Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กโรคมะเร็ง การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำ…
การพยาบาลเด็กโรคมะเร็ง
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด
การดูแลหลังได้รับยาเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดทุกชนิดก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการในขณะที่ได้รับยาเคมี บำบัดหรือภายหลังจากได้รับยา ดังนั้นการเตรียมพร้อมผู้ป่วยในการดูแลและจัดการอาการขณะผู้ป่วยอยู่บ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ ได้แก่
3.1ให้ปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับขณะที่ได้รับยาเคมีบำบัดต่อไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์
3.2มีการติดตามการรักษาที่ต่อเนื่องเช่นการเจาะเลือดตามคำแนะนำของแพทย์และแจ้งผลการเจาะเลือดให้แพทย์ที่ทำการรักษา ทราบด้วย
3.3หากมีไข้ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
3.4หากมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นมีคลื่นไส้อาเจียนมากท้องเสียมากมีจุดเลือดตามบริเวณผิวหนังให้รีบพบแพทย์หรือไปรับการ ตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
3.5สามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวันได้ตามปกติโดยที่ไม่รู้สึกว่าหนักจนเกินไปหรือยังมีความอ่อนเพลียอยู่มาก
3.6หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชนแออัดเช่นตลาดโรงภาพยนตร์ศูนย์การค้าและผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่นไข้หวัดวันโรค
การดูแลขณะได้รับยาเคมีบำบัด
1.เตรียมยาป้องกันละอองของยาแพร่กระจายไปในอากาศ ใช้ก๊อสหุ้ม ตามรอยข้อต่อ
2.ให้ยาทางหลอดเลือดดำควรใช้เข็มเบอร์เล็กให้สารน้ำก่อนและหลังฉีด ยาอย่างช้าๆ เพื่อลดการค้างของยาในหลอดเลือดซึ่งจะเกิดการอักเสบได้
3.เมื่อยารั่วซึมออกนอกเส้นเลือดจะต้องหยุดทันที พยายามดูดออก ประคบด้วยความเย็นนาน 15-20 นาทีทุก 1 ชั่วโมง ประมาณ 1 วัน ยกเว้นยาชื่อ วินคริสติน ควรใช้น้ำร้อนจะช่วยลดการอักเสบของผิวหนังได้บ้าง
4.ติดตามผล C.B.C และ Blood chemistry เพราะอาจจะต้องงดยาถ้าเด็ก ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำหรือหน้าที่ของตับผิดปกติ
5.รับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาดให้ครบทั้ง 5 หมู่
6 ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
7.รักษาความสะอาดของร่างกายและปากฟัน
8.พักผ่อนให้เพียงพอ
9.ควรงดสูบบุหรี่ดื่มเหล้าโดยเด็ดขาด
10.ในระหว่างที่ได้รับยาเคมีบำบัดควรสังเกตบริเวณเส้นเลือดที่ได้รับยา ว่ามีอาการปวดบวมแดงร้อนหรือมียารั่วซึมออกมาจากบริเวณที่ได้รับยาหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบแจ้งพยาบาลให้ทราบทันทีเพื่อประเมินของยาเคมี บำบัดออกนอกเส้นเลือดหรือไม่
11.ไม่ควรใช้ยาหม้อหรือยาสมุนไพรอื่น ๆ เนื่องจากอาจจะทำให้การ ออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดลดลง
12.หากมียาชนิดอื่นที่รับประทานอยู่เป็นประจำควรแจ้งให้แพทย์หรือ พยาบาลทราบทุกครั้ง
13.หากเกิดผลข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัดเช่นคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูกคนแข้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ
การเตรียมผู้ป่วยและครอบครัวก่อนได้รับยาเคมีบำบัด
การดูแลผู้ป่วยระยะนี้ เป็นการแจ้งผลการ วินิจฉัยแก่ผู้ป่วยหรือญาติใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยทราบ ถึงแนวทางการรักษา ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับจาก การรักษา รวมทั้งผลดีและผลเสียของการรักษา รวมทั้งประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนรับยาเคมี บำบัด ได้แก่
1.1การประเมินผลทางห้องปฏิบัติการ เช่น complete blood count, BUN, creatinine, SGOT, SGPT, alkaline phosphatase, albumin, total protein เป็นต้น
1.2 การประเมินการท างานของหัวใจ (EKG)
1.3การประเมินความเสี่ยง ได้แก่ อายุ เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุอาจมีผลต่อความสามารถใน การทำกิจวัตรประจำวันและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
1.4การประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยและครอบครัวก่อนให้ข้อมูล การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยใน ด้านต่างๆ เช่น แผนการรักษา ขั้นตอนในการรักษาด้วยยาเคมีบำระยะเวลา การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน และบรรเทาผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด การรับประทานอาหาร การออก าลังกายที่เหมาะสม อาการที่ต้อง รายงานแพทย์หรือพยาบาล การให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวจะช่วยลดอัตราการรักษาที่ไม่ ต่อเนื่องหรือหยุดยาเอง ซึ่งมีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งอย่างมาก
1.5การประเมินด้านจิตสังคม เป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวต่อ สภาวะของโรค เนื่องจากโรคมะเร็งมักจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยทันทีที่ทราบผลการวินิจฉัยโรคและ แผนการรักษาจากแพทย์นอกจากนี้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของผู้ป่วยการสูญเสียบทบาทหน้าที่หรือสัมพันธภาพภายในครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน รวมทั้งการขาดผู้ดูแลขณะ เจ็บป่วยอีกด้วย
1.6 การประเมินด้านจิตวิญญาณ โดยประเมินจากวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ความคาดหวังต่อการหายจากโรค และการให้คุณค่ากับตนเองยามเจ็บป่วย เป็นต้น
1.7 รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
1.8 รักษาความสะอาดของ
นายสิทธิชัย นาวิก รหัสนักศึกษา 612601065