Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม, 229 นายสุเมธ มุงคุณคำชาว - Coggle Diagram
ปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม
ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
• ให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหา สาระ (Essential subject – matter) อันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม โดยการรักษาและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง
• ให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
• ธำรงรักษาสิ่งที่ดีงามต่าง ๆ ในอดีตเอาไว้
• มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีปัญญา และรักษาอุดมคติอันดีงามของสังคมไว้
หลักการสำคัญตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
1) การเรียนรู้ เกิดขึ้นได้จากการทำงานหนักและนำไปประยุกต์ใช้ได้ ความมีระเบียบวินัย เคร่งครัดเป็นสิ่งสำคัญ ปลูกฝั่งให้เด็กเกิดความมานะ พยายาม ต้องอุทิศตนเพื่อจุดหมายปลายทางในอนาคต
2) การริเริ่มทางการศึกษา ควรเริ่มต้นที่ครู ครูเป็นผู้นำในการเรียน และสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ทำหน้าที่เชื่อมโยงโลกของผู้ใหญ่กับโลกของเด็กเข้าด้วยกัน
3) หัวใจสำคัญของการศึกษา คือ การเรียนรู้เนื้อหาวิชามาเชื่อมโยงกัน การศึกษาช่วยให้เอกัตบุคคลตระหนักในศักยภาพของตน ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นมรดกตกทอดเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง เน้นความสำคัญของ “ประสบการณ์ของเชื้อชาติ”
4)โรงเรียนควรรักษาวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ระเบียบวินัยและการอบรมจิตใจเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การสอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ควรสอนให้เข้าใจในสาระสำคัญ แม้ว่าจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
ปรัชญานิรันตรนิยม (Perennialism)
หลักการสำคัญตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
1) แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะแตกต่างต่างกันออกไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมจะเหมือนกันในทุกแห่งหน ดังนั้น การจัดการศึกษาให้แก่มนุษย์ควรจะเป็นแบบเดียวกันหมดทุกคน
2) ความมีเหตุผลเป็นคุณลักษณะอันสูงสุดของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องใช้ความมีเหตุผลเป็นเครื่องควบคุมสัญชาตญาณตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นอำนาจฝ่ายต่ำของตน เพื่อจะได้บรรลุจุดหมายของชีวิตที่ได้เลือกสรรแล้ว
3) หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาความรู้ในเรื่องของความเป็นจริงอันเป็นนิรันดร
4) การศึกษามิใช่เป็นการเลียนแบบอย่างชีวิต แต่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
5) นักเรียนควรจะได้เรียนวิชาพื้นฐานบางวิชา เพื่อให้เข้าใจและคุ้นเคยกับสิ่งที่คงทน ถาวรของโลก
6) นักเรียนควรจะได้ศึกษางานนิพนธ์ที่สำคัญ ๆ ทางวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานที่บรรดาปรัชญาและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายในยุคที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เอาไว้
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
• จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ คือ เพื่อปลดปล่อยมนุษย์จากความไม่รู้
• ช่วยพัฒนาพลังทางเหตุผล(ปัญญา) ศีลธรรม และจิตใจ คือ ต้องให้ความรู้กว้างพอในการนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นความรู้ที่เป็นความเข้าใจแนวคิดรวบยอดและทฤษฎี
229 นายสุเมธ มุงคุณคำชาว