Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง
Why
ภาวะตัวเหลืองโดยใน ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีสถิติการเกิดภาวะตัวเหลืองร้อยละ 60–70 ในทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและ ร้อยละ 80 ในทารกคลอดก่อนกำหนดสำหรับประเทศไทย ภาวะตัวเหลืองพบร้อยละ 50 ของปัญหาสุขภาพในทารกแรกเกิดทั้งหมด (3)
ภาวะบิลิรูบินที่ขึ้นสูงในระดับหนึ่งมีผลต่อการพัฒนาของระบบประสาทอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์สมองของทารกทำให้สมองถูกทำลาย ส่งผลให้เนื้อสมองพิการ ทำให้พัฒนาการทางระบบประสาทบกพร่อง เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลจึงจำเป็นต้องให้การพยาบาลที่ถูกต้อง และรวดเร็วเพื่อลดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกที่มีระดับบิลิรูบินสูงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ bilirubin encephalopathy (7)
ตัวเหลืองเกิดจากการมีสารสีเหลืองที่เรียกว่าบิลิรูบิน (Bilirubin) จำนวนมากกว่าปกติคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้เห็นว่ามีผิวหนังทั่วตัว และตาขาวเป็นสีสารสีเหลือง ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงแตกได้สารที่เรียกว่า บิลิเวอร์ดิน (Biliverdin)ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสารชื่อบิลิรูบินอยู่ในกระแสเลือดโดยปกติสารนี้จะถูกนำเข้าไปสู่ตับมีการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ ของตับเปลี่ยนจากสารที่ละลายน้ำไม่ได้ (แต่ละลายได้ในไขมัน) เป็นสารที่ละลายน้ำได้ แล้วขับออกจากร่างกายผ่านไปใน ทางเดินน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ และขับออกทางอุจาระ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อย ถูกดูดซึมจากลำไส้กลับเข้าสู่กระแสเลือด และขับ ออกทางปัสสาวะ
Where When
การนวดบำบัด(1)โรงพยาบาลวิจัยและฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยอังการาเซบูและโรงพยาบาลรัฐ ในเมืองอังการาประเทศตุรกีได้ทำการทดลองระหว่าง 15 มกราคม- 15 กรกฎาคม
การทำแคงการรู(2)ในโรงพยาบาล Qilu มหาวิทยาลัยชานตงได้ทำการทดลองตั้งแต่เดือนมกราคม 2010 ถึงธันวาคม 2014
ผลของการใช้ผ้าห่อนิดๆพิชิตตัวเหลือง(3)ได้ทำการทดลองโรงพยาบาลนครพนม เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมกราคม 2561
แนวทางการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง(4) คณะพยาบาลมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ 2555
ผลการใช้กระบะอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนแสง(5)โรงพยาบาลพระปกเกล้าระหว่างวันที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558
ฟิลม์ปิดตา(6)โรงพยาบาลพลจังหวัดขอนแก่นตั้งแต่ตลุาคม 2558 – กันยายน 2559
การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง(7)มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 19/04/2020
จากการทดลองวิจัยในระหว่างปี พ.ศ 2554-2564
วิจัยเรื่อง การนวดบำบัด(1),การทำแคงการรู(2),ผลของการใช้ผ้าห่อนิดๆพิชิตตัวเหลือง(3),แนวทางการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง(4),ผลการใช้กระบะอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนแสง(5),ฟิลม์ปิดตา(6)
จากผลการทดลองในทารกที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ช่วยให้ระดับบิลิรูบินในเลือดของทารกลดลง รวมถึงลดระยะเวลาในการส่องไฟน้อยลง และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนขณะรับการรักษาด้วยการส่องไฟได้อีกด้วย
วิจัยเรื่อง การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง(7)พบว่ากิจกรรมการพยาบาลของทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด ช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการเปลี่ยนถ่ายเลือดได้
Who
ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจากสรีรภาวะ และ ทารกภาวะตัวเหลืองจากพยาธิภาวะ และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
การพยาบาล
การพยาบาลทารกที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด
การพยาบาลทารกขณะได้รับการรักษาโดยการส่องไฟที่ช่วยให้ทารกมีระดับบิลิรูบินลดลงและลดภาวะแทรกซ้อนขณะรักษา
การนวดบำบัด
การทำแคงการู
การใช้ผ้าห่อตัวนิดๆพิชิตตัวเหลือง
การใช้กระบะอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนแสง
ฟิล์มปิดตาสำหรับทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟรักษา