Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.4 ความผิดปกติของการหายใจ -วัณโรคปอดในหญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
5.4 ความผิดปกติของการหายใจ
-วัณโรคปอดในหญิงตั้งครรภ์
ติดต่อจากคนสู่คนได้ จากสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคที่ปนออกมากับละอองน้ำลายหรือเสมหะเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม
ประเภท
ผู้ที่น่าจะเป็นวัณโรค (presumptive TB)
ผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดงเข้าได้กับวัณโรค
ไอทุกวันเกิน 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด น้ำหนักลดผิดปกติ มีไข้ เหงื่อออกมากผิดปกติตอนกลางคืน เป็นต้น
(เดิมเรียกว่า TB suspect)
ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (latent TB infection)
ผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับเชื้อ สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้
ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ผู้ป่วยวัณโรค หรือวัณโรคระยะแสดงอาการ (TB disease หรือ Active TB)
ผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ภูมิคุ้มกันไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้
เกิดพยาธิสภาพที่ทำให้ป่วยเป็นวัณโรค อาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้
ผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านระบบทางเดินหายใจจากการพูด คุย หรือจาม ของเหลวในร่างกายหรือเนื้อเยื่อในตำแหน่งที่เป็นโรค
อาการและอาการแสดง
มีอาการไอ ซึ่งในระยะแรกจะไอแห้งๆต่อมาจึงมีเสมหะลักษณะเป็นมูกปนหนอง
จะไอมากขึ้นเวลาเข้านอนหรือตื่นนอนตอนเช้า อาการไอมักจะเรื้อรังนากว่า 3 สัปดาห์ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
น้ำหนักตัวค่อยๆลดลงซีด ครั่นเนื้อครั่นตัวมีไข้ตอนบ่าย เหงื่อออกตอนกลางคืนอาจมีอาการแน่นหน้าอกโดยไม่มีอาการไอ
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติอาการและอาการแสดง
การตรวจ Tuberculin skin test เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโดยการฉีดสารสกัดโปรตีนที่ได้จากวัณโรค เรียกว่า purified protein derivative (PPD) ฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง
หลังจากนั้น 48-72 ชั่วโมง จึงอ่านผลลักษณะ ผิวหนังนูนคล้ายลมพิษ บวมแดงหรือเป็นตุ่มเล็กๆ ซึ่งวิธีนี้ไม่แนะนำให้ใช้ตรวจในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร
3.ตรวจเอกซ์เรย์ปอด
4.การส่งตรวจเสมหะ
-การตรวจย้อมหาเชื้อวัณโรค (acid fast bacilli staining)
-การเพาะเชื้อ (culture for mycobacterium tuberculosis)
-การตรวจหาสารพันธุกรรมที่เชื้อวัณโรค (PCR หรือ polymerase chain reaction)
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ผลของโรคต่อมารดา
แท้งเอง การคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ผลของโรคต่อทารก
การเสียชีวิตในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิด ทารกติดเชื้อวัณโรคแต่กำเนิด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
-แนะนำรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาสูตร2HRZE/4HR กับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกราย
2HRZE/4HR หมายถึง ใน 2 เดือนแรกจะมีการใช้ยา Isoniazid(H) + Rifampicin(R) + Pyrazinamide(Z) + Ethambutol(E) หลังจากนั้นจึงใช้ Isoniazid(H) + Rifampicin(R) ต่ออีก 4 เดือน รวมทั้งหมดเป็น 6 เดือน
โดยคำนวณขนาดการใช้ให้เหมาะสมตามน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ แต่เนื่องจากยา Isoniazid มีผลยับยั้งการสร้างวิตามินบี 6 (Pyridoxine) แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561”
จึงแนะนำให้เสริมวิตามินบี 6 วันละ 50 – 100 มิลลิกรัม ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีการใช้ยา Isoniazid เพื่อป้องกันภาวะปลายประสาทอักเสบ
-แนะนำรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เน้นปลา นม ไข่ เพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กและวิตามินสูง
-งดเว้นสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ จะส่งผลให้อาการของโรคทรุดลง
-จัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เปิดหน้าต่างให้มีแสงสว่างเข้าถึง
-สวมผ้าปิดปากป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ไม่ไอจาม รดผู้อื่น
-ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า
-แนะนำมาฝากครรภ์ตามนัดเพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
ระยะคลอด
-ดูแลให้อยู่ในห้องแยก ให้ผู้คลอดพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงร่างกายอ่อนเพลีย
-ดูแลให้ได้รับสารน้ำและยาตามแผนการรักษาของแพทย์
-ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์และความก้าวหน้าของการคลอด
ระยะหลังคลอด
-หลังคลอดแยกทารกออกจากมารดาจนกระทั้งการเพาะเชื้อจากเสมหะของมารดาได้ผลลบ
-กรณีที่ไม่สามารถแยกทารกจากมารดาได้แนะนำให้มารดาไม่ไอ จามหรือหายใจรดทารก ควรสวมผ้าปิดปากปิดจมูกป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
-ทารกแรกเกิดควรได้รับการตรวจ Tuberculin skin test เมื่อแรกเกิด พร้อมกับให้ยา INHและ rifampicin ทันทีหลังคลอด
-ทารกได้รับการฉีด BCG เพื่อป้องกันวัณโรคชนิดแพร่กระจาบหลังคลอด