Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Birth asphyxia, จัดทำโดย นางสาวอารยา จิตรแจ้ง เลขที่ 75 ปี 3 ห้อง 2 รหัส…
Birth asphyxia
พยาธิสภาพ
ถ้าภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด นานเกิน 5 นาที หัวใจและสมองก็จะขาดออกซิเจน ถ้าทารกไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดมากขึ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดฝอยในปอดหดตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง มีอาการและอาการแสดงดังนี้ คือ แรกคลอดทารกเขียว ไม่หายใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นช้า รีเฟล็กซ์ลดลง ค่าคะแนน แอปการ์ที่ 1 และ 5 นาทีหลังคลอดน้อยกว่า 5 หรือต้องช่วยหายใจนานเกิน 2-3 นาที ถือว่ามีภาวะขาดออกซิเจนระหว่างคลอด (เกษสุดา ดวงดาว, 2551)
ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด (birth asphyxia) หมายถึงภาวะที่ประกอบด้วย เลือดขาดออกซิเจน (hypoxemia) คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) และภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม หรือจากไม่มีการระบายอากาศที่ปอด (ventilation) และปริมาตรเลือดที่ผ่านปอด (pulmonary perfusion) น้อยหรือมีไม่เพียงพอหลังจากการคลอด ส่งผลให้อวัยวะที่สำคัญขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่และเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นๆ และเกิดความพิการต่างๆ ทางสมองตามมา (ชญาศักดิ์ พิศวงและปริศนา พานิชกุล, 2554)
การรักษา On ET- tube no.3.5 mark 9 On Ventilator setting SIMV with PS PiP 10 , PS RR 30, Ti 0.35 PEEP 4,Fio2 keep SpO2 ≥ 98%
มีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดร่วมกับมีภาวะสมองทำงานผิดปกติจากการขาดออกซิเจนปานกลาง และการหายใจล้มเหลว
การดูแล
- ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
- จัดท่านอนให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
- ดูแลให้เครื่องช่วยหายใจแก่ผู้ป่วย
- ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ
- ดูแลให้ทารกได้พักผ่อนและนอนหลับได้อย่างเต็มที่
- ติดตามผลCBC, ABG, Chest-x ray
-
ระบบประสาทส่วนกลาง
-
Neonatal seizure
อาการชักในทารกแรกเกิด(neonatal seizure) เกิดในผู้ป่วยทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 28 วัน เนื่องจากในเด็กเล็กสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ลักษณะอาการชักจึงแตกต่างจากเด็กโตและผู้ใหญ่ หรือภาวะชัก จากคอร์เท็กซ์ของสมองถูกทำลาย อาการมักจะเริ่มด้วยชักแบบซ่อนเร้น ไปถึงชักตลอดเวลาจากการที่ขาดออกซิเจน
-
เสี่ยงต่อการชักซ้ำเนื่องจากเนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด ร่วมกับภาวะสมองทำงานผิดปกติจากการขาดออกซิเจนปานกลาง
การพยาบาล
- ประเมินอาการและอาการแสดของภาวะชัก
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
- จัดให้นอนราบตะแคงแคงหน้า ในกรณีที่ทารกมีภาวะชัก
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการชัก
- ดูแลให้ได้รับยากันชักและสังเกตผลข้างเคียงของยา
- ติดตามผลการตรวจได้แก่ ค่า Electrolyte เป็นต้น
-
-
ระบบขับถ่าย
ไตจะไวต่อภาวะขาดออกซิเจน การขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงทำให้หลอดฝอยของไต หรือเนื้อไตเกิดเน่าตายอย่างเฉียบพลัน ปัสสาวะลดน้อยลง
-
ระบบทางเดินอาหาร
ซึ่งภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหารลดลง ทำให้เกิดภาวะลำไส้เน่าเปื่อยได้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้ทารกมีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และเสี่ยงต่อการได้รับอาหารไม่เพียงพอ
-
-