Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนที่ 3 แนวคิดของครอบครัว ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล …
หน่วยการเรียนที่ 3 แนวคิดของครอบครัว ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล ครอบครัว
ความหมายของครอบครัว
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของครอบครัวไว้ว่า หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยาและบุตร
ครอบครัวประกอบด้วยลักษณะ
ลักษณะตามโครงสร้าง
มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีความสัมพันธ์กันโดยสายเลือดหรือโดยกฎหมาย
มีการพักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันหรือเคยอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน
ลักษณะตามหน้าที่
สมาชิกมีปฏิสัมพันธ์กัน มีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งกันและกัน
สมาชิกทุกคนมีความรักใคร่ มีความปรารถนาดีต่อกัน มีความผูกพันซึ่งกันและกัน
มีการดำรงชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกัน
ความหมายสุขภาพครอบครัว
สุขภาพครอบครัว หมายถึง ความสามารถในการทำหน้าที่ของการเป็นหน่วยครอบครัวซึ่งได้แก่ การทำหน้าที่เกี่ยวกับสุขภาพของสมาชิกแต่ละคน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ความสามารถในการรับมือกับสิ่งแวดล้อดมภายนอก ณ เวลานั้น (จริยาวัตร และ วนิดา, 2554)
ชนิดของครอบครัว
จำแนกตามโครงสร้างของครอบครัว โดยพิจารณาประเภทของสมาชิก
ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) หมายถึงครอบครัวที่ประกอบด้วยสามี ภรรยาและบุตร ซึ่งในกรณีที่สามีหรือภรรยามากกว่า ๑ คน (Polygamy) ก็ให้รวมถึงสามีหรือภรรยานั้นพร้อมบุตร
ครอบครัวขยาย (Extended family) หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบด้วย ครอบครัวรวมญาติทั้งด้านสามีหรือภรรยาที่ร่วมอยู่ในครอบครัว
จำแนกตามที่อยู่อาศัยของคู่สมรส
ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่เข้าไปอยู่ร่วมกับครอบครัวของบิดามารดาฝ่ายชาย
(Patrilocal family)
ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่เข้าไปอยู่ร่วมกับครอบครัวของบิดามารดาฝ่ายหญิง
(Matrilocal family)
ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่แยกครอบครัวไปอยู่ต่างหาก (Neolocal family)
จำแนกตามความเป็นใหญ่
ครอบครัวที่บิดาหรือสามีเป็นใหญ่ในครอบครัว
ครอบครัวที่มารดาหรือภรรยาเป็นใหญ่ในครอบครัว
สามีภรรยาเท่าเทียมกัน
จำแนกตามความสัมพันธ์ทางสายโลหิต
การสืบสายโลหิตทางฝ่ายบิดา บุตรที่เกิดมาต้องเป็นสมาชิกฝ่ายบิดาและต้องใช้นามสกุลฝ่าย
บิดา (Patrilineal family)
การสืบสายโลหิตฝ่ายมารดา บุตรที่เกิดมาต้องเป็นสมาชิกฝ่ายมารดาและต้องใช้นามสกุล
ฝ่ายมารดา (Matrilineal family)
หน้าที่ของครอบครัว
หน้าที่ด้านความรักความเอาใจใส่ (Affective function)
หน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู (Socialization function)
หน้าที่ในการผลิตสมาชิกใหม่ (Reproductice function)
หน้าที่ในการเผชิญปัญหาของครอบครัว (Family coping function)
หน้าที่ในการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจ (Economic function)
หน้าที่ในการจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานทางกายภาพสำหรับสมาชิก (Provision of physical necessities)
ความหมายการพยาบาลครอบครัว
การพยาบาลครอบครัว เป็นการบริการสุขภาพครอบครัว ที่ใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศิลปะการพยาบาล มาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพครอบครัว และช่วยให้ครอบครัวสามารถเผชิญภาวะวิกฤตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ โดยมุ่งเน้นให้ครอบครัวสามารถดำรงภาวะสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการให้การพยาบาลครอบครัว
ผู้ให้บริการ (Health Care provider/Providing Direct care)
ผู้ให้ความรู้ คำแนะนำและข้อมูลต่างๆ (Health educator)
ผู้ให้คำปรึกษาแก้ปัญหาต่างๆ (Health counselor)
เป็นตัวอย่าง (Role model)
เป็นผู้รักษาผลประโยชน์หรือสิทธิของผู้รับบริการ (Client Advocate)
เป็นผู้ร่วมงาน (Collaborator)
ผู้ประสานงาน (Coordinator)
เป็นผู้วางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge Planner)
เป็นผู้ค้นหา/ผู้หาผู้ป่วย ( Case Finder)
เป็นผู้สนับสนุน (Supporter)
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent and Leader)
เป็นนักวิจัย (Researcher)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลครอบครัว
ทฤษฎีระบบครอบครัว (Family System Theory)
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ (Structural and Functional Theory)
ทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว (Family Development Theory)
ทฤษฎีวิกฤต
น.ส.เกวริน ทอดโอภาส 611410044-9