Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เหยียด เสนียด รังเกียจ - Coggle Diagram
เหยียด เสนียด รังเกียจ
ผลกระทบ
สร้างความรู้สึกแปลกแยกจนเกิดความระแวงขึ้นมา ทำให้เกิดการล่วงละเมิด และใช้ความรุนแรงทั้งด้วยวาจาและการกระทำ
-
ความรุนแรงต่อคนต่างเชื้อชาติ ปรากฏขึ้นในทุกสังคมและวงการ อย่างวงการกีฬาที่มีการพูดจาแสดงการดูหมิ่นเชื้อชาติซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ
ในโอลิมปิก เกมส์ 2012 ที่กรุงลอนดอน เมื่อกลางปี มีนักฟุตบอลทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ และนักกรีฑาสาวจากกรีซ ถูกเหยียดผิวโดยการขับไล่ออกจากบ้านพักนักกีฬา
-
วีนัส และ เซเรนา วิลเลียมส์ สองพี่น้องชาวอเมริกันที่เคยขึ้นมือ 1 โลกมาทั้งคู่ โดย 2 สาววิลเลียมส์ได้เปิดใจผ่านสื่อ ว่าในช่วงจุดพีกอาชีพของพวกเธอ มีนักเทนนิสและแฟนๆ หลายคนพยายามเหยียดผิวเธอและน้องสาว
เกวิน บราวน์ นักวิเคราะห์กีฬาชื่อดังทางฝั่งยุโรป มองว่าการหยุดเรื่องราวเหยียดผิวมีค่าเท่ากับศูนย์ ตราบใดที่ยังมีคนไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงเรื่องเหยียดผิว
ในสังคมปัจจุบันการ “เหยียด” ถือเป็นความปกติอย่างนึง(normalization)บนมายาคติของสังคมไทย มันแฝงอยู่ในภาษา การพูด การนำเสนอ การพูดคุยปกติ การหยอกล้อ ในชีวิตประจำวัน
-
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้คนถูกกีดกันจากการมีส่วรร่วมทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเพราะการเหยียดอัตลักษณ์ เช่น การเหยียดชาติพันธุ์ เพศสภาพ หรือชนชั้นวรรณะ
กลุ่มชนพื้นเมืองในบราซิลหลายชาติพันธุ์ที่รวมแล้วมากกว่า 25,000 คน ถูกไล่ที่เพื่อทำการก่อสร้างเขื่อน
ตัวอย่าง
-
วัฒนธรรม
เชื้อชาติ
-
สังคมใด ประเทศใด ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็น “ผิวขาว” หรือ “White Caucasians” ซึ่งมักเป็นสังคมตะวันตก จะเกิดปรากฏการณ์เหยียดผิว (Racism) ทุกประเทศ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาตอนเหนือ และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยเฉพาะยุโรปตะวันตก
ประเทศตะวันตกที่มี “ชนผิวขาว” เป็นส่วนใหญ่ มักจะเจอปัญหาเหยียดผิว ซึ่งมิใช่เกิดแก่ชาวเอเชีย “กะเหรี่ยง” อย่างเราเท่านั้น “กลุ่มประชาชนผิวดำ” หรือ “Black People” จะโดนเหยียดผิวมากที่สุด ทั้งนี้ ผิวเหลืองอย่างชาวเอเชีย หรือพวกอินเดียนแดง ชาวเอเชีย ชาวเม็กซิกัน แม้กระทั่งชาวอเมริกาใต้ ก็โดนเหยียดผิวเช่นเดียวกัน
-
-
เพศ
เพศต่างๆ
เรื่องเพศสภาพ หรือ เพศทางเลือก/เพศวิถี ในสังคมไทยปัจจุบันมุมมองต่อเพศทางเลือกยังถือว่า “มีความผิดปกติ”
patriarchy VS feminist
-
-
-
Zillah Eisenstein นักเคลื่อนไหวและนักคิดนักเขียนทฤษฎีการเมืองและสตรีนิยมคนสำคัญของอเมริกา นิยาม patriarchy ไว้ว่า เป็นโครงสร้างทางการเมืองที่แสวงหาทางควบคุมผู้หญิง ลดทอนอำนาจในการตัดสินใจในทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องเพศ การเลี้ยงดูลูก การแสดงออกถึงความรัก ไปจนถึงการใช้แรงงาน
-
การเหยียดคืออะไร
discrimination การเหยียดหยามกีดกัน ผู้ที่ต่างจากเรา การแบ่งแยกคนที่ไม่เหมือนเรา ออกไปเป็นอีกพวกหนึ่ง
discriminate ในความหมายที่เราใช้กันจนชินทุกวันนี้ก็คือ to treat people differently from each other in an unfair way ปฏิบัติต่อคนที่แตกต่างจากเราอย่างไม่ยุติธรรม
แต่มีอีกหลายความหมายที่เป็นความหมายที่ดีของ discriminate หรือ discrimination เช่น “You are a man of discrimination.” Discrimination ในที่นี้คือ พินิจพิเคราะห์ คำแปลของประโยคที่ว่าคือ คุณเป็นคนรู้จักพินิจพิเคราะห์ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 21มี.ค.56 เป็นวันขจัดการแบ่งแยกทางเชื้อชาติสากล เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาการแบ่งแยกเชื้อชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก
การเหยียดคือ การกระทำที่เป็นการดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือ เป็นคำพูดที่ดูหมิ่น เหยียดหยาม และ มีความเป็น hate speech
สัญลักษณ์การเหยียดมักมาในรูปของภาษาและการกระทำ และ การเหยียดเพศ การเหยียดบุคคล หรือ การเหยียดเชื้อชาติ มันแสดงให้เห็นถึงความไร้มนุษยธรรม
เกิดจากสาเหตุอะไร?
-
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กล่าวไว้ว่า "ก่อนหน้านี้ พวกเขา (ชาวเขา) ถูกคนทั่วไปที่อาศัยอยู่บนพื้นราบมองว่าเป็นทั้งเพื่อนและคู่ค้า รวมไปถึงมีความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วมกัน ทว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นหลังเริ่มใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเมื่อประมาณช่วงปีพ.ศ. 2503 ไปจนถึงพ.ศ. 2523 และการอพยพเข้ามาของชาวเวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์นี้ตลอดไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกชาวเขากลายเป็นศัตรู หรือ 'พวกนั้น' การมองว่าคนที่ไม่ใช่คนไทยนั้นไม่ได้เป็นพวกเดียวกันกับ 'พวกเรา' และการมองพวกเขาเป็นผู้ร้าย นั้นฝังอยู่ในตำราเรียน ในประวัติศาสตร์ไทย และในสื่อทั่วไป"
ทัศนคติของชาวเอเชียเกี่ยวกับสีผิวนั้นมีอยู่เป็นเวลานานแล้ว วัฒนธรรมอินเดียได้ซึมซาบไปในอารยธรรมแรกเริ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงอุดมคติที่ว่าผิวขาวดีกว่าผิวเข้ม สินค้าสกินไวเทนนิงซึ่งช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้รับความนิยมเป็นวงกว้างในทวีปเอเชีย รวมไปถึงประเทศไทย และยังส่งเสริมความคิดที่ว่าผิวขาวนั้นสวยและมีเสน่ห์
ทัศนคติของคนไทยต่อประเทศพม่าเกิดจากสื่อที่ชี้นำโดยประเทศแม่ (ethnocentric) ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง 2543 และระบบการศึกษาแบบชาตินิยมซึ่งสอนว่าประเทศพม่าเป็นศัตรูกับประเทศไทยมานานบนฐานของสงครามครั้งแล้วครั้งเล่าระหว่างสองประเทศตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา มุมมองด้านลบนี้ถูกเพิ่มความนิยมผ่านนิยายและภาพยนตร์ โดยการแสดงวีรบุรุษชาวไทยต่อสู้กับตัวโกงชาวพม่า ตัวอย่างของภาพยนตร์แนวนี้มีเรื่องบางระจัน (พ.ศ. 2543), สุริโยไท (พ.ศ. 2544)[10] ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550–2558) และสียามา (พ.ศ. 2551)