Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism) - Coggle Diagram
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism)
สาเหตุ
ส่่วนใหญ่มักเกิดจากต่อมไทรอยด์เอง โดยมีการทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจจะเกิดจากภูมิคุ้มกันตนเองทำลายต่อมไทรอยด์
ทำให้การผลิตไทรอยด์
ฮอร์โมนลดลง
การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษโดยการผ่าตัดหรือการใช้สารรังสีรักษา
ทำให้เหลือเนื้อต่อมไทรอยด์ในปริมาณที่น้อยเกินไป
ส่วนน้อยที่เกิดจากการขาดไอโอดีน
จึงทำให้การสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยลง
การวินิจฉัย
ประวัติ
:check: มีประวัติของโรคต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษามาก่อน :check: ประวัติต่อมไทรอยด์ในครอบครัว :check: เคยได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะ หรือลำคอ :check: ประวัติการใช้ยา lithium :check:ได้รับยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน เช่น Amiodarone
อาการและอาการแสดง
น้ำหนักเพิ่ม ออกกำลังกายได้ลดลง ทนความเย็นไม่ได้ เกิดตะคริวบ่อย ความอยากอาหารลดลง ท้องอืด
ท้องผูก เสียงแหบ ผมร่วง เล็บเปราะ และหักง่าย ผิวหนังแห้งแตกหยาบ บวมกดไม่บุ๋ม หนังตาบวม
อาจจะมีคอพอกหรือไม่ก็ได้
การตรวจร่างกาย
ตรวจพบได้ขนาดใหญ่ขึ้น หรือตรวจไม่พบความผิดปกติ มีชีพ
จรช้า อุณหภูมิกายต่ำ deep tendon reflex ช้าหรือตรวจพบแผลบริเวณคอในผู้ที่เคยผ่าตัดมาก่อน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยการเจาะหาระดับ FT4 ซึ่งจะพบว่าต่ำ และระดับของ TSH จะสูง
แนวทางการรักษา
โดยการให้ยา levothyroxine (L-thyroxine) ซึ่งเป็น T4 ขนาด 100-200 g/วัน วันละครั้ง นาน 3สัปดาห์
แล้วจึงปรับขนาดยาตามระดับ TSH , T4 ยาชนิดนี้สามารถใช้ได้ปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ และระยะให้นมบุตร เนื่องจากยาไม่ผ่านรกและขับออกทางน้ำนมได้น้อย ยาจะถูกดูดซึมได้ดีในลำไส้
สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยาจะต้องตรวจเลือดเพื่อติดตามการทำงานของต่อมไทรอยด์ทุกไตรมาสโดยเฉพาะ T4 และ TSH เพื่อให้แน่ใจว่าขนาดของยาที่ให้เพียงพอ
ผลของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยต่อการตั้งครรภ์
ต่อมารดา
มีโอกาสจะแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด หรือทารกตายในครรภ์สูงกว่าปกติ ภาวะความดัน
โลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ รกลอกตัวก่อนกำหนด การเสียเลือดหลังคลอด
ต่อทารก
เนื่องจาก Thyroixine (T4) มีความจำเป็นในการพัฒนาของสมอง และระบบประสาทของทารก จึงอาจทำให้ทารกมีความบกพร่องในการพัฒนาสมอง
นอกจากนี้ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีภาวะขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง ขณะตั้งครรภ์จะเกิดภาวะคริตินิซึม (Cretinism) เนื่องจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทำให้ทารกมีปัญญาอ่อนได้
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เมตาโบลิซึมของร่างกายต่ำลงเนื่องจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
เเนะนำการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอแม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
การรับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยเลือกอาหารที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และมีเส้นใยอาหารหรือกากมาก
การพักผ่อน ควรพักผ่อนให้มากขึ้น วันละ 10 ชั่วโมง
ดูแลด้านความสุขสบายให้ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เพราะผู้ป่วยมักทนอากาศเย็นไม่ได้ ถ้ามีอาการปวดข้อ หรือปวดเมื่อยตามตัวควรจัดให้อยู่ในท่าที่สบายและกระตุ้นให้เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ
การมาฝากครรภ์ตามกำหนดโดยให้รับการตรวจในคลินิกดูแลหญิงครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
ทารกมีภาวะเสี่ยงต่อคริตินิซึม
เจาะเลือดจากสายสะดือทารกแรกเกิดเพื่อส่งตรวจหาไทรอยด์ฮอร์โมน ถ้าพบมีค่าต่ำผิดปกติจะต้องรีบรายงานแพทย์เพื่อให้ทารกได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
ในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มีนโยบายในการเจาะเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อตรวจคัดกรองภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติในทารกแรกเกิดทุกคน
ต้องซักประวัติผู้คลอดเพื่อพิจารณาตรวจเลือดทารกที่มีความเสี่ยงติดต่อการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์
ต้องซักประวัติผู้คลอดที่อยู่ในท้องถิ่นหรือความชุกชมของภาวะคอพอกจากขาดสารไอโอดีน