Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือperinatal asphyxia ) - Coggle Diagram
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือperinatal asphyxia )
หมายถึง ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ขาดสมดุลการแลกเปลี่ยนก๊าซ ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด ในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่น่าสงสัยว่า จะเกิด asphyxia
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกายเพื่อลด
การใช้ออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูดสิ่งคัดหลั่ง ให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีก
จมูกบาน หายใจออกมีเสียงคราง หน้าอกบุ๋ม
ดูแลให้ได้ร้บอาหารและสารน้ำ้ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
10.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
กลไกการเกิด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก
รกลอกตัวก่อนกำหนด ( abruptio placenta) รกมีเนื้อตาย(placenta infarction)
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มารดามีอาการช็อค สูญเสียเลือด ซีด การบีบตัวของมดลูกนานเกินไปหรือถี่มากไป
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุด ไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
สายสะดือถูกกดทับขณะเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภไ์ม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้
มีทางเดินหายใจอุดตัน มีน้ำคั่งในปอด มีความสามารในการหายใจไม่สมบูรณ์ มีการหายใจล้มเหลวเนื่องจากสมองถูกกด
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อทารกมีภาวะขาดออกซิเจนร่างกายไม่สามารถดูดซึมออกซิเจนเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดได้ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำ โดยมีระดับแรงดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงเท่ากับหรือนอ้ยกว่า 40 mmHg และมีการคั่ง ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีระดับแรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดแดงมากกว่า 80 mmHg ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในร่างกาย การขาดออกซิเจนทำ ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาการเผาพลาญโดยไม่ใช้ออกซิเจน เป็นผลให้ร่างกายมีการเผาพลาญเป็นกรด(metabolic acidosis) ซึ่งทำให้การขาดออกซิเจนรุนแรงมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องภายใน 8 นาทีหลังเกิดการขาดออกซิเจนทารกจะเสียชีวิต
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติอตัราการเต้นของหัวใจทารกในระยะแรกจะเร็วมากกวา่ 160คร้ัง/นาทีต่อมาจึงช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
แรกคลอดทันทีมีคะแนน APGAR ต่ำกว่า 7 ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวนิ่มอ่อนปวกเปียกปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า
การเปลี่ยนแปลงในปอด อาการหายใจหอบ ตัวเขียว
การเปลี่ยนแปลงในระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วผิวซีด หายใจแบบ gasping มีmetabolic acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท ถ้าขาดออกซิเจนนานทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้น ช้าลง ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง
การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้จะบีบตัวแรงชั่วคราว ทำให้ทารกถ่ายขี้เทาขณะอยู่ในครรภ์มารดา จึงเสี่ยงต่อการสำลักขี้เทาเข้าปอด
การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม หลังจากขาดออกซิเจน ทารกมักจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำและโปแตสเซียมสูง มีผลทำให้ทารกชักและเสียชีวิต
การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินปัสสาวะ ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1)ค่า arterial blood gas ผิดปกติ คือ PaCO2 > 80 mmHg, PaO2 < 40 mmHg, pH < 7.1
2) ระดับน้ำตาลในเลือด 30 mg%
3) ค่าของ calcium ในเลือดต่า กวา่ 8 mg%
4) ค่าของpotassium ในเลือดสูง
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR จะพบการเปลี่ยนแปลง
อัตราการหายใจ เริ่มจากไม่สม่าเสมอไปจนหยดุ การหายใจ
การเคลื่อนไหวของกลา้มเนื้อ
สีผิว
การตอบสนองเมื่อถูกกระตุ้น
อัตราการเต้นของหัวใจ
อาการและอาการแสดง
ประวัติการคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง (clearing the airway)
3 การกระตุ้นทารก(tactile stimulation)
การให้ความอบอุ่น
การให้ออกซิเจน
5การช่วยหายใจ(ventilation)การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก โดยใช้mask และ bag
มีข้อบ่งชี้คือ
1) หยุดหายใจหรือหายใจแบบ gasping
3) เขียวขณะได้ออกซิเจน 100%
2) อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า100คร้ัง/นาที
การใส่ท่อหลอดลมคอ
ข้อบ่งชี่
2) เมื่อช่วยหายใจดว้ย mask และ bagแลว้ไม่ไดผ้ล
1) เมื่อต้องช่วยหายใจด้วยแรงดัน บวกเป็นเวลานาน
4) เมื่อต้องการนวดหัวใจ
3) เมื่อต้องการดูดสิ่งคัดหลั่ง ในหลอดลมคอ กรณีที่มีข้ีเทาปนเปื้อนน้ำคร่ำ
5) ทารกมีไส้เลื่อนกระบังลม หรือน้าหนักตัวน้อยกวา่ 1,000 กรัม
7 การนวดหัวใจ(Chest compression)
ข้อบ่งชี้
อัตราการเต้นของหัวใจทารกยังคงน้อยกว่า 60 คร้ัง/นาที
การให้ยา (medication)