มิลลิลิตร

ให้กำลังใจ

แนะนำการปฏิบัติตัว ขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน

การพยาบาลหญิงหลังคลอดที่มีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง

ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินภาวะการติดเชื้อ

ให้นอนท่า semi-fowler เพื่อให้หน้าท้องหย่อนและให้หนองมารวมอยู่ใน cul-de-sac

ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวินะ และสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา

ประเมินเสียงการเคลื่อนไหวของล าไส้ ถ้ามีท้องอืดควรรายงานแพทย์

ดูแลให้ยาแก้ปวด ตามแผนการรักษา

แนะนำและระมัดระวังเทคนิคปราศจากเชื้อ ล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะเมื่อจับต้องผ้าอนามัย เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ

ให้การพยาบาลตามอาการ แนะน าการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาลและกลับบ้าน

ให้กำลังใจ ลดความวิตกกังวล

มดลูกกลับสู่สภาพปกติช้า (Subinvolution of uterus)

สาเหตุ

ความตึงตัวของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดี

มีเศษรก หรือเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก

มีการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก

มารดาหลังคลอดที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ทำให้ขาดการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมพิทูอิทารี่ส่วนหลัง ช่วยในการบีบรัดของกล้ามเนื้อมดลูกระหว่างการดูดนม

ในรายที่มีมดลูกคว่ำหลัง หรือคว่ำหน้ามากจนทำให้น้ำคาวปลาไหลไม่สะดวก

ในรายที่มีเนื้องอกของมดลูก ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เช่น Fibroids

การวินิจฉัย

จากอาการและอาการแสดง มักวินิจฉัยได้เมื่อมาตรวจหลังคลอด 4 - 6 สัปดาห์ โดยให้ประวัติถึง
อาการผิดปกติในระยะคลอดหรือมีภาวะเลือดออกมากหรือตรวจพบยอดมดลูกยังสูงกว่าระดับกระดูกหัวหน่าว
สัมผัสนุ่ม ระดับยอดมดลูกไม่ลดต่ าลง น้ าคาวปลา สีไม่จางลงภายใน2 สัปดาห์หลังคลอด อาจมีตกขาว และ
ปวดหลังร่วมด้วยถ้ามีการติดเชื้อ ในโพรงมดลูก

การรักษา

ให้ยาช่วยการบีบตัวของมดลูก นิยมให้ methergin 0.2 มิลลิกรัม รับประทาน วันละ 3 เวลาหลังอาหาร และก่อนนอน นาน 1 - 2 วัน

ให้ยาปฏิชีวนะถ้ามีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก

ถ้าให้ยาบีบตัวของมดลูกไม่ได้ผล หรือแน่ใจว่าสาเหตุเกิดจากมีรกและเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูกให้ขูดมดลูก

กิจกรรมการพยาบาล

คลึงมดลูกให้หดรัดตัวก่อนวัดระดับยอดมดลูก และดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยกระตุ้นให้มีการขับถ่ายปัสสาวะ

แนะนำวิธีที่ทำให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก เช่น ให้นอนคว่ำใช้หมอนรองใต้ท้องน้อย ลุกเดิน

การประเมินผล

ระดับยอดมดลูกระดับต่ำลง จนกระทั่งคลำไม่ได้

ไม่มีภาวะติดเชื้อในโพรงมดลูก

น้ำคาวปลาสีจางลงจนหมดไป

ปัญหาหัวนมและเต้านม

หัวนมแตก หรือเป็นแผล

สาเหตุ

Colostrum ที่ถูกบีบออกมา หรือซึมผ่านหัวนมจะแข็งจับปลายหัวนมจนเป็นสะเก็ด การแกะจะทำให้เกิดแผลถลอกขึ้นได้

ทารกดูดนมแรงและนานเกินไป ในระยะแรกเริ่มก่อนน้ำนมมา

การให้บุตรดูดเฉพาะหัวนมโดยไม่ได้ให้เหงือกของทารกกดลงบนลานนม

การให้บุตรดูดนมแต่ละครั้ง เริ่มให้ข้างเดียวกันตลอด จึงทำให้ดูดเป็นเวลานาน

การดึงหัวนมออกจากปากบุตรไม่ถูกวิธี

ปล่อยให้หัวนมเปียกชื้นอยู่ตลอด เช่น การครอบหัวนมให้บุตรดูดโดยใช้พลาสติก

การรักษา

ทายาเพื่อช่วยให้แผลหายดีขึ้น เช่น kamillosan cream , unquentum boric acid , lanolin เป็นต้น

การพยาบาล

กิจกรรมการพยาบาล

วัตถุประสงค์การพยาบาล

ผิวหนังที่หัวนม ลานนมและเต้านมยืดหยุ่นดี

แผลที่หัวนมแห้งและหายเร็วขึ้น

มารดาสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาตามปกติ

แนะนำการทำความสะอาดหัวนมและเต้านมด้วยการอาบน้ำธรรมดา ไม่ฟอกสบู่ ไม่เช็ดหัวนมและลานนมด้วยสารระคายเคืองอื่น เพื่อป้องกันผิวหนังที่หัวนมแห้งแตกเป็นแผล

แนะนำมารดาให้ทารกดูดนมข้างที่เจ็บน้อยก่อน จะช่วยให้เกิด letdown reflex และทารกไม่ดูดแรงมาก

แนะนำให้มารดาอุ้มบุตรให้นมในท่าที่ผ่อนคลาย ประคับประคองศีรษะให้กระชับอกในขณะให้นมบุตร เพื่อลดการดึงรั้งหัวนม

หลังการให้ทารกดูดนมแต่ละครั้ง ควรเช็ดหัวนมให้สะอาดเพื่อป้องกัน คราบน้ำนมเกาะ ด้วยลำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เปิดเต้านมทิ้งไว้ให้แห้งไม่ควรใส่เสื้อหรือยกทรงจนอับอากาศ

มีรายงานว่า ถ้าใช้น้ำนมทา คือบีบน้ำนมออกเล็กน้อยแล้วทาหัวนมและรอบ ๆ แล้วปล่อยให้แห้งจะช่วยให้หายเร็วขึ้น

ถ้าเป็นรุนแรงอาจให้ทารกดูดนมโดยใช้ nipple shield ครอบหัวนมไว้และให้ทารกดูดหัวนมยางบน nipple shield

ดูแลผิวหนังบริเวณหัวนมและเต้านมให้ชุ่มชื้น ด้วยการทาครีมลาโนริน หรือทาครีมวิตามินซี วิตามินเอ หรือวิตามินดีหลังอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอ

การประเมินผล

หญิงหลังคลอดเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้

ผิวหนังที่หัวนม ลานนมและเต้านมยืดหยุ่นดี

ทารกได้รับนมมารดาอย่างเพียงพอ

การติดเชื้อของเต้านม (Mastitis)

สาเหตุ

เชื้อ staphylococcus aureus

การวินิจฉัย

จากอาการและอาการแสดงพบ บริเวณเต้านมแดง ร้อน แข็งตึงใหญ่ ปวดเต้านมมาก กดเจ็บ มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมออกน้อยลง มีไข้สูง 38.3 - 40 องศาเซลเซียสใน
กรณีที่หัวนมแตกอาจเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงทำให้เป็นฝีที่เต้านมได้

การรักษา

ตรวจดูอาการและอาการแสดง ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนมและหัวนม บางครั้ง อาจต้องเพาะเชื้อจากในปากทารกด้วย เพื่อให้ยาปฏิชีวินะตรงตามชนิดของเชื้อ

ให้ยาแก้ปวด

ถ้ามีหนองเกิดขึ้นให้ทำ incision and drainage

เมื่อแผลที่หัวนมหายเป็นปกติ ก็เริ่มให้บุตรดูดนม หรือปั๊มน้ำนมได้ และพยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดอาการบวม

การพยาบาล

วัตถุประสงค์การพยาบาล

เพื่อให้การติดเชื้อบริเวณเต้านมลดลงหรือหายไป

กิจกรรมการพยาบาล

แนะน าการท าความสะอาดหัวนมให้เพียงพอ และให้ทารกดูดนมอย่างถูกต้องในข้างที่ปกติ

ดูดนมข้างที่มีการติดเชื้อ จนกว่าการอักเสบจะหาย

ลดการกระตุ้นเต้านมและหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ ใช้ความร้อนเป่า

หรืออบเพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำนมดี ลดความเจ็บปวด

แนะนำการสวมเสื้อชั้นใน หรือพันผ้า (supporting binder) ช่วยพยุงเต้านม ต้องระวังไม่พันผ้าแน่นหรือสวมเสื้อชั้นในคับเกินไป จะยับยั้งการผลิตน้ำนม

การประเมินผลการพยาบาล

การติดเชื้อบริเวณฝีเย็บลดลง

หญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้

ภาวะแปรปรวนทางจิตหลังคลอด (Postpartal psychiatric disorder)

อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues , Maternal or baby blues)

สาเหตุ

การตั้งครรภ์และการคลอด

การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ

ความเครียดทางจิตใจในระยะหลังคลอด

ความเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม

อาการและอาการแสดง

ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ มีความรู้สึกวิตกกังวลท้อแท้ ตื่นเต้น ความรู้สึกไว เงียบขรึม มีอารมณ์เศร้าเหงา สับสน อารมณ์รุนแรง สีหน้าไม่สุขสบาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อาการจะเป็นอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังคลอดและจะหายเองหรืออาจมีอาการรุนแรงขึ้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

การพยาบาล

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลบุตร และตนเองในระยะหลังคลอด

ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะคู่สมรสช่วยให้กำลังใจ ประคับประคอง ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ในระยะหลังคลอด

คอยสังเกตและบันทึกอาการด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

สาเหตุ

มารดาหลังคลอดครรภ์แรก

มารดาที่มีประวัติซึมเศร้าหลังคลอด

มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่ายในการตั้งครรภ์

ขาดการประคับประคองจากญาติ คู่สมรส หรือสังคม

ขาดสัมพันธภาพกับบิดา มารดา หรือ คู่สมรส

มีความรู้สึกขาดความพึงพอใจในตนเอง

มีความเครียดทางจิตใจ

ประสบการณ์การคลอดลำบาก การบาดเจ็บจากการคลอด หรือมีปัญหาในระยะหลังคลอด

มีความเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

มีประสบการณ์จากการคลอดในครรภ์ก่อน ๆ ไม่ดี เช่น บุตรเสียชีวิตทุกคน มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังคลอด ทำให้เกิดความกลัว

อาการและอาการแสดง

ระยะที่ 1

เกิดในระยะแรกหลังคลอด วันที่ 3 -10 มีอาการซึมเศร้า เสียใจ สูญเสีย เกิดจากความตื่นเต้นในการคลอด

ระยะที่ 2

เกิดในช่วง 1 - 3 เดือนหลังคลอด หญิงหลังคลอดต้องมีการปรับตัวในบทบาทของการเป็นมารดา การเลี้ยงดูบุตร พยายามรวมทารกเข้าเป็นสมาชิกในครอบครัวในขณะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระยะหลังคลอด มีอาการอ่อนเพลีย ทำให้เกิดอาการ หงุดหงิดอย่างมาก

ระยะที่ 3

อาจเกิดได้ในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด เกิดจากการที่หญิงหลังคคลอดได้พยายามปรับตัวแล้วแต่ยังรู้สึกสองฝักสองฝ่ายต่อการเป็นมารดา อยากทำหน้าที่ให้ดีที่สุดแต่ยังมีความอ่อนล้า ท าให้
เกิดอารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ มีความรู้สึกว่าตนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ จากบุคคลในครอบครัว ทำให้เกิดความน้อยใจอย่างมาก

การรักษา

โดยการให้ยา เช่น Isocarboxazind ( Marplan ) , Phenelzine ( Nardil ) , Amitriptyline( Tryptanol , Saroten) เป็นต้น

การรักษาทางจิต แบบรายบุคคล หรือรายกลุ่ม

การใช้กลุ่มช่วยในการรักษา หรือให้คู่สมรสบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วม

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดภาวะเครียด

สนับสนุนและสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่หญิงหลังคลอด

การพยาบาล

วัตถุประสงค์การพยาบาล

ส่งเสริมให้มารดาสามารถแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้อย่างเหมาะสม

ส่งเสริมให้มารดาได้รับการประคับประคอง ดูแลเอาใจใส่จากสามีและญาต

ให้มารดาได้รับการดูแล รักษาบ าบัดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างเหมาะสม

กิจกรรมการพยาบาล

ให้โอกาสหญิงหลังคลอดได้ซักถาม และมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวเพื่อเป็นมารดาที่สมบูรณ์ และการเลี้ยงบุตรที่สมบูรณ

ดูแลให้มารดาหลังคลอดได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ให้มารดาได้รับความสุขสบายด้านร่างกาย บรรเทาอาการเจ็บปวด

อธิบายให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแจะจิตใจหลังคลอด

ดูแลช่วยเหลือและให้คำแนะนำการปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และการเลี้ยงดูบุตร

ส่งเสริมให้กำลังใจให้มารดารู้สึกว่าเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลทารก

แนะนำสามี และญาติ ให้ก าลังใจแก่มารดา ให้ความสนใจ เอาใจใส่ประคับประคอง เพื่อให้
มารดารู้สึกว่าตนมีความส าคัญ ไม่ถูกทอดทิ้ง

จัดกลุ่มสอนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด บทบาทการเป็นบิดามารดา การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในระยะหลังคลอด ตั้งแต่ในระยะการตั้งครรภ์

อธิบายให้ทราบถึงอาการแสดงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้ประเมินตนเอง และปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อมีอาการหรือมีอาการมากขึ้น

สังเกตอาการดูแลอย่างใกล้ชิด ในรายที่มีอาการรุนแรงเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายจากการทำร้ายบุตรโดยสนใจคำพูดของมารดาที่แสดงออก

รายงานแพทย์เพื่อส่งต่อเมื่อมีอาการแสดงรุนแรง

การประเมินผล

อาการของภาวะแปรปรวนทางจิตหลังคลอดได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว

มารดาหลังคลอดดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้

มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลช่วยเหลือจากสามีและญาติ

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)

สาเหตุ

มารดาที่มีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด

มีประวัติเป็น manic-depressive ( อาการวิกลจริตสลับกับอาการเศร้าซึม )

มารดาที่มีภาวะเครียดจากการตั้งครรภ์

มารดาที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อนการตั้งครรภ์

มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคทางจิตเวช

มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ตลอดระยะการตั้งครรภ์ และ การเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน

อาการและอาการแสดง

อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการรุนแรงทันที ได้แก่ รู้สึกยุ่งยากใจ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายสับสน ไม่มีเหตุผล สมาธิสั้นความจำเสีย ตัดสินใจไม่ได้ หลงผิด และหวาดระแวง ประสาทหลอน

การรักษา

การรักษาทางกาย ได้แก่ การให้ยา antipsychotics และยา sedative , การช็อคไฟฟ้า

การรักษาทางจิต ได้แก่ การทำจิตบำบัด

การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การให้มีการสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะสามีและญาติช่วยในการดูแลแบ่งเบาภาระ

การพยาบาล

วัตถุประสงค์การพยาบาล

มารดาแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้อย่างเหมาะสม และมีผู้ให้การช่วยเหลือสนับสนุน

ส่งเสริมให้มารดาสามารถปรับตัวในระยะหลังคลอดได้

มารดาได้รับความสุขสบาย และมีสุขอนามัยที่ดีในระยะหลังคลอด

กิจกรรมการพยาบาล

ดูแลให้ได้รับความต้องการพื้นฐานประจำวัน

ให้ความเป็นกันเอง ความใกล้ชิด เพื่อให้มารดาเกิดความไว้วางใจ อบอุ่น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

รับฟังหญิงหลังคลอดให้ระบายความรู้สึก และปัญหาที่มีเพื่อประเมินความรู้สึกที่เป็นจริงและให้ความเห็นอกเห็นใจ

ส่งเสริมและกระตุ้นให้เข้ากลุ่มจิตบำบัด เมื่อมีความพร้อม

ูดแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา

ติดตามเยี่ยมหลังคลอด ตามความต้องการของหญิงหลังคลอด และปัญหา เน้นการมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง

การประเมินผล

มารดา บิดา ทารก ได้รับการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างกัน

ทารกแรกเกิดได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพจากบิดา หรือญาติในขณะมารดายังไม่สามารถให้การดูแลได้

มารดามีสุขวิทยาที่ดี และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เอง