Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอด
การคลอดยาก
หมายถึง ลักษณะของการคลอดที่ไม่ได้ดำเนินไปตามปกติ มีความก้าว
หน้าของการคลอดล่าช้า หรือมีการหยุดชะงักของความก้าวหน้าในการคลอด
สาเหตุของการคลอดยาก ACOG
1.ความผิดปกติของแรง ( abnormality of the powers)
แรงจากการเบ่ง (maternal expulsive effort)
แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก (uterine contractility)
2.ความผิดปกติของหนทางคลอด ( abnormality of the passage)
กระดูกเชิงกรานแคบหรือผิดสัดส่วน (pelvic contraction)
ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ( abnormality of reproductive)
3.ความผิดปกติของทารก ( abnormality involving the passenger)
ส่วนนำและท่าผิดปกติ (faulty presentation and position)
ทารกมีพัฒนาการผิดปกติ (abnormal development of fetus)
อันตรายและภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดยาก
ต่อผู้คลอด
1.การติดเชื้อ (infection)จากการตรวจทางช่องคลอด และทางทวารหนักบ่อย หรือในรายที่ถุงน้ำทูนหัวแตก
2.ผู้คลอดเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย หมดแรง (maternal distress)
3.ฝีเย็บบวม และฉีกขาดได้ง่าย เนื่องจากถูกกดอยู่เป็นเวลานานหรือจากการทำหัตถการ
4.เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการทำสูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ
5.ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกมีการยืดขยายนานทำให้มดลูกอ่อนล้าจนเกิด uterine atony
6.พื้นเชิงกรานยืดขยายเป็นเวลานาน ทำให้มดดลูกเคลื่อนต่า ผนังช่องคลอดหย่อนและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังได้
ต่อทารก
1.ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ (fetal distress)ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายคลอด (stillbirth) หรือเสียชีวิตหลังคลอด (neonatal death)
2.ติดเชื้อเมื่อผู้คลอดติดเชื้อโดยเฉพาะ chorioamnionitis ทารกในครรภ์จะติดเชื้อจากผู้คลอดได้ ที่สำคัญคือ pneumonia, gastroenteritis, sepsis, การติดเช้ือบริเวณสะดือ ตา หู
3.อันตรายจากการคลอด ศีรษะทารกจะมีการเกยกันอย่างมาก(excessive molding) หรือเกิดเลือดออกใต้กะโหลกศีรษะ(cephalhematoma) :check: ถ้าได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ อาจมีอันตรายจากการฉีกขาดของเส้นเลือดและเยื่อหุ้มสมอง เส้นประสาทถูกทำลายหรือกระดูกไหปลาร้าหัก
การแบ่งลักษณะการคลอดยาก
1.Prolongation disorder
ความผิดปกติเนื่องจาก Latent phase ยาวนาน
:check: ในครรภ์แรกระยะ latent phase ยาวนานกว่า 20 ชั่วโมง
:check: ในครรภ์หลัง ระยะ latent phase ยาวนานกว่า 14 ชั่วโมง
2.Protraction disorder
ความผิดปกติเนื่องจากการเปิดขยายของปากมดลูกล่าช้า หรือการเคลื่อนต่ำของศีรษะ
:check: ทารกในระยะ active phase ล่าช้ากว่าปกติ
2.1 Protracted active phase dilatation
:check: การเปิดขยายของปากมดลูกช้ากว่า 1.2 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรก และช้ากว่า 1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
:check: ในครรภ์หลังในระยะ phase of maximum slope(นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 4 เซนติเมตร ถึงปากมดลูกเปิด 9 เซนติเมตร)
2.2 Protracted descent
:check: การที่ส่วนนำของศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงช้ากว่า 1 เซนติเมตร ต่อ 1 ชั่วโมงในครรภ์แรก และช้ากว่า 2 เซนติเมตร ต่อชั่วโมงในครรภ์หลัง
3.Arrest disorders ความผิดปกติเนื่องจากปากมดลูกไม่เปิดขยายต่อไปหรือส่วนนำของทารกไม่เคลื่อนต่ำ
3.1 Prolonged deceleration phase :check: การที่ระยะ Deceleration phase (นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 9เซนติเมตร ถึง 10 เซนติเมตร) นานกว่า 3 ชั่วโมงในครรภ์แรก และนานกวา่ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
3.2 Secondary arrest of dilatation :check: การที่ปากมดลูกไม่เปิดขยายอีกต่อไปนานเกินกว่า 2 ชั่วโมงในระยะ phase of maximum slope
3.3 Arrest of descent :check: การที่ส่วนนำของทารกไม่เคลื่อนต่ำลงมาอีกเลยนานกว่า 1 ชั่วโมง ในระยะที่ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตรไปแล้ว
3.4 Failure of descent :check: การที่ไม่มีการเคลื่อนต่ำของส่วนนำของทารกลงมาเลยในระยะ Decelerationphase หรือในระยะที่ 2 ของการคลอด