Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือperinatal asphyxia ), นางสาวนิสศริน…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia
หรือperinatal asphyxia )
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุด ไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวยีนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผใู้หญ่
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อทารกมีภาวะขาดออกซิเจนร่างกายไม่สามารถดูดซึมออกซิเจนเข้าสู่ระบบไหลเวียน เลือดได้ ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการ ไหลเวียนเลือดในร่างกาย โดยมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่ สำคัญที่สุดในร่างกายก่อน คือ สมอง หัวใจ และต่อมหมวกไต ส่วนอวัยวะอื่นๆ จะมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ มี การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เริ่มด้วยมีอาการหายใจ แบบขาดอากาศ (gasping) ประมาณ 1 นาทีตามด้วยการหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง ถ้าไม่ได้รับการ แก้ไขทารกจะหยุด หายใจ
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจทารกในระยะแรกจะเร็วมากกว่า 160 คร้ัง/นาที ต่อมาจึงช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
แรกคลอดทันทีมีคะแนน APGAR ต่ำกว่า 7 หลังคลอดในระยะต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงมีอาการและอาการแสดงดังนี้
ปอด ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะ RDS ส่วนทารกที่คลอดครบกำหนดจะเกิดภาวะ persistent pulmonary hypertention of the newborn (PPHN) ทำให้ทารกมีอาการหายใจหอบ ตัวเขียว
ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด การขาดออกซิเจนในระยะแรกร่างกายจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจและต่อมหมวกไต ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว ผิวซีด หายใจแบบ gasping มี metabolic acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
ระบบประสาท ถ้าขาดออกซิเจนนานทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้าลงม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มีDoll’s eye movement และมักเสียชีวต
ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้จะบีบตัวแรงชั่วคราวทำให้ทารกถ่ายขี้เทาขณะอยู่ในครรภ์มารดา จึงเสี่ยงก่อการสำลักขี้เทาเข้าปอด ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ลำไส้จะตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจนโดยการหยุด
ทำงานทำให้ท้องอืดมาก
เมตาบอลิซึม ทารกมักจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำ และโปแตสเซียมสูง มีผลทำให้ทารกชักและเสียชีวิต
ระบบทางเดินปัสสาวะ ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะ หรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria)
การรักษา
การให้ความอบอุ่น เช็ดผิวหนังทารกให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยผ้าแห้งและอุ่น แล้วเอาผ้าเปียกออก ห่อตัวทารกดว้ยผ้าอุ่นผืนใหม่ หรือ skin to skin contact
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง (clearing the airway)
การกระตุ้นทารก(tactile stimulation)
การให้ออกซิเจน
การช่วยหายใจ(ventilation)การช่วยหายใจดว้ยแรงดันบวก โดยใช้mask และ bag มีข้อบ่งชี้ดังนี้
1) หยุดหายใจหรือหายใจแบบ gasping
2) อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100ครั้ง/นาที
3) เขียวขณะได้ออกซิเจน 100%
การใส่ท่อหลอดลมคอ มีข้อบ่งชี้ในการใส่คือ
1) เมื่อต้องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกเป็นเวลานาน
2) เมื่อช่วยหายใจด้วย mask และ bag แล้วไม่ได้ผล
3) เมื่อต้องการดูดสิ่งคัดหลั่ง ในหลอดลมคอ
4) เมื่อต้องการนวดหัวใจ
5) ทารกมีไส้เลื่อนกระบังลม หรือน้ำหนัก ตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม
การนวดหัวใจ(Chest compression)
การให้ยา (medication)
Epineprine ที ใช้ยาเข้มข้น 1 : 10,000 ปริมาณ 0.01 - 0.03 มล./ก.ก
Naloxone hydrochroride (Narcan) ให้ขนาด 0.1 มก./ก.ก. หรือ 0.25 มล./ ก.ก.ของยาที่มีความเข้มข้น 0.4 มก./ มล. ห้ามให้ในทารกที่เพิ่งเกิดจากมารดาที่สงสัยติดยาเสพติดเพราะว่าจะเป็นการถอนยาอย่างกะทันหันทำให้ทารกชักได้
การรักษาจำแนกตามความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
mild asphyxia
ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจให้
ออกซิเจนผ่านสายออกซิเจนหรือ mask
moderate asphyxia
ให้ออกซิเจน 100% และช่วยหายใจด้วย mask และbag เมื่อดีขึ้นจึงใส่ feeding tube เข้ากระเพาะอาหารเพื่อดูดลมออก ถา้ไม่ดีขึ้นหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาทีใส่ ET tubeและนวดหัวใจ
severe asphyxia
ให้การช่วยเหลือโดยช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tube และช่วยหายใจดว้ยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พ้รอมก่อนคลอด ในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่น่าสงสัยว่าจะเกิด asphyxia
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
สังเกตอาการขาดออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
10.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
นางสาวนิสศริน ดารากัย รหัสนักศึกษา 601001065