Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปองค์ความรู้เรื่องสังคมชมพูทวีป, IMG_20200723_135057, IMG_20200723…
สรุปองค์ความรู้เรื่องสังคมชมพูทวีป
ด้านการปกครอง
แบ่งเป็น 2 แบบ
การปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช
การปกครองแบบสามัคคีธรรม
ด้านการเมือง
ชมพูทวีปแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนกลางเรียกว่า มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นเขตที่อยู่ของชนชาติ อาริยกะ
ส่วนที่อยู่ภายนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอกหรือปัจจันตประเทศ เป็นเขตที่อยู่ของชนชาติ มิลักขะ
ยกตัวอย่างแคว้น เช่น แคว้นมคธ แคว้นกาสี แคว้นโกศล
ด้านสังคม
อินเดียในสมัยชมพูทวีปแบ่งชนชั้นเป็น 4 วรรณะคือ
วรรณะพราหมณ์
วรรณะกษัตริย์
วรรณะแพศย์หรือไวศยะ
วรรณะศูทร
มีชนชั้นต่ำอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า จัณฑาล
ด้านลัทธิความเชื่อ
เชื่อในเรื่องการล้างบาป อินเดียในสมัยชมพูทวีปเชื่อถือเรื่องการล้างบาป โดยเฉพาะในแม่น้ำคงคา ซึ่งถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากสวรรค์คือภูเขาหิมาลัย เมื่อได้ดื่มหรืออาบจะได้บุญมาก
ความเชื่อเกี่ยวกับโลกและชีวิต2
ความเชื่อเรื่องการเกิดการตาย
เชื่อว่าตายแล้วเกิดอีกเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เชื่อว่าตายแล้วเกิดอีกแต่ไม่เหมือนเดิม
เชื่อว่าตายแล้วสูญหายหมด
เชื่อว่าตายแล้วสูญหายส่วนหนึ่ง
ความเชื่อเรื่องสุขและทุกข์
เชื่อว่าสุขทุกข์ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย พวกนี้จะไม่ขวนขวายทำความดี รอโชคชะตาแล้วแต่จะเป็นไป
เชื่อว่าสุขทุกข์เกิดจากเหตุและปัจจัย พวกนี้ถือว่าสุขทุกข์เกิดจากเหตุภายนอก จึงนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้สิ่งที่คิดว่าจะบันดาลให้เกิดความสุข
ความเชื่อในการแสวงหาสัจธรรม จากสภาพการแบ่งชั้นวรรณะและความยากจนซึ่งมีการดูหมิ่นเหยียดหยามและเอา เปรียบกัน ทำให้คนบางกลุ่มเกิดการเบื่อหน่ายและมีความทุกข์
ด้านศาสนา
พื้นฐานทางศาสนาของอินเดียในสมัยชมพูทวีป เป็นศาสนาพราหมณ์มีการเชื่อถือเกี่ยวกับการเวียนเกิด เวียนตายของวิญญาณ การแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ มักจะมีอยู่ 2 ทาง คือ
กามสุขัลลิกานุโยค คือการหมกหมุ่นเสพสุขทางกามารมณ์ โดยถือว่ากามสุขนั้นเป็นเครื่องหลุดพ้น
อัตตกิลมถานุโยค คือ การทำตนให้ลำบากด้วยการบำเพ็ญตบะรวมทั้งการทรมานตนตามแบบโยคี