Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือ perinatal asphyxia ), นางสาวปิยดา…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือ perinatal asphyxia )
หมายถึง
ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้
อยา่งมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia)
มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
กลไกการเกิด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุด ไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อทารกมีภาวะขาดออกซิเจนร่างกายไม่สามารถดูดซึมออกซิเจนเขา้สู่ระบบไหลเวียน เลือดได้ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำ มีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในร่างกาย คือ มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เริ่มด้วยมีอาการหายใจแบบขาดอากาศ (gasping) ประมาณ 1 นาทีตามด้วยการหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทารกจะหยุดหายใจ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง ภายใน 8 นาทีหลังเกิดการขาดออกซิเจนทารกจะเสียชีวิต
อาการและอาการแสดง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
แรกคลอดทันทีมีคะแนน APGAR ต่ำกว่า 7 ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียกปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า หลังคลอดในระยะต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงมีอาการและอาการแสดงดังนี้
ระบบทางเดินอาหาร
ลำไส้จะบีบตัวแรงชั่วคราวทำให้ทารกถ่ายขี้เทาขณะอยู่ในครรภ์มารดา จึงเสี่ยงก่อการสำลักขี้เทาเข้าปอด
ภาวะขาดออกซิเจนโดยการหยุดทำงานทำให้ท้องอืดมากเยื่อบุลำไส้ถูกทำลาย
ถ้าขาดออกซิเจนนานและรุนแรงจะเสี่ยงต่อการเกิดลำไส้อักเสบเน่าตาย(NEC)
เมตาบอลิซึม
ทารกมักจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
แคลเซียมต่ำ และโปแตสเซียมสูง มีผลทำให้ทารกชักและเสียชีวิต
ระบบประสาท
ถ้าขาดออกซิเจนนานทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้น ช้าลง ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง
ไม่มีDoll’s eye movement และมักเสียชีวิต
ถ้าขาดออกซิเจนในระยะเวลาสั้นๆ หรือสามารถกู้ชีพได้สำเร็จอย่างรวดเร็วอาจมีเพียงอาการกลา้มเนื้ออ่อนแรงและดูดนมได้ไม่ดีการเปลี่ยนแปลงในสมองเรียกว่า hypoxicischemic encephalopathy (HIE)
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria)
ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด
ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนังลำไส้กล้ามเนื้อและไต ส่งผลให้หัวใจเต้น เร็ว ผิวซีด
หายใจแบบ gasping มีmetabolic
acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1)ค่า arterial blood gas ผิดปกติ คือ PaCO2 > 80 mmHg, PaO2 < 40 mmHg, pH < 7.1
2) ระดับน้ำตาลในเลือด 30 mg%
3) ค่าของ calcium ในเลือดต่ำ กว่า 8 mg%
4) ค่าของpotassium ในเลือดสูง
ปอด
การขาดออกซิเจนทำให้หลอดเลือดในปอดหดตัวความดัน เลือดในปอดสูงขึ้น เลือดไปเลี้ยงปอดได้น้อยลงการทำงานของเซลล์ปอดเสียไป
การเปลี่ยนแปลงในปอดดังกล่าวทำให้ทารกมีอาการหายใจหอบ ตัวเขียว
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวนอ้ยลงกว่าปกติอัตราการเต้นของหัวใจทารกในระยะแรกจะเร็วมากกวา่ 160คร้ัง/นาทีต่อมาจึงช้าลง
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR จะพบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ
การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
การตอบสนองเมื่อถูกกระตุ้น
อัตราการหายใจ เริ่มจากไม่สม่ำ เสมอไปจนหยุด การหายใจ
อัตราการเต้นของหัวใจ
สีผิว
อาการและอาการแสดง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
การให้ออกซิเจน
ในทารกที่มีตัวเขียว อัตราการเต้นของหัวใจช้า หรือมีอาการหายใจลำบากให้ออกซิเจน 100% ที่ผ่านความชื้นและอุ่นผ่านทาง mask หรือท่อให้ออกซิเจนโดยใช้มือผู้ให้ทำเป็นกระเปาะ เปิดออกซิเจน 5ลิตร/นาที โดยให้ใกล้จมูกทารกประมาณ 1 นิ้ว
การช่วยหายใจ (ventilation)
การช่วยหายใจด้วยแรงดับวกโดยใช้ mask และ bag มีข้อบ่งชี้ คือ
1) หยุดหายใจหรือหายใจแบบ gasping
2) อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100คร้ัง/นาที
3) เขียวขณะได้ออกซิเจน 100%
การประเมินว่าการช่วยหายใจเพียงพอหรือไม่ ประเมินได้จาก
1) การขยายของปอดทั้งสองข้าง โดยดูจากการเคลื่อนไหวของหน้าอกทั้งสองข้างและฟังเสียงการหายใจ
2) การมีสีผวิที่ดีข้ึน
3) อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
การกระตุ้นทารก(tactile stimulation)
การเช็ดตัวและดูดเมือกจากปากและจมูกสามารถกระตุ้น ทารกให้หายใจได้อย่างดีถ้าทารกยังไม่ร้องหรือหายใจไม่เพียงพอให้ลูบบริเวณหลัง หน้าอก ดีดส้นเท้าทารก ซึ่งจะได้ผลดีในกรณีที่มี primary apnea
การใส่ท่อหลอดลมคอ
มีข้อบ่งชี้ในการใส่คือ
1) เมื่อต้องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกเป็นเวลานาน
2) เมื่อช่วยหายใจด้วย mask และ bagแล้วไม่ได้ผล
3) เมื่อต้องการดูดสิ่งคัดหลั่งในหลอดลมคอกรณีที่มีขี้เทาปนเปื้อนน้ำคร่ำ
4) เมื่อต้องการนวดหัวใจ
5) ทารกมีไส้เลื่อนกระบังลมหรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง (clearing the airway)
กรณีไม่มีขี้เทาปนในน้ำครำหลังจากศีรษะทารกคลอด ใช้ลูกสูบยางแดงดูดสิ่งคัดหลั่งในปากก่อนแล้วจึงดูดในจมูก
กรณีมีขี้เทาปน ต้องรีบดูดขี้เทาออกทันทีที่ศีรษะทารกคลอด โดยใช้สายดูดเสมหะเบอร์ 12F-14F หรือใช้ลูกสูบยางแดง แล้วจึงทำคลอดลำตัวถ้าทารกไม่หายใจ ตัวอ่อน หัวใจเต้นช้ากว่า 100คร้ัง/นาที ใส่endotracheal tube ดูดขี้เทาออกจากคอหอยและหลอดคอให้มากที่สุด
การนวดหัวใจ(Chest compression)
มีข้อบ่งชี้ในการทำ
คืออัตราการเต้นของหัวใจทารกยังคงน้อยกว่า 60 คร้ัง/นาทีขณะที่ได้ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% นาน 30วินาที
นวดบริเวณกระดูกสันอกตรงตำแหน่ง1/3ล่างของกระดูกสันอก ความลึกประมาณ 1/3 ของความหนาของทรวงอกและอัตราส่วนระหว่างการนวดและช่วยหายใจเป็น 3:1
การนวดหัวใจทำได้ 2วิธี
การใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดบนกระดูกสันอกใช้อุ้งมือโอบรอบหน้าอกและนิ้วที่เหลือเป็นตัวรองรับแผ่นหลังทารก
การใช้นิ้วมือ2 นิ้วโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างหนึ่งกดบนกระดูกสันอกมืออีกขา้งหนึ่งจะรองรับแผ่นหลังทารก
การใหค้วามอบอุ่น
ดูแลทารกภายใต้แหล่งให้ความร้อน(radiant warmer)
หลอดไฟที่เปิดอุ่นไว้ แล้วเช็ดผิวหนังทารกให้แห้งอย่างรวดเร็วด้วยผ้าแห้งและอุ่น แล้วเอาผ้าเปียกออก ห่อตัวทารกด้วยผ้าอุ่นผืนใหม่
วางทารกบนหน้าอกหรือหน้าท้องของมารดาโดยให้ผิวหนังทารกสัมผัสกับผิวหนังมารดาโดยตรง (skin to skin contact)
การให้ยา (medication)
Epineprine ใช้เมื่อช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% และนวดหัวใจนานเกิน 30 วินาทีแล้วอัตราการเต้นของหัวใจยังคงน้อยกว่า่ 60คร้ัง/นาที
สารเพิ่มปริมาตร(volume expanders) ใช้เมื่อทารกมีภาวะ hypovolemic
Naloxone hydrochroride (Narcan) เป็นยาต้านฤทธิ์ยาเสพติดที่ไม่กดการหายใจใช้กับทารกที่มารดาได้รับยากลุ่มยาเสพติดที่กดการหายใจภายใน 4 ชั่วโมงก่อนคลอดภายหลังช่วยหายใจแล้ว
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด ในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่น่าสงสัยว่าจะเกิด asphyxia
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกายเพื่อลดการใช้ออกซิเจน
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
สังเกตอาการขาดออกซิเจน หรืออาการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและปรึกษาแพทย์ต่อไป
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
10.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
นางสาวปิยดา จำปีพันธุ์ 601001077