Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทประพันธ์ เรื่อง อิเหนา - Coggle Diagram
บทประพันธ์ เรื่อง อิเหนา
บทประพันธ์
เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา ทั้งความไพเราะ ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ
-
-
-
ความเป็นมา
-
มีที่มาจากนิทานปันหยี ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียก
วรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่งคือ เรื่องอิหนา ปันหยี
กรัตปาตี
วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดารแต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากชาวชวา
ถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
เรื่องย่อ
กษัตริย์วงศ์เทวาสืบเชื้อสายมาจากเทวดาจึงมีอำนาจบารมีที่สุด ได้ปกครองกรุงต่าง ๆ 4 กรุง ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี เมื่ออิเหนาเกิดมีเหตุอัศจรรย์แผ่นดินไหว ฝนตกฟ้าร้องไปทั่วทิศ และองค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นพระอัยกาเหาะลงมาจากสวรรค์เพื่อประทานกริชจารึกชื่อ ตามจารีตของกษัตริย์วงศ์เทวาจะต้องมีการอภิเษกสมรสภายในเชื้อวงศ์เดียวกันเท่านั้น ท้าวกุเรปันจึงให้อิเหนาหมั้นกับบุษบาพระราชธิดาท้าวดาหาและรอเวลาจัดการอภิเษก
อิเหนาเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงามและมีฝีมือเก่งกล้าในการรบ เป็นองค์รัชทายาทของกรุงกุเรปันซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุด ครั้นอายุได้ 15 ปี อิเหนาต้องคุมเครื่องสักการะศพพระอัยยิกาไปเมืองหมันหยาและได้พบกับจินตะหราพระราชธิดาท้าวหมันหยา อิเหนาหลงรักนางและไม่ยอมกลับเมือง ท้าวกุเรปันต้องเรียกกลับ โดยอ้างว่าประไหมสุหรีทรงครรภ์แก่แล้ว
ต่อมาประสูติพระธิดาชื่อวิยะดา ซึ่งเป็นคู่ตุนาหงันของสียะตรารัชทายาทเมืองดาหา ท้าวกุเรปันจะจัดการอภิเษกอิเหนากับบุษบา อิเหนาจึงทำอุบายลาท้าวกุเรปันออกเที่ยวป่า โดยปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อมิสาระปันหยี ระหว่างเดินทางไปเมืองหมันหยาปันหยีฆ่าท้าวบุศสิหนาตาย ระตูพี่ชายท้าวบุศสิหนาขอยอมแพ้และยกโอรสธิดาให้อิเหนา ได้แก่นางสะการะวาตี มาหยารัศมี และสังคามาระตา อิเหนาได้จินตะหราเป็นชายา และนางสะการะวาตีกับนางมาหยารัศมีเป็นพระสนม และรับสังคามาระตาเป็นอนุชา เมื่อท้าวกุเรปันทราบเรื่องจึงสั่งให้อิเหนากลับเมืองแต่อิเหนาไม่ยอมกลับ และขอเลิกการหมั้นกับบุษบาเพื่ออยู่กับจินตะหราที่เมืองหมันหยา
ท้าวดาหาทราบเรื่องก็โกรธอิเหนามาก จึงประกาศว่าจะยกบุษบาให้แก่ผู้ที่มาสู่ขอเป็นคนแรก บุษบาจึงต้องเป็นคู่ตุนาหงันของระตูจรกาผู้มีรูปร่างอัปลักษณ์และศักดิ์ต่ำกว่า องค์ปะตาระกาหลาโกรธอิเหนามาก จึงบันดาลให้รูปบุษบาตกไปถึงมือวิหยาสะกำโอรสท้าวกะหมังกุหนิง วิหยาสะกำหลงรักบุษบา ท้าวกะหมังกุหนิงสู่ขอไม่ได้จึงยกทัพมาทำศึกชิงนาง ท้าวกุเรปันมีราชสาส์นให้อิเหนาไปช่วยรบ อิเหนาจึงต้องยกทัพมาเพราะขัดรับสั่งไม่ได้
อิเหนาทำศึกกับท้าวกะหมังกุหนิง รบชนะท้าวกะหมังกุหนิงด้วยกริช และสังคามาระตาฆ่าวิหยาสะกำตายในที่รบ อิเหนาเข้าเมืองดาหาและได้พบบุษบาก็หลงรัก จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้นางมา เริ่มจากใช้สียะตราเป็นสื่อรัก เผาเมืองดาหาระหว่างพิธีอภิเษกแล้วใส่ความจรกา ปลอมตนเป็นจรกาลักบุษบาไปไว้ที่ถ้ำทอง อิเหนาจึงได้บุษบามาครองสมใจ ระหว่างที่อิเหนาไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา องค์ปะตาระกาหลากริ้วอิเหนาที่ก่อเหตุเดือดร้อน จึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาพรากไปเสีย และให้บุษบาปลอมเป็นชายชื่อมิสาอุณากรรณและมอบกริชให้แล้วสาปให้อิเหนากับบุษบาจำกันไม่ได้ จนกว่า 4 กษัตริย์ คือ อิเหนา บุษบา สียะตรา และวิยะดาจะได้อยู่เมืองเดียวกัน อุณากรรณพร้อมพี่เลี้ยงทั้ง 2 คน พบท้าวประมอตัน ท้าวประมอตันจึงรับเลี้ยงอุณากรรณเป็นโอรสบุญธรรม
-
วิเคราะห์บทอาขยาน
บทที่ 1
-
อิเหนาพูดพลางมองดูนกที่บินไปเกาะกิ่งโน้นทีกิ่งนี้ทีจน เกิดเสียงดังอื้ออึงระงมไป นกเบญจวรรณจับเครือตาข่ายเถาวัลย์ เหมือนวันที่อิเหนาจากนางทั้งสามมา คือ นางจินตะหรา นางมาหยารัศมี นางสะการะวาตี
บทที่ 2
-
นกนางนวลจับต้นนางนวลเพื่อเกาะนอน เหมือน
วันที่อิเหนาอิงแอบแนบจินตะหรา นกจากพรากเกาะต้น
จากแล้วส่งเสียง เหมือนอิเหนาจากนางสการะวาตีมา
บทที่ 3
-
นกแขกเต้าจับต้นเต่าร้างส่งเสียง
ร้อง เหมือนอิเหนาต้องจากนางมาหยา
รัศมี นกแก้วจับต้นแก้วพูดเจรจา เหมือน
เมื่อตอนนางทั้งสามสั่งลา
บทที่ 4
ตระเวนไพรร่อนร้องตะเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
นกตระเวนไพรบินส่งเสียงร้องไปรอบป่า เหมือนเวรกรรมที่อิเหนาต้องจากชายามา นกเค้าโมงจับต้นโมงอยู่โดดเดี่ยว เหมือน
อิเหนานับโมงยามว่าจากชายามานานเท่าไรแล้ว
บทที่ 5
-
นกคับแคจับต้นแคอยู่ตัวเดียว เหมือนตัวอิเหนาเองที่ก าลังเปล่าเปลี่ยวใจในป่าใหญ่แห่งนี้อิเหนาชมนกชมไม้ไปตามทาง ก่อนรีบสั่งทหารให้รีบเดินทาง
-
คุณค่าในวรรณคดี
คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน
การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน
การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง
การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ
คุณค่าในด้านความรู้
สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ
คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ
-
ข้อคิด
ารเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ จากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง
การใช้อารมณ์ ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่
การใช้กำลังในการแก้ปัญหา โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน
การไม่รู้จักประมาณตนเอง เราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีในสิ่งที่แตกต่างกัน เกิดมาในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน เราก็ควรรู้จักประมาณตนเองบ้าง ใช้ชีวิตไปกับสิ่งที่คู่ควรกับตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมี เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้จักประมาณตนเองก็จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักประมาณตนเอง ก็อาจทำให้เราไม่มีความสุข เพราะไม่เคยสมหวังในชีวิต เช่นกับ จรกาที่เกิดมารูปชั่ว ตัวดำ อัปลักษณ์ หน้าตาน่าเกลียด จรกานั้นไม่รู้จักประมาณตนเอง ใฝ่สูง อยากได้คู่ครองที่สวยโสภา ซึ่งก็คือบุษบา เมื่อจรกามาขอบุษบา ก็ไม่ได้มีใครที่เห็นดีด้วยเลย ในท้ายที่สุด จรกาก็ต้องผิดหวัง เพราะอิเหนาเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับบุษบาไม่ใช่จรกา
การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง แล้วผลที่เกิดขึ้นนั้นก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือไม่ เกิดอย่างไรบ้าง เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ถ้าเราทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ก็มีแต่จะเกิดปัญหาตามมามากมาย เราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น จากการกระทำของอิเหนาในครั้งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา
-