Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือ perinatal asphyxia ), นางสาวสุธาสินี…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือ perinatal asphyxia )
ความหมาย
หมายถึง ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง เช่น
สายสะดือถูกกดทับขณะเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก เช่น รก
ลอกตัวก่อนกำหนด ( abruptio placenta) รกมีเนื้อตาย (placenta infarction)
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
เช่น มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มารดามีอาการช็อค สูญเสียเลือด ซีด การบีบตัวของมดลูกนานเกินไปหรือถี่มากไป
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่
สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่
พยาธิสรีรภาพ
ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด ทำให้เกิดการหายใจทางปาก หายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง
ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
ค่าความเป็นกรด (pH) ต่ำลง ค่าความดันออกซิเจนในเลือด (PaO2) ลดลง
ค่าความดันคาร์บอนไดออกไซด์ (PaCO2) เพิ่มขึ้น
การกระจายของเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อให้หัวใจและสมองได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ ปริมาณของเลือดที่ไปสู่ปอด ไต ลำไส้ และลำตัวจะลดลง ทำให้หลอดเลือดฝอยในปอดหดตัวมีเลือดไหลลัดผ่าน foramen ovale และductus arteriosus เข้าสู่ระบบหลอดเลือดของร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่จำเป็นของร่างกาย คือ สมองและหัวใจ
ถ้าภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด นานเกิน 5 นาที หัวใจและสมองก็จะขาดออกซิเจน ถ้าทารกไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดมากขึ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดฝอยในปอดหดตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
สาเหตุภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอด
ได้แก่ ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานมารดา
คลอดติดไหล่
ความผิดปกติของสายสะดือ
ครรภ์แฝด
ทารกท่าผิดปกติ
การคลอดโดยใช้หัตถการต่าง ๆ การคลอดที่ทำยากลำบาก
ปัจจัยทางด้านมารดา
ตกเลือด อายุมาก เบาหวาน รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด
ภาวะพิษแห่งครรภ์ ความดันเลือดต่ำ ครรภ์เกินกำหนด ซีดมาก เคยคลอดมาแล้วหลายครั้ง
ได้รับยาแก้ปวดหรือยาสลบจำนวนมาก
ปัจจัยเกี่ยวกับทารก
ทารกที่เกิดก่อนกำหนด ทารกที่เจริญเติบโตช้าในครรภ์
ภาวะติดเชื้อในครรภ์ ความพิการโดยกำเนิด
การรักษาตามความรุนแรง
Apgar 8-10 ระดับ No Asphysia : ดูแลให้ความอบอุ่น ช่วยทางเดินหายใจให้โล่ง
Apgar 5-7 ระดับ Mild Asphyxia : กระตุ้นการหายใจด้วยการใช้นิ้วมือตี/ดีดฝ่ามือ
Apgar 3-4 ระดับ Moderate Asphyxia:ช่วยหายใจโดยใช้ Box และ Mask ให้ออกซิเจน
Apgar 0-2 ระดับ severe Asphyxia : ใส่ Endotracheal tube ร่วมกับนวดหัวใจ
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์/ก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจในระยะแรก>160mmHg ต่อมาจึงช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
อาการแรกคลอดทันที apgar <7 ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวอ่อนปวกเปียก ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นน้อยลง หัวใจเต้นช้า
การเปลี่ยนแปลงในระยะต่อมา ปอดของ Preterm=RDS , Term=PPHN ,ระบบหัวใจและไหลเวียน หัวใจเต้นเร็ว ซีด ความดันโลหัตต่ำ อุณหภูมิต่ำ
ระบบประสาท : ซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้า ม่านตาขยาย กล้ามเนื้อไม่มีแรง
ระบบทางเดินอาหาร : ท้องอืด มีการทำลายเยื่อบุลำไส้ ทำให้ลำไส้เน่า
ทางเดินปัสสาวะ : ปัสสาวะน้อย ไม่ถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด
การเปลี่ยนแปลงทาง Metabolic : ชัก เกิด hypoglycemia hyperglycemia
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ค่า Arterial blood gas ผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือด 30 mg% ค่าของ Calcium ในเลือดต่ำกว่า 8 mg% ค่าของ potassium ในเลือดสูง
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด
การตรวจร่างกาย ประเมิน Apgar
อาการและอาการแสดง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การพยาบาล
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีกจมูกบาน หายใจออกมีเสียงคราง หน้าอกบุ๋ม
3.เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
2.ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
1.เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือ ให้พร้อมก่อนคลอด
4.บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจหลังคลอด
6.ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษา
7.ดูแลความสะอาดของร่างกาย
8.ดูแลให้พักผ่อน
9.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
นางสาวสุธาสินี กะเจ เลขที่ 76 รหัส 601001156