Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อ 5.6 โรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์ 5.หูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata…
ข้อ 5.6 โรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์
5.หูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata and pregnancy)
หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Human papilloma virus(HPV)
ชนิดที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ที่อวัยวะเพศ
ส่วนใหญ่เป็น :red_flag: type 6 และ 11
ผลของโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศต่อการตั้งครรภ์
การติดเชื้อ HPV จากมารดาสู่ทารกยังไม่ทราบวิธีการติดต่อที่ชัดเจนว่าทารกติดเชื้อตั้งแต่ก่อนคลอด ขณะคลอด หรือหลังคลอด
โดยมีรายงานทารกหลายรายที่เกิด laryngeal papillomaทารกที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรก
มีความรุนแรงได้ต่างกันตั้งแต่เสียงแหบจนถึงการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจส่วนบน
การวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยทำ pap smear พบการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์เป็น koilocytosis (halo cell)
การซักประวัติ
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย
สังเกตเห็นรอยโรค ซึ่งเป็นติ่งเนื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกรอบทวารหนัก ปากช่องคลอด ซึ่งสามารถช่วยประเมินสภาพได้ค่อนข้างแน่ชัด
อาการและอาการแสดง
ภายหลังการติดเชื้อ :warning: จะสามารถมองเห็นหูดขึ้นรอบ ๆ ทวารหนักและในทวารหนัก :warning: ลักษณะเป็นก้อนสีชมพู นุ่ม ผิวขรุขระ มีสะเก็ด มีขนาดที่แตกต่างกัน :warning: มักรวมกันเป็นก้อนใหญ่คล้ายดอกกระหล่ำ ตกขาวมีกลิ่นเหม็นและคัน ซึ่งในการตั้งครรภ์ :warning: จะพบมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริเวณนี้ มีเลือดมาเลี้ยงมาก จึงทำให้เชื้อเจริญเร็วมาก
การรักษา
การรักษาด้วยสารเคมี
จี้ด้วย trichloroacetic acid 80-90% สัปดาห์ละครั้ง
ในหญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้ podophyllin หรือ podofilox เนื่องจากมีรายงานการเกิด early fetal deathin utero ได้
ส่วน imiquimod ก็ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์
การจี้ไฟฟ้า
แสงเลเซอร์พบว่าได้ผลดี และสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้
แต่พบภาวะแทรกซ้อนคือ แผลฝีเย็บแยกและเกิด fistula ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่เชื้อ HPV ทำให้การหายของแผลไม่ดี
การรักษาควรทำในระยะแรกของการตั้งครรภ์
การคลอดสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้
ยกเว้นหูดมีขนาดใหญ่ซึ่งทำให้ขัดขวางช่องทางคลอด และอาจทำให้เกิดการฉีกขาดมาก
ควรผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเลือดและการคลอดติดขัด
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับการรักษาตามแผนการรักษา เช่น จี้ด้วย trichloroacetic acid หรือ laser surgery
2.แนะนำการรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
3.แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ส่งเสริมสุขภาพตนเองให้แข็งแรง เพื่อให้มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายที่พอเหมาะ การลดภาวะเครียด และสังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อซ้ำ