Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสาหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท (Nursing Care for Person with…
การพยาบาลสาหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท (Nursing Care for Person with Schizophrenia)
อาการหลงผิด (Delusion)
1.1 Persecutory delusions เป็นลักษณะที่พบบ่อยที่สุด โดยหมายถึงลักษณะของอาการหลงผิดที่เชื่อว่าตนเองนั้นจะโดนปองร้าย ทำให้อับอาย หรือกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่น ๆ
1.2 Referential delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่า ท่าทาง คาพูดของบุคคลอื่น หรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ นั้นมีความหมายสื่อถึงตนเอง
1.3 Grandiose delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่นอย่างมาก หรือเป็นคนสาคัญและมีชื่อเสียงอย่างมาก
1.4 Erotomanicdelusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีผู้อื่นมาหลงรักตนเอง
1.5 Nihilistic delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีสิ่งเลวร้ายหรือหายนะนั้นได้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือจะต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง
1.6 Jealousy delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าคู่ครองนอกใจ
1.7 Somatic delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่มีเนื้อหาเจาะจงกับอาการทางร่างกายหรืออวัยวะใดๆ
1.8 Thought withdrawal หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าความคิดของตนเองนั้นถูกทาให้หายไปโดยพลังอานาจบางอย่าง เช่น อานาจสวรรค์ดูดความคิดให้หายไป
1.9 Thought insertion หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีพลังอำนาจบางอย่างใส่ความคิดที่ไม่ใช่ของตนเองเข้ามา เช่น มนุษย์ต่างดาวใส่ความคิดเข้ามาให้กระพริบตา
1.10 Thought Controlled หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าพลังอานาจบางอย่างควบคุม ความคิด และบงการให้ตนเคลื่อนไหวหรือคิดตามนั้น เช่น อานาจบางอย่างสั่งให้ตนเองเดินไปตากผ้า
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
หมายถึง มีการรับรู้ทางระบบประสาทใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้า (external Stimuli) โดยส่วนใหญ่แล้วอาการหลอนที่มีความสาคัญทางคลินิกนั้นมักจะมีลักษณะที่ชัดเจนและผู้ป่วยมักจะไม่สามารถควบคุมอาการหลอนได้
โดยหูแว่วมักมีลักษณะเป็นคาพูด (voice) ของบุคคลอื่น (third person) คาพูดในหูแว่วอาจมีเนื้อหาด่าทอ(voice Cursing) ข่มขู่ (voice threatening) สั่งหรือบงการ (voice commanding) พูดคุยกันเอง(voice discussing) หรือพูดพาดพิงโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ป่วย (voice commenting)
อาการหลอนสามารถเกิดได้กับทุกระบบประสาทสัมผัส แต่ในกลุ่มโรคจิตเภทนั้นจะพบอาการหลอนเป็นหูแว่ว (auditory hallucination) ได้บ่อยที่สุด
ผู้ป่วยบางรายอาจเห็นเป็นภาพหลอน (Visual hallucination) อย่างไรก็ตามอาการนั้นต้องไม่ใช่อาการหลอนที่เป็นปกติทางสรีระ (physiologic hallucination) ซึ่งเกิดได้ในช่วงที่กาลังจะนอนหลับ (hypnagogic hallucination) และช่วงที่กาลังจะตื่น (hypnopompic hallucination)
การรับรู้ที่ผิดปกติของประสาทสัมผัสทั้งห้าของร่างกาย คือ ทางหู ตา สัมผัส กลิ่น และรส
2.1 ประสาทหลอนทางหู (auditory hallucination)
2.2 ประสาทหลอนทางการสัมผัส (tactile hallucination)
2.3 ประสาทหลอนทางลิ้น (gustatory hallucination)
2.4 ประสาทหลอนทางตา (visual hallucination)
2.5ประสาทหลอนทางจมูก (olfactory hallucination)
กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Disorganized thinking/speech)
ผู้ตรวจจะสังเกตได้จากคำพูด (speech) ระหว่างการสัมภาษณ์ เช่น ผู้ป่วยตอบไม่ตรงคาถาม (irrelevant) หรือ มีการพูดเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย (loose association) ตลอดการสัมภาษณ์เป็นต้น
หากความยุ่งเหยิงและไม่เป็น ระเบียบของกระบวนความคิดนั้นรุนแรงมากอาจทาให้คำพูดนั้นฟังไม่รู้เรื่อง (incoherent)
โดยใช้คำที่มีความหมายแต่ไม่เกี่ยวข้องกันมาเรียงประโยค (word salad) เช่น “คุณหมอใครหมูไปไก่ขันมาส่งน้า” หรือพูดคาที่ไม่มีความหมายออกมาเป็นภาษาใหม่ (neologism) เช่น “ออฟโพรเลนกุมมีบัสสึโคว๊ท” เป็นต้น
พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Grossly disorganized or abnormal motor behavior)
อาการสามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ อาจจะเป็นพฤติกรรมที่เอาแต่ใจเหมือนเด็กซึ่งไม่เหมาะสมกับอายุอย่างมาก หรืออาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมกระวนกระวาย หรือบางครั้งอาจแสดงออกเป็นพฤติกรรม catatonia
โดยรวมแล้วการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบเหล่านี้มักจะทาให้ผู้ป่วยดูแปลกในสายตาคนทั่วไป
อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆได้เช่น พฤติกรรมนั้นรบกวนผู้อื่นหรืออาการ catatonia นั้นมากจนทาให้ ผู้ป่วยนั่งเฉยๆจนไม่สามารถทางานได้
อาการด้านลบ (Negative symptoms)
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคจิตเภท แต่จะพบไม่บ่อยในโรคจิตชนิดอื่นๆโดยอาการด้านลบที่พบได้บ่อยได้แก่
การแสดงอารมณ์ที่ลดลง (Decreased emotional expression) ซึ่งสังเกตจากการแสดงออกทางสีหน้า สาเนียงขึ้นลงของเสียง การใช้ภาษากายในการสื่อสาร
แรงกระตุ้นภายในที่ลดลง (Avolition/Amotivation) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยอาจนั่งเฉยๆอยู่เป็นระยะเวลานาน ไม่แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมใดๆและไม่สนใจที่จะทาสิ่งที่ก่อให้เกิด ประโยชน์หรือผลงานใดๆ
ปริมาณการพูดที่ลดลง (Alogia)
การมีความสุขจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบหรือสนใจลดลง (Anhedonia)
การเข้าสังคมที่ลดลง (Asociality)
ระบาดวิทยา
เพศชายมักจะมีอาการเริ่มต้นเร็วกว่าเพศหญิง โดยเพศชายจะมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการคือ 18 ปี
ผู้ป่วยโรคจิตส่วนมาก (ประมาณร้อยละ 80) จะเริ่มมีอาการหลังจากอายุ 10 ปีและก่อนอาย 45 ปี
ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการโรคจิตซึ่งเข้าเกณฑ์ของโรคจิตเภทครั้งแรกหลังจากที่อายุมากกว่า 45-50 ปี แพทย์ควรวินิจฉัยแยก ออกจากสาเหตุทางกายอื่น ๆ เช่น โรคของประสาทพุทธิปัญญา (neurocognitive disorders) เป็นต้น
ส่วนใหญ่มักจะพบในเพศชายที่มักจะแสดงอาการเริ่มเร็วกว่าเพศหญิง สาหรับอาการแสดงเริ่มต้นของโรคจิตเภทส่วนมากมักจะแสดงอาการก่อนอายุ 45 ปี (National Institute of Mental Health, 2014)
โรคจิตเภทสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีการบาบัดที่มีประสิทธิภาพ ที่ประกอบไปด้วย การรักษาด้วยเภสัชบาบัดและจิตสังคมบาบัด ถึงแม้นโรคจิตเภทจะเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้แต่ก็ยังพบปัญหาหลักคือผู้ป่วยโรคจิตเภทไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การดาเนินโรคมีความรื้อรัง (World Health Organization, 2014)
สาเหตุ
ความผิดปกติระดับโครงสร้างของสมอง
ความผิดปกติระดับจุลภาคและระดับการทางานของสารสื่อประสาท
ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีส่วนในการทาให้เกิดโรค
ปัจจัยที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (perinatal factors)
ปัจจัยกระตุ้น (ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี เช่น ความสัมพันธ์ในรูปแบบพูดอย่างแต่ให้ทาอย่าง (double-bind) และความสัมพันธ์ที่ใช้อารมณ์รุนแรง (expressed emotion)
ความบกพร่องของประสาทพุทธิปัญญา (neurocognitive impairment)
หลักการและแนวทางการบาบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท
การให้ความช่วยเหลือและรีบรักษาในระยะแรกเริ่ม เน้นการสืบค้นการเจ็บป่วยในระยะแรกเริ่ม และส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในเขตพื้นที่ใกล้บ้านเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างครอบคลุมทั้งด้าน เภสัชบาบัด จิตสังคมบาบัด อาชีวะบาบัดและสุขภาพจิตศึกษา
การรักษาในระยะเฉียบพลัน เน้นการอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้น สนับสนุนดูแลและแก้ปัญหาให้ ผู้ป่วยเมื่อมีอาการวิกฤตทางจิตเวชรวมทั้งการดูแลช่วยเหลือเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านและในชุมชน
การส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ
การพัฒนาระบบคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเภททุกระยะ