Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง, ณภัทร เจริญกิจ 4/3 51 - Coggle Diagram
อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลักษณะคำประพันธ์
บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
-
คุณค่าด้านสังคม
ประเพณีและความเชื่อ แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีที่มาจากชวา แต่รัชกาลที่ 2 ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมประเพณีของบ้านเมืองของไทย
คุณค่าด้านเนื้อหา
- เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่งตัวตายก็ยอม
- ปมปัญหาในเรื่องเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล
- ฉากตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ใช้คำบรรยายชัดเจนได้ภาพพจน์ ผู้อ่านนึกภาพตามผู้เขียนบรรยายตามไปยิ่งจะทำให้ได้อรรถรสในการอ่านมากขึ้น เช่น ตอนอิเหนาต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิงด้วยใช้กริชเป็นอาวุธ จะเห็นลีลาท่าทางและจังหวะที่สอดคล้องกัน เห็นทีท่าอันฉับไวและสง่างาม
การใช้คำและโวหาร เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย
-
ความเป็นมา
สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ
กลวิธีด้านการแต่ง
-
ภาพพจน์ ผู้แต่งใช้การแต่งแบบอุปมา โดยการใช้คำเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่ง ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น และใช้การเปรียบเทียบเกินจริง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น
-
-