Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
การควบคุมคุมภาพ(Quality Control :QC)
กิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)
Dr. Edward Deming ได้นำแนวคิดการวางแผนคุณภาพมาใช้ โดยมีกระบวนการคือการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) และการปฏิบัติจริง(Act) หรือที่เรียกย่อว่า PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ การคำนึงถึงลูกค้าภายนอกและภายในองค์การ
การควบคุมคุณภาพ (Quality control) มีการประเมินสภาพปัจจุบัน การดำเนินงานขององค์การ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ต้องการและปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน
การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement) การปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพด้านคุณภาพสูงกว่าแต่ก่อน
การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby)
ครอสบีมีแนวคิดตามความเชื่อของเขา เขามีความสามารถในการจัดทำโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มผลกำไร
มีพื้นฐานมาจากหลักการจัดการคุณภาพที่สมบูรณ์ ๕ ประการ (five absolutes of quality management)
๑) คุณภาพ หมายถึง การทำตามมาตรฐาน ไม่ใช่ความโก้เก๋
๒) ไม่มีปัญหาอะไรสำคัญเท่ากับปัญหาคุณภาพ
๓) ทำได้ถูกกว่าเสมอ ถ้าหากทำให้ถูกตั้งแต่แรก
๔) ตัวชี้วัดผลงาน คือ ต้นทุนคุณภาพ และ
๕) มาตรฐานของผลงาน คือ ของเสียเป็นศูนย์ (the performance standard is zero defects)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI)
เป็นแนวคิดเชิงกระบวนการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด เป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
สำหรับหัวใจสําคัญในการพัฒนา มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
๑) เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสําคัญ
๒) เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานจากงานประจํา และสุดท้าย
๓) เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/การคิดสร้างสรรค์และการ มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance) และมาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
ลักษณะต่างๆของวิชาชีพการพยาบาลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเกิดการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างดีเลิศ
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ
เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการพยาบาลให้ดีขึ้น
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาล
แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม
พยาบาลเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ตามความคิดเห็น ความเชื่อ ความรู้ที่มีในการตรวจสอบและประเมินผล
พัฒนามาตรฐาน
การตรวจสอบรวบรวมข้อมูล
รายงานผลการตรวจสอบ
แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๙๒
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาลและการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
รูปแบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
การประกันคุณภาพของโรแลนด์
การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก (๑๙๙๕)
การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การ
ระบบการประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance)
การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance)
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing Audit)
การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement)
มาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
มาตรฐานเชิงโครงสร้าง(Structure standard) หมายถึง ปัจจัยนำเข้าทั้งหมดของระบบบริการพยาบาล
มาตรฐานเชิงกระบวนการ(Process standard) หมายถึง กิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย
มาตรฐานเชิงผลลัพธ์(Outcome standard) หมายถึง การวัดผลการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นจุดประสงค์สุดท้ายในการวัดผลทางการพยาบาล
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing audit)
การตรวจสอบคุณภาพด้านโครงสร้าง เป็นการประเมินคุณภาพในการจัดระบบงาน
การตรวจสอบคุณภาพด้านกระบวนการ วัดคุณภาพการพยาบาลจากกิจกรรมการพยาบาล
การตรวจสอบคุณภาพด้านผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลลัพธ์ทางการพยาบาล
การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement)
เป็นกระบวนการวิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติงานการพยาบาลขององค์กรโดยแยกแยะปัญหาหรือตัวแปรที่ส่งผลกระทบและหาแนวทางการแก้ไขป้องกัน หลักการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่นิยมแพร่หลายได้แก่การควบคุมคุณภาพตามวงจรเดมมิ่ง(Demming cycle) ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การกระทำ การตรวจสอบผลการกระทำและการกำหนดเป็นมาตรฐาน
ระบบการบริหารคุณภาพ
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
หลักการของการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
เป็นกระบวนการเรียนรู้มิใช่การตรวจสอบ การเรียนรู้เกิดจากการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการทบทวนผลการประเมินโดยผู้อื่นเน้นการพัฒนาศักยภาพของคน
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน HA
มาตรฐาน HA คือ กรอบความคิดที่สื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของสถานพยาบาลที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น
ประโยชน์จากการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation)
ความเสี่ยงลดลงทำงานง่ายขึ้น บรรยากาศการทำงานดีขึ้น ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น เป็นโอกาสที่ขายความฝันส่วนตัว ภูมิใจที่ทำงานในหน่วยงานที่มีระบบดี
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย (Hospital Network Quality Audit: HNQA)
เป็นระบบการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลที่สำนักพัฒนาระบบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
เป็นรูปแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพเป็นเครือข่าย มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้าโดยตรง ทุกคนที่มีส่วนร่วมมีความสุข ประหยัดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ระบบมาตรฐาน(ISO)
ISO ๙๐๐๐ คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
ISO ๙๐๐๑ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO ๙๐๐๒ มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO ๙๐๐๓ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO ๙๐๐๔ เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
ISO ๑๔๐๐๐ เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
ISO ๑๘๐๐๐ มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ISO ๒๖๐๐๐ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM)
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก เข้าใจและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
เพื่อให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยง
การจัดลําดับความเสี่ยง(Risk profile)
การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses)
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
การบริหารความเสี่ยง (Risk management: RM) กับการประกันคุณภาพ(Quality Assurance: QA) และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous Quality Improvement: CQI) เป็นการพัฒนาให้เกิดคุณภาพ คำว่า “คุณภาพ” คือความเป็นเลิศ คือสิ่งที่ดีที่สุด
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
หรือแผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลายๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา
ประโยชน์
ช่วยให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เจาะลึกถึงสาเหตุรากเหง้า (root cause)
ใช้ศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่พนักงานจะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการ ทำผังก้างปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการของแผนกอื่นได้ง่ายขึ้น
ใช้เป็นแนวทางในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆ คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
กำหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ่เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ่-เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง-เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาโดยการตั้งคำถามทำไมๆๆๆๆ ซ้ำๆกัน ๕-๗ ครั้ง ในการเขียนก้างย่อยๆ พร้อมทั้งเขียนข้อความแสดงสาเหตุของปัญหาลงในก้างระดับต่างๆ
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
๑. สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ ๓ จริง คือสถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมจริง
๒. แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
๓. ข้อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง อย่าพึ่งหาคนผิด
การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้
เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้ว เลือกสาเหตุที่เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้มาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยใช้ Deming cycle (Plan-Do- Check-Act: P-D-C-A)