Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด - Coggle…
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด
การพยาบาลเด็กป่วยและครอบครัวก่อนการได้รับยาเคมีบ่าบัด
• เตรียมความรู้ให้กับผู้ป่วยเด็กและครอบครัว เกี่ยวกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และการดูแลตนเองขณะได้รับยาเคมีบำบัด
• เตรียมร่างกายของผู้ป่วยเด็กให้พร้อมรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยการดูแลให้รับอาหารสุกสะอาดแบคทีเรียต่ำน้ำสะอาดตามความต้องการของร่างกาย ดูแลความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
• เตรียมด้านจิตใจของผู้ป่วยเด็กและครอบครัวในการรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดโยการช่วยเหลือสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้ข้อมูลในการตัดสินใจตามที่ผู้ป่วยเด็กและครอบครัวต้องการเพื่อให้สามารถรับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
การพยาบาลเด็กป่วยและครอบครัวขณะการได้รับยาเคมีบำบัด
• เตรียมยาป้องกันละอองของยาแพร่กระจายไปในอากาศ ใช้ก๊อสหุ้มตามรอยข้อต่อ
• ให้ยาทางหลอดเลือดดำ ควรใช้เข็มเบอร์เล็กให้สารน้ำก่อนและหลังฉีดยาอย่างช้า ๆเพื่อลดการค้างของยาในหลอดเลือดซึ่งจะเกิดการอักเสบได้
• ตรวจสอบการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือด (Extravasation of Cytotoxic Agents) หากเกิดการรั่วของยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือดจะทำให้ผู้ป่วยเด็กเกิดอาการปวด แสบ ร้อน บวม มีการท าลายเนื้อเยื่อบริเวณรอบเส้นเลือด การทำลายเนื้อเยื่อจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัด ความเข้มข้นของยาเคมีบำบัด และปริมาณยาที่รั่ว
• เมื่อยารั่วซึมออกนอกเส้นเลือดจะต้องหยุดทันที พยายามดูดออก ประคบด้วยความเย็นนาน 15-20 นาทีทุก 1 ชั่วโมง ประมาณ 1 วัน ยกเว้นยาชื่อวินคริสติน ควรใช้น้ำร้อนจะช่วยลดการอักเสบของผิวหนังได้บ้างแจ้งให้แพทย์ผู้สั่งการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดทราบ
• ติดตามผล C.B.C และ Blood chemistry เพราะอาจจะต้องงดยา ถ้าเด็กซีด เม็ดเลือดขาวต่ำหรือหน้าที่ของตับผิดปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและครอบครัวภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด
• ดูแลเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของการกดไขกระดูกจนทำให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำที่ เรียกว่า ภาวะนิวโทรพีเนีย (Neutropenia) โดยเม็ดเลือดขาวจะลดลงจนระดับต่ำสุดในช่วงวันที่ 10-14 วันหลังให้ยาเคมีบำบัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการคุกคามชีวิต
• จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดงดคลุกคลีกับคนที่มีการติดเชื้อ
• ดูแลทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะช่องปากด้วยการแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนอ่อนหรือเช็ดทำความสะอาดช่องปากด้วยไม้พันสำลี และบ้วนปากบ่อยๆด้วยน้ำเกลือ
• แนะนำการล้างมือแบบ 6 ขั้นตอนแก่ผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแล
• ดูแลให้ได้รับอาหารสุกสะอาด และน้ำอย่างเพียงพอ
• ดูแลให้พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
• แนะนำให้ทำความสะอาดของเล่นเด็กก่อนนำมาให้เด็กเล่น
• กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัย
• แนะนำเรื่องการมาตรวจตามนัดและการรับยากำหนดตลอดจนการมาพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อมีอาการผิดปกติเช่นไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียสเยื่อบุช่องปากอักเสบ