Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นจริยธรรมทางการพยาบาลผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
ประเด็นจริยธรรมทางการพยาบาลผู้สูงอายุ
สถานการณ์
บุตรบุญธรรมและภรรยาของผู้ป่วยชายไทยวัย 65 ปี เข้าแจ้งความกับตำรวจ เนื่องจากติดใจการเสียชีวิต พบแผลเย็บที่บริเวณหน้าผาก 6 เข็มและรอยฟกช้ำรอบดวงตา ก่อนวันที่เสียชีวิตภรรยาได้ถามผู้ป่วยว่าเกิดอะไรขึ้นทำไมจึงมีแผล ผู้ป่วยตอบว่าถูกมัดมือมัดเท้า ขอให้ช่วยปล่อยตัว เมื่อคืนโดนเจ้าหน้าที่ต่อย ผู้ป่วยไม่ยอมจะต่อยคืนและอยากกลับบ้านต่อมาในช่วงบ่ายวันเดียวกันผู้ป่วยก็เสียชีวิตด้วยอาการชักเกร็ง ทางโรงพยาบาลเผยภาพจากกล้องวงจรปิด เห็นผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยโดยไม่มีการดึงราวเหล็กขึ้นกั้น จากนั้นผู้ป่วยพยายามลงจากเตียงแล้วพลัดตกหัวกระแทกพื้นจริง หลังจากกลับจากเอกซเรย์บุรุษพยาบาลเดินมาหาที่เตียงผู้ป่วยแล้วต่อยเข้าที่บริเวณใบหน้า จับกดลงกับเตียงและชี้หน้าพูดจาด่าทอทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแจ้งคนก่อเหตุยอมรับทำร้ายร่างกายจริง ทำไปด้วยอารมณ์และไม่มีเจตนา เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ต่อมาวันที่ผู้อำนวยการนัดไปดูกล้องวงจรปิดอีกครั้งภรรยาได้ถามกับเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายผู้ป่วยว่าจะเอาอย่างไรแต่พยาบาลกลับบอกว่าจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ดังกล่าวบอกว่าไม่ได้ทำแค่ให้ดูแผลเฉยๆไม่ได้ทำร้าย ทางผู้อำนวยการโรงพยาบาลกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดเนื่องจากบุรุษพยาบาลไม่ได้ชกหน้าผู้ป่วยแต่เป็นการพยายามเอาผ้าพันแผลออกจากศีรษะผู้ป่วย ส่วนเรื่องตกเตียงยอมรับว่าเป็นความประมาทของเจ้าหน้าที่
สิทธิผู้ป่วย
มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็น
จากสถานการณ์เมื่อผู้ป่วยพยายามจะลงจากเตียง
ผู้ป่วยควรได้รับสิทธิการดูแลจากบุรุษพยาบาลโดยทันที
เพราะผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการหน้ามืด ต้องดึงราวเหล็กขึ้นกั้นให้แข็งแรง การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลโดยทันทีตามความจำเป็น ผู้ป่วยจึงพลัดตกเตียง หน้ากระแทกกับพื้น จึงเป็นแผลแตก
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
1.ผู้ป่วยมาด้วยอาการหน้ามืดและเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาสภาพร่างกายไม่แข็งแรง และอาการจากโรคของผู้ป่วย ขาดความคล่องตัวและเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นพยาบาลควรชี้แจงการพยาบาลแก่ผู้ป่วยให้เข้าใจและชัดเจน ควรยกไม้กั้นเตียงขึ้นให้แน่น เฝ้าระวังการพลัดตกจากเตียง และหากผู้ป่วยต้องการหรือมีปัญหาควรบอกวิธีการกดกระดิ่งหรือเรียกพยาบาลเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของผู้ป่วย ก่อนลงจากเตียงพยาบาลก็ควรจะสอบถามเหตุผลจากผู้ป่วยก่อน หากไม่มีความจำเป็นมากนักก็ไม่ควรลงจากเตียงเพราะอาจจะเกิดอาการหรือผลข้างเคียงจากพยาธิสภาพของโรคได้เราควรจะอธิบายให้ผู้ป่วยให้เข้าใจ
2.ก่อนจะทำการพยาบาลต่างๆหรือก่อนจะมัดผูกยึดผู้ป่วยไว้กับเตียง พยาบาลควรแจ้งเหตุผลให้ผู้ป่วยและญาติให้รับทราบก่อน เพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจผิดทีหลังได้และไม่ควรจะไปชี้หน้าผู้ป่วยหรือแสดงกิริยาที่ไม่เคารพหรือไม่ให้เกียรติผู้ป่วย พยาบาลควรยึดหลักการเคารพเอกสิทธิ์ของผู้ป่วย
3.พยาบาลควรคำนึงถึงการไม่ทำอันตรายแก่ผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยนทั้งทางร่างกายและจิตใจผู้ป่วย
5.พยาบาลควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการดูแลผู้ป่วย ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ยิ่งเป็นผู้สูงอายุเราควรจะเห็นความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพราะผู้สูงอายุมีความอ่อนไหวทางด้านจิตใจมากกว่าวัยอื่น ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความวิตกกังวล กลัวการถูกทอดทิ้ง ดังนั้นเราจึงต้องพูดจาและแสดงความหวังดีให้ผู้ป่วยได้เห็นเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาและไว้ใจให้พยาบาลดูแล
4.พยาบาลควรมีความเอื้ออาทรแก่ผู้ป่วย ไม่ใช่แค่ทำการพยาบาลแค่ร่างกายเท่านั้น แต่เราควรคำนึงถึงคุณค่าและความรู้สึกของผู้ป่วยด้วย
หลักจริยธรรม
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ (Beneficence)
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วย แม้ว่าสุดท้ายจะมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมแต่ในตอนแรก บุรุษพยาบาลก็ให้การดูแลผู้ป่วยโดยการดูแลผู้ป่วยให้นอนบนเตียงด้วยความระมัดระวัง
ความยุติธรรม (Justice/Fairness)
ความยุติธรรมการกระทาท่ีเท่ียงธรรม เท่าเทียมและเหมาะสมต่อบุคคลในส่ิงที่เขามีสิทธิท่ีควรได้รับหรือเป็นเจ้าของ มีความคิดว่ามนุษยท์ทุกคนเท่าเทียมกันไม่รู้สึกรังเกียจผู้ป่วย ไม่ใช้คำพูดที่ไม่แบ่งแยกหรือรังเกียจผู้ป่วย มีกิริยาท่าทีมาตรฐานการพยาบาล
เดียวกันไม่แสดงอาการรังเกียจผู้ป่วย
มีความไม่ยุติธรรมต่อสิทธิผู้ป่วย
เนื่องจากสถานการณ์ บุรุษพยาบาลไม่มีสิทธิที่จะทำร้ายผู้ป่วยเนื่องจากตามหลักแล้วผู้ป่วยเป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเนื่องจากเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์ต้องให้การบริการดูแลผู้ป่วยไม่ใช่ไปทำร้ายร่างกายผู้ป่วย หรือมีการใช้ปากเสียง ด่าทอผู้ป่วยเนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นธรรมของผู้ป่วย และผิดหลักวิชาชีพทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในตัวผู้ป่วย จากการที่ผู้ป่วยมารับบริการต้องได้ประโยชน์สูงสุดในการได้รับการดูเเลไม่ใช่โดนทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ
ความรับผิดชอบ( Accountabilities)
หน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลคือ การช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ และสามารถช่วยขจัดความไม่สุขสบาย ความเครียดและการเลือกทางที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย
แต่จากข่าวบุรุษพยาบาลไม่ได้รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่และถูกต้อง ไม่ยกไม้กั้นเตียงขึ้นจึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุหกล้ม และใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากอารมณ์ของตนเอง และยังไม่ยอมรับผิดชอบการกระทำที่ผิดของตนเองอย่างเปิดเผย
ความเอื้ออาทร (Caring)
พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความเอื้ออาทรหรือการปกป้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้แก่ผู้ป่วย และการดูแลให้ผู้ป่วยสุขภาพดีรวมถึงจิตใจ
บุรุษพยาบาลมีการกระทำที่ขัดแย้งกับหลักจริยธรรมคือ ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยด้วยความเอื้ออาทร กระทำความรุนแรงแก่ผู้ป่วย โดยการทำร้ายร่างกาย และไม่ได้ให้ความใส่ใจดูแลผู้ป่วยจนกระทั่งผู้ป่วยพลัดตกลงมาจากเตียง และอาจเป็นการทำร้ายจิตใจของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่ดีได้เช่นกัน
การไม่ทำอันตราย (Non-maleficence)
กระทำที่จะหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ไม่นำสิ่งเลวร้ายหรือเป็นอันตรายมาสู่บุคคลอื่นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
บุรษพยาบาลกระทำการผิดหลักจริยธรรมคือ มีการกระทำที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย นั่นคือ การไม่ยกไม้กั้นเตียงขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยพลัดตกเตียง จนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ อีกทั้งบุรุษพยาบาลในข่าวยังมีการทำร้ายร่างกายผู้ป่วย โดยใช้อารมณ์ตนเองเป็นหลัก จนทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายผู้ป่วย และอาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยตามมาได้อีกเช่นกัน