Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการทางพยาธิสรีรวิทยา - Coggle Diagram
หลักการทางพยาธิสรีรวิทยา
แนวคิดเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยา
พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสรีรวิทยาของการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพหรือการเกิดโรคเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกลไก สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การลุกลามและ การรักษาพยาบาล ความสนใจในเรื่องพยาธิสรีรวิทยามุ่งศึกษาในเรื่องความแตกต่างของอายุ เพศ ชาติพันธุ์ที่มีผลต่อโรคทางพันธุกรรมและปัจจัยสิ่งแวดล้อมเช่น มลพิษ การสัมผัสเชื้อโรค วิถีการดาเนินชีวิตในเรื่องการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ภาวะโภชนาการ ความเครียด การออกกาลังกายซึ่งมีผลต่อการเกิดและการดาเนินของโรคเรื้อรัง วิชาพยาธิสรีรวิทยาเกิดจากการเชื่อมโยงศาสตร์เดิมคือพยาธิวิทยา (pathology) และสรีรวิทยา( physiology )เข้าด้วยกัน ศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกร่างกาย
Homeostasis หมายถึง remaining the same หรือแปลเป็นไทยว่า “ภาวะธารงดุล” หมายถึงภาวะที่ระบบต่างๆในร่างกายทางานอยู่ในภาวะสมดุลที่ “จุดจัดตั้ง (set point)” เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายในร่างกายให้มีค่าอยู่ภายในช่วงที่เหมาะสมต่อการทางานของเซลล์ ช่วยในการสื่อสารกันระหว่างเซลล์และสื่อสาระหว่างกับสิ่งแวดล้อมของเซลล์ภายในร่างกาย
สาคัญต้องรักษาให้อยู่ในภาวะธารงดุล ได้แก่
ความดันออสโมติก (osmotic pressure)
ความดันย่อยของออกชิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์. ( pO2และ pCO2)
3.ความเข้มข้นของสารตั้งต้นในขบวนการเมตาบอลิสม เช่น กลูโคส กรดอะมิโนและฮอร์โมน
4.ความเข้มข้นของอิเลคโตรลัยต์ เช่น โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ แคลเซียม แมกนีเซียม
5.สมดุลกรด-ด่าง
อุณหภูมิกาย
ปัจจัยทีมีผลต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรค
1.พันธุกรรม ความแตกต่างทางพันธุกรรมหรือเชื้อชาติทาให้เกิดโรคที่แตกต่างกันได้ เช่น โรค Thalassemia จะพบในชนชาติแอฟริกาและชาวเอเชีย เป็นส่วนใหญ่
เพศ โรคบางโรคเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบพบในเพศชายเมื่อมีอายุน้อยกว่าเพศหญิงประมาณ 20 ปี เชื่อว่าเป็นผลจากฮอร์โมน estrogen ทาให้เพศหญิงมีหลอดเลือดยืดหยุ่นกว่าหรืออาจเกิดจากความหนืดของเลือดซึ่งเพศชายมีค่า hematocrit , hemoglobin สูงกว่าเพศหญิง เพศชาย นอนกรนมากกว่าเพศหญิงในขณะที่เพศหญิงจะเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าเนื่องจากมีทางเดินปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย
อายุ ในแต่ละช่วงอายุจะมีโอกาสเกิดโรคได้แตกต่างกัน บางโรคจะเกิดเฉพาะกับเด็ก บางโรคพบเฉพาะในคนวัยทางานแต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ การทางานของร่างกายเสื่อมถอยลง ทาให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
ความแตกต่างของช่วงเวลา เช่นการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัน (circadian rhythm) ซึ่งมีผลต่อการทางานของร่างกายที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา เนื่องจากปัจจัยต่างๆเช่นการหลั่งของฮอร์โมนแต่ละชนิด เช่น melatonin หลั่งขณะนอนหลับ cortisol หลั่งมากระหว่าง 4 – 6 นาฬิกา
ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและรูปแบบการดาเนินชีวิต ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ ระดับการศึกษาที่สูงมีผลให้ประชากรสนใจ ติดตามข้อมูลข่าวสารและเลือกที่จะกาหนดรูปแบบในการดาเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ มีการสาธารณสุขที่ดีทาให้มีการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อได้ดีแต่มีรูปแบบการดาเนินชีวิตที่รีบเร่ง
ภูมิประเทศและสภาวะแวดล้อม โรคบางโรคพบได้เฉพาะในบางประเทศที่มีภูมิประเทศเหมาะสมและมีพาหะนาโรค เช่น โรคมาลาเรีย พบในแถบร้อนชื้นที่มียุงก้นปล่อง การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น อยู่ในสถานที่มีการระบายอากาศไม่ดี
ความเครียด(stress) และการเจ็บป่วย
สาเหตุให้เกิดความเครียดกระตุ้นประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคทาให้เกิดการหลั่งแคทีโคลามีนส์เพิ่มขึ้น ต่อมา Hans Selye ซึ่งเป็น endocrinologist ชาวแคนาดาเน้นว่าควมเครียดทาให้มีการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนนอกเพิ่มขึ้น โดยศึกษาผลของความเครียดต่อร่างกาย สังเกตพบอาการร่วมกันในผู้ป่วยหลายโรค ได้แก่ เบื่ออาหาร น้าหนักลด หน้าตาเศร้าหมอง และต่อมา Selye ได้เรียก กลุ่มอาการนี้ว่า General Adaptation Syndrome (GAS) และเชื่อว่าเป็นการปรับตัวของร่างกายต่อความเครียดโดยตรวจพบความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายหนูทดลองที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนที่ต่าง ชนิดกันที่เหมือนกัน 3 ประการ
ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) มีขนาดโตขึ้น และมีการหลั่งฮอร์โมนเพิ่มขึ้น
ต่อม thymus ม้ามและต่อมน้าเหลืองเหี่ยวเล็กลง
ตรวจพบแผลในกระเพาะอาหารและลาไส้เล็กส่วนต้น (gastroduodenal ulcer)
กลุ่มอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะตกใจ (alarm stage) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเตรียมว่าจะสู้หรือหนี (fight or flight) ระยะนี้เริ่มเมื่อ ไฮโปทาลามัสถูกกระตุ้นจากตัวกระตุ้นซึ่งอาจมาจากภายในหรือภายนอกร่างกาย ระยะตกใจแบ่งเป็น 2 ระยะย่อยคือ
1.1 ระยะช็อค (Shock Phase) สิ่งกระตุ้นกระตุ้นศูนย์รับความรู้สึกที่เปลือกสมองส่งกระแสประสาทกระตุ้นไฮโปทาลามัสควบคุมให้ประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนใน หลั่ง catecholamines เพิ่มขึ้น
1.2 ระยะต้านช็อค (Counter shock Phase) เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มปรับตัว กลไกการต่อสู้ของระบบต่างๆ ของร่างกาย เริ่มประสานกัน ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะขับฮอร์โมน ACTH เพิ่มขึ้น ส่วนต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมน glucocorticoid เพิ่มขึ้น ทาให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายสูงขึ้นร่วมกับการกระตุ้นของประสาทซิมพาเธติ เพื่อเข้าสู่ระยะต่อต้าน
ระยะต่อต้าน (stage of resistance) เป็นระยะการปรับตัวของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อความเครียดเพื่อให้ร่างกายกลับสู่ภาวะธารงดุลให้ได้ ระยะนี้ร่างกายจะมีการใช้พลังงานอย่างมากจาก การทางานร่วมกันอย่างเต็มที่ของประสาทซิมพาเธติคและต่อมหมวกไตทั้งส่วนนอกและส่วนในเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น(stressor) ผลของระยะนี้ คืออาการจะดีขึ้นหรือหายไป
ระยะหมดแรง (stage of exhaustion) ระยะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความเครียดยังคงอยู่ไม่สามารถจะขจัดออกไปได้แต่พลังงานถูกใช้ไปมากจนหมดกาลัง อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะตกใจก็จะกลับมาอีก ระยะนี้ถ้าใช้เวลานานไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเพียงพอ กลไกในการปรับตัวจะล้มเหลวเกิดโรคต่าง ๆ ได้
การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด
ร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียดผ่านการทางานของระบบประสาท ประสาทอัตโนมัติ และระบบต่อมไร้ท่อ ทาให้เกิดผลต่อร่างกาย คือ
ผลจากประสาทซิมพาเธติค
กระตุ้นต่อมหมวกไตชั้นใน ให้หลั่งepinephrine และ norepinephrineทาให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตจะสูงขึ้นเมื่อมีภาวะเครียด
กระตุ้นตับมีกระบวนการ glycogenolysis และ gluconeogenesis ทาให้ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้นแต่ตับอ่อนหลั่งอินซูลินน้อยลง ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้นทาให้เลือดหนืดมากขึ้นและเลือดแข็งตัวง่ายขึ้น
กระตุ้นการสลายไขมัน(lipolysis) ทาให้ไขมันในเลือดสูง
ความตกใจ กลัว จะกระตุ้นประสาทซิมพาเธติค ทาให้หัวใจเต้นเร็วและแรงเพิ่ม cardiac output และการหายใจหอบเร็วและลึกขึ้น ร่างกายตื่นตัว ม่านตาขยาย กล้ามเนื้อเพิ่มความตึงตัว การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น
2 ผลของความเครียดต่อต่อมใต้สมองส่วนหน้า
กระตุ้นการหลั่ง ACTH เพื่อส่งไปควบคุมกระตุ้นกระตุ้นต่อมหมวกไตชั้นนอกให้หลั่ง corticosteroids เพิ่มขึ้นส่งผลให้ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้น การตอบสนองต่อการอักเสบลดลง ทาให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ผู้ทีมีภาวะเครียดจึงเจ็บป่วยได้ง่าย
ฮอร์โมน ACTH กระตุ้นต่อมหมวกไตชั้นนอกให้หลั่ง aldosterone ทาให้มีการดูดกลับโซเดียมและการขับทิ้งโปแตสเซียมในปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทาให้มีน้าในร่างกายเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีกทางหนึ่ง
กระตุ้นการหลั่ง TSH เพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์หลั่ง thyroxin มากขึ้นทาให้อัตราเมตาบอลิสม ของร่างกายสูงขึ้น มีการใช้พลังงานเพิ่มจึงทาให้การสลายโปรตีนและไขมันสูงขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีภาวะเครียดเป็นเวลานาน ๆจึงมีน้าหนักตัวลดลงได้
ในขณะเดียวกันต่อมใต้สมองส่วนหลังหลั่ง vasopressin (ADH) ทาให้ดูดกลับน้ากลับสู่ กระแสเลือดทาให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นพร้อมกับบวมได้