Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ - Coggle Diagram
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(พ.ศ.2544)
แต่ละสถาบันต้องกําหนดเป้าหมายและภารกิจที่ชัดเจนตามความพร้อมและความเชี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละสถาบัน
การพัฒนาหลักสูตร ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน ต้องมีความหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมเสริม ต้องยึดผู้เรียนเป็นหลัก
ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์
ให้มีการกําหนดมาตรฐานหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร การรับรองหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละประเภทที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสําหรับอุดมศึกษาแต่ละระดับ
ปรับระบบการประเมินและวัดผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อเอื้อต่อการพัฒนา คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ให้ความสําคัญกับการลงทุนเพื่อการวิจัย สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี
นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
คนดี
คนเก่ง
มีความสุข
ลักษณะการเรียนรู้ที่พึงประสงค์
เป็นกระบวนการทางปัญญาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เรียนอย่างมีความสุขเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
บูรณาการสาระการเรียนสอดคล้องกับความสนใจทันสมัยตามสภาพจริง
เป็นกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริงนำไปใช้ประโยชน์ได้
เป็นกระบวนการเรียนร่วมกันโดยมีผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนเรียน
กระบวนการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน
กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์
กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้แสวงหาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ฝึกและส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมของผู้เรียน
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วนทั้งด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา
ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความรับผิดชอบต่อกลุ่มร่วมกัน
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนเอง และมีความกระตือรือร้นในการเรียน
ประเมินพัฒนาการผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง
บทบาทครู
ทิศนา แขมมณี (2547)
ครูพึงให้ความสนใจในหลักการมิใช่มุ่งความสนใจที่เทคนิค วิธีการเท่านั้น
ครูพึงศึกษาแนวความคิด ความเชื่อ หรือหลักการต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลาย
ครูพึงเปิดใจกว้างในการศึกษาแนวความคิด ความเชื่อ หรือหลักการต่าง ๆ ที่แตกต่าง ไป จากความคิดของตน และเปิดโอกาสให้ตนเองได้มีประสบการณ์ในสิ่งที่แตกต่างออกไป
สุคนธ์ สินธุพานนท์และคณะ (2545)
การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน
การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตร
การพัฒนางานของตนเอง
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2551)
ฝึกคิด คือ สอนให้ผู้เรียนคิดเองเป็น
ฝึกให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ศึกษาให้ลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีการวิจัยค้นคว้า
ฝึกให้ผู้เรียนบริการสังคมคือสิ่งที่เรียนจะมีคุณค่าเมื่อได้ใช้ความรู้นั้น ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
การสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching)
จำนง พรายแย้มแข (2535)
การสอนซ่อมเสริม คือ การสอนเพื่อแก้ไข ข้อบกพร่อง หรือเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดไป หรือช่วยเสริมสร้างสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ศรียาและประภัสสร นิยมธรรม (2540)
การสอนซ่อมเสริมคือการสอนซ่อมเสริมเป็นบริการที่แยกจากชั้นเรียนปกติเป็นการสอนเพื่อเสริม ทักษะการเรียนรู้ใหม่ ๆ และช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากครู
กรมวิชาการ (2526)
การสอนซ่อม คือ การสอนนักศึกษาที่เรียนอ่อน เรียนไม่ทันเพื่อนในชั้น เพื่อให้เรียน
การสอนเสริม คือ การสอนนักศึกษาที่ฉลาดให้ได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้เต็มที่เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์