Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคมาลาเรีย, สมาชิก …
โรคมาลาเรีย
การวินิจฉัยโรค
-
- การตรวจหาเชื้อมาลาเรียโดยใช้เลือดจากปลายนิ้ว (finger prick) หรือเจาะจากหลอดเลือดดำ (venipuncture) นำมาทำฟิล์มเลือดและย้อม ด้วยสี่กิมซ่า ซึ่งนอกจากจะตรวจหาว่ามีเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือดหรือไม่แล้ว การตรวจหายังต้องบ่งถึงชนิดของเชื้อมาลาเรียด้วย ฟิล์มเลือดที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย มี 2 ชนิดคือ
- (1) ฟิล์มเลือดบาง(thin blood film) เห็นชื้อมาลาเรียชัดเจนสามารถแยกชนิดของมาลาเรียได้
- (2) ฟิล์มเลือดหนา (thick blood flm) แยกชนิดของมาลาเรียได้ยาก
- การตรวจหาสารประกอบของเชื้อ
มาลาเรีย มีชุดตรวจสำเร็จรูปทำได้ง่ยและรวดเร็ว แต่ ราคาอาจแพงกว่าการตรวจดูเม็ดเลือดแดง
- การตรวจในระดับยืน (gene) ของเชื้อ
มาลาเรีย เป็นวิธีการตรวจที่ไวและผลลบลวงต่ำ แต่ ราคาแพงมาก ไม่เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา
-
สาเหตุการเกิดโรค
- โรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ใน genus plasodim เป็นสัตว์เซลล์เดียวมีลักษณะเฉพาะการเกิดโรคในคน เป็นได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เชื้อมาลาเรียที่ทำให้เกิดโรคในคนมี 4 species
-
การแพร่กระจายเชื้อ
- เมื่อยุงกันปล่องตัวเมียมีเชื้อมาลาเรียกัดคนยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรีย (sporozoit) จากต่อมน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดของคน
- จากนั้นเชื้อจะเดินทางไปที่ตับและเกิดการแบ่งเชลแบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ได้ merozoiteนับพันตัว จากนั้นเชลตับจะโตและแตกออกปล่อย merozie ออกมาในกระแสเลือดระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการของโรคคือ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีระ
- สำหรับเชื้อ Plasmodium vivax และ Plasmodium ovaleเชื้อบางส่วนยังคงอยู่ในเซลดับที่เรียกว่า "hypnozoite" ทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำได้
- หลังจากที่ merozoiteเข้าสู่กระแสลือด เชื้อจะเดินทางต่อไปยังเม็ดเลือดแดงและเจริญเป็น topozoite และแบ่งตัวอีกครั้งเป็นmerozoite 6-30 ตัว เมื่อเม็ดเลือดแดงแตก merozoie จะเดินทางไปยังเม็ดเลือดแดงอื่น แล้วเจริญแบ่งตัววนเวียนอยู่เช่นนี้
- merozoite บางตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเชื้อมีเพศ (gametocye) เพศผู้เพศเมียเมื่อยุงกั้นปล่องตัวเมียกัดคนที่มี oocyst ฝังตัวที่กระเพาะยุง แล้วแบ่งตัวเป็น sporozoite ไปยังต่อมน้ำลายเพื่อรอการกัดของยุงอีกครั้ง
อาการและอาการแสดง
- ในระยะ 2-3 วันแรกไข้ยังจับไม่เป็นเวลา เนื่องจากเชื้อที่เข้าไปในร่างกายยังไม่เจริญร่วมเวลากัน ประมาณปลายสัปดาห์ที่2 จะเริ่มจับไข้ป็นเวลา คือ perodiciy อาการไข้ที่จับจะมีอยู่ 3 ระยะ คือ
- ระยะที่1ระยะหนาว(cold stage)อาจนาน 15-60 นาที เริ่มมีหนาวสั่นเกร็ง ระยะนี้อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น ชีพจรเบาเร็วแรงดันเลือดจะเพิ่มขึ้น ผิวหนังเย็น ซีด และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอาจมีปัสสาวะน้อยได้
- ระยะที่2ระยะร้อน( hot stge)กินเวลานานประมาณ2 ชั่วโมง อุณหภูมิของร่างกายขึ้นสูง ชีพจรแรง แรงดันเลือดจะยังสูง ลมหายไจร้อน หน้าและผิวหนังแดงและแห้ง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำบางคนมีอาการกระสับกระส่าย บางคนไม่ค่อยรู้สึกตัว และปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา
- ระยะที่3ระยะเหงื่อออก(sweating stage) กินเวลานานประมาณ 1 ชั่โมง ระยะนี้เหงื่อเริ่มออก บริเวณขมับก่อนแล้วจึงออกทั่วตัว อุณหภูมิ ชีพจรและความดันเลือดจะกลับคืนปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกเพลียเหนื่อยและหลับไป ระยะพักคือระยะที่ไม่จับไข้ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี
การพยาบาลผู้ป่วยมาลาเรีย
- การตรวจบันทึสัญญาณชีพคือ อุณหภูมิการหายใจ ชีพจรและความคันโลหิตเพื่อ ประเมินภาวะ shock
- ถ้ามีไข้สูงมากต้องให้ยาลดไข้ ทำ Tepid sponge
- ถ้ำหายใจเร็วต้องหาสาเหตุ ทำ CXR เจาะเลือดตรวจ Aterial blood gas ตามแผนการรักษาของเพทย์
- ถ้ามีการติดเชื้อในปอดต้องดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตผลข้างเคียงของยา
- ตวงและบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกายเพื่อประเมินภาวะปอดคั่งน้ำและสังเกตภาะแทรกซ้อนจากการให้ยาขับปัสสาวะ
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
- ดูแลให้ยาควินิน พร้อมสังกตผลข้างเคียงจากยาเช่น หูอื้อ ปวดศีรษะคลื่นไส้ ตามัว ถ้าได้รับยาขนาดมากอาจมีอาการแพ้ เช่น ตัวร้อน หน้าแดง ผื่นขึ้น หน้าบวม หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ปวดท้อง เป็นต้น
- เจาะเลือดตรวจตามแผนการรักษาเพื่อติดตามผลอิเล็กโตรลัยท์
การรักษา
- การรักษาผู้ป่วยมาลาเรียที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรับประทานยาได้ การเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อมาลาเรีย
- การรักษามาลาเรียที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่มาลาเรียที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจะเกิดจาก Plasmodium falcipam มักเกิดกาวะมาลาเรียขึ้นสมองยาที่ให้ป็นยาฆ่าเชื้อชนิดฉีด
- การรักษาทั่วไป โดยการเฝ้าระวังป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่
- ไตวาย ให้การรักษาเหมือนกับไตวายจากสาเหตุอื่นๆ
- ภาวะซีด ถ้ำhematocrit ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องให้เลือด เลือดควรเป็นเลือดใหม่ ถ้าซีดไม่มากรักษามาลาเรียหายแล้วให้ยาจำพวกเหล็กรับประทานต่อ
- ภาวะเหลือง ให้การรักษาเบบประกับประคองเหมือนกับภาวะตับวายจากสาเหตุอื่นๆ
- มีภาวะลิ่มเลือดเเพร่กระจายในหลอดเลือด (DIC) ให้เลือดและพลาสมาไหม่
ได้แก่
- ไข้สูง พยายามเช็ดตัวให้บ่อยๆ ให้ยาลดไข้ถ้าไข้สูงนานอาจทำให้เซลล์สมองตายได้
- ภาวะขาดความสมดุลของน้ำและเกลือเร่ ผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน จึงมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ การให้น้ำและเกลือแร่จะให้แบบทดแทนตามสภาพของผู้ป่วย
- อาการชัก ถ้ามีต้องให้ยาระงับอาการชักทันที ระวังภาวะขาดออกซิเจน สำลัก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะฉุกเฉินต้องรักษาทันที่ ถ้าปล่อยไว้นานเซลล์สมองจะตายโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำถ้ารู้สึกตัวให้ดื่มน้ำหวานดีที่สุด ถ้าไม่รู้สึกตัวใสสายยางเข้ากระเพาะอหารให้น้ำหวานทางสายยาง
การป้องกัน/การดูแล
- การนอนในมุ้ง มุ้งที่ใช้ควรอยู่ในสภาพดีไม่มีรอยขาด โดยลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำมุงที่เหมาะสมคือเส้นด้ายขนาดประมาณ 1-1.8 มิลลิเมตร และความถี่ของช่องตาข่ายไม่ควรต่ำกว่า 156 ช่องต่อตารางนิ้วเพื่อให้สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
- การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายอย่างมิคชิด และไม่กระชับติดร่างกายจนเกินไป นอกจากนี้ประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย เช่น ผู้ที่มีอาชีพทำสวนยางอาจสวมเสื้อชุบสารเคมีเพื่อป้องกันยุงอีกชั้นหนึ่ง
- การใช้ยาป้องกันยุงประสิทธิภาพในการป้องกันยุงขึ้นกับคุณภาพของยาโดยทั่วไปนิยมใช้ยาทากันยุงขณะอยู่นอกบ้าน
- โรคมาลาเรียเป็นโรคระบาดประจำท้องถิ่น (endermic) ในประเทศเขตร้อน เช่น อัฟริกา ตอนกลางของทวีปอเมริกาได้ นอกจากนี้ก็จะมีระบาดของโรคมาลาเรียได้ถ้ามีพื้นที่ๆมียุงกันปล่อง (anopheles) อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การระบาดของโรคมาลาเรียนอกจากจะแพร่กระจายเชื้อได้โดยถูกยุงกั้นปล่องที่มีเชื้อ plasmodium อยู่กัด อาจแพร่กระจายเชื้อได้โดยการได้รับเลือดหรือถูกเข็มที่ปนเปื้อนเชื้อ plasmodium และอาจติดโรคจากแม่ในขณะตั้งครรภ์เป็นผลให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะหลายอย่างหลังคลอดได้แต่พบน้อยมาก
-
- สมาชิก
นางสาวชนาทิพย์ คงชาตรี รหัสนักศึกษา 613101018
นางสาวชลิตา พันนัยนูน รหัสนักศึกษา 613101022
นางสาวญาณิศา มลาชู รหัสนักศึกษา 613101026
นางสาวณัฏฐริณีย์ เลาหเรณู รหัสนักศึกษา 613101028
นางสาวบุญญิตา สมสวย รหัสนักศึกษา 613101044
นางสาวปาริฉัตร นวลหงษ์ รหัสนักศึกษา 613101054
นายภัทรพงศ์ สารีพิมพ์ รหัสนักศึกษา 613101066
นางสาวลลิตา วงศ์วิโรจน์รักษ์ รหัสนักศึกษา 613101073
นายสุเมธ อุ่นยศ รหัสนักศึกษา 613101104