Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบทางเดินอาหาร, m8340s, 5c652be5e229c, นางสาววันทนา…
ความผิดปกติของระบทางเดินอาหาร
ท้องผูก
อาการ
ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ
ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
การมีอุจจาระแข็ง
มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด
วิธีการรักษาท้องผูก
การรักษาโดยการใช้ยาระบาย ซึ่งมีหลากหลายชนิด ได้แก่ ยาระบายในกลุ่มกระตุ้นให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว (Stimulant Laxatives) ยาระบายกลุ่มที่ออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำเพื่อให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากขึ้น (Osmotic Laxatives) ไหลกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ยาเหน็บหรือยาสวนทวาร รวมไปถึงยากลุ่มใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ (Prokinetic Agent) หรือ ยากลุ่มที่กระตุ้นให้มีการหลั่งสารน้ำและเกลือแร่บางตัวเข้าไปในลำไส้ (Secretagouge) ทั้งนี้ควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
การฝึกการขับถ่าย (Biofeedback Training) สอนให้ผู้ป่วยขับถ่ายอย่างถูกวิธีด้วยเครื่องมือที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย ซึ่งสามารถแสดงผลกล้ามเนื้อเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักทั้งหมดของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการขับถ่ายที่ถูกต้อง ทั้งท่าทาง การหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหูรูด และการรับรู้ความรู้สึก โดยจะทำการฝึกทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 - 40 นาที วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลในระยะยาว เมื่อทำอย่างต่อเนื่องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยา
การปรับพฤติกรรม ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกครั้งแรก อย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลง นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ
การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้าที่รักษาโดยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลและมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ที่ได้รับการตรวจยืนยันชัดเจนแล้ว โดยวิธีนี้ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น
ประเภทของท้องผูก
ท้องผูกที่มีปัจจัยส่งเสริมนอกจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Secondary Constipation)
ภาวะการตั้งครรภ์
โรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
การอุดกั้นของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อหรือมะเร็งมากด หรือรวมไปถึงการตีบแคบของลำไส้จากพังผืดหรือการผ่าตัด
ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ภาวะ โพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมสูง
ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาแก้ท้องเสีย รวมไปถึงยาลดการเกร็งของทางเดินอาหาร ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ รวมไปถึงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยนอนติดเตียง
ท้องผูกที่มีความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Primary Constipation) ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของการทำงานที่ผิดปกติ
ท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย พบประมาณ 1/3 ของท้องผูกในกลุ่มนี้ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามช่องท้องที่ใช้ช่วยในการเบ่งมีแรงไม่เพียงพอ การที่กล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่สัมพันธ์กับการเบ่งถ่ายอุจจาระ โดยมีการเกร็งตัวหรือไม่คลายตัวดีพอขณะทำการเบ่งถ่าย
ท้องผูกชนิดที่มีการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ปกติ หรืออาจจะเรียกกลุ่มนี้ว่า ลำไส้แปรปรวนได้ ซึ่งจะพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของท้องผูกในกลุ่มนี้ และอาจจะพบว่า มีการรับรู้ความรู้สึกไวของลำไส้ตรงได้ในกลุ่มนี้
ท้องผูกชนิดที่ลำไส้มีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ พบได้น้อยที่สุดในกลุ่มนี้
ท้องเสีย
การรักษา
1.ตามอาการ
เมื่อมีอาการใน 4-6 ชั่วโมงแรก อาจซื้อผงเกลือแร่สำเร็จรูปจากร้านขายยามาลองรับประทานดูก่อน หรืออาจจะเตรียมเองที่บ้านก็ได้โดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เหลือป่น ½ ช้อนชา เติมน้ำสะอาด 1 ขวดกลม ประมาณ 750 ซีซี การรักษาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือการได้รับน้ำและเกลือแร่ทดแทน ในช่วงที่มีอาการท้องเสียควรรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ไม่ควรงดรับประทานอาหารเพราะจำทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ถ้าเป็นไม่มากหลังดื่มน้ำเกลือแร่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าดื่มน้ำแกลือแร่ไม่ได้ ยังคงอาเจียนมีไข้สูง วิงเวียน เพลีย ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ วิธีดีง่าย ๆ คือดูจากปริมานและสีของปัสสาวะ ถ้าลักษณะสีเหลือจาง ๆ หรือเกือบไม่มีสีและปัสสาวะทุก 3-5 ชม.แสดงว่าดื่มน้ำได้เพียงพอ หลังถ่ายเหลว 2-3 วัน บางรายจะมีอาการท้องอืดๆ ได้
2.การใช้ยา
ยาที่ช่วยให้หยุดถ่ายหรือที่มักจะเรียกว่ายาแก้ท้องเสีย เช่น Dphenoxylate, Loperamide สามารถใช้ได้เฉพาะผู้ที่ท้องเสียธรรมดาเท่านั้น ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเกิดอาการท้องเสียเนื่องจากติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษจากเชื้อ เนื่องจากยาที่ทำให้หยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลงทำให้ความถี่ของการถ่ายลดลงและผู้ป่วยอาจคิดว่าอาการดีขึ้น แต่ความจริงแล้วเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อจะอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ทำให้หายจากอาการท้องเสียได้ช้าลง หากสงสัยว่าท้องเสียแบบติดเชื้อหรือได้รับสารพิษจากเชื้อควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อจะได้รับยาฆ่าเชื้อหรือยาดูดซับสารพิษที่เหมาะสม
สาเหตุ
อาการท้องเสียเนื่องจากได้รับสารพิษจากเชื้อ
อาการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ
ท้องเสียซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อ เช่น ยาปฎิชีวนะบางชนิด, แพ้อาหาร
อาการท้องเสีย
ชนิดของถ่ายเหลว
ท้องเสียบางครั้งเกิดจากลำไส้อักเสบ เพราะเกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารบอแรกซ์
กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อาหารเป็นพิษ เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน อย่างเฉียบพลันและมักรุนแรง มักเกิดภายหลังรับประทานอาหารได้สัก 1-2 ชั่วโมง
ท้องเสีย เนื่องจากร่างกายชาดน้ำย่อยบางชนิด ดังเช่น ในคนเอเชียจำนวนไม่น้อยที่เกิดมาขาดสารเอนไซม์ที่จะต้องใช้ย่อยน้ำตาลในนมวัว รับประทานนมวัวทีไรก็ท้องเสียทุกที หรือเด็กที่หายจาอาการท้องเสียใหม่ ๆ ร่างกายยังไม่ฟื้นพอที่จะสร้างเอนไซม์ตัวนี้ เด็กก็จะท้องเสียหากรับประทานนมวัวเข้าไป ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนรับประทานได้
การป้องกัน
ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร และล้างมือทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องน้ำ ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ เมื่อเกิดท้องเสียให้ดื่มน้ำอุ่นรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและพักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามดื่มนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
นางสาววันทนา คดอ่ำเลขที่ 59 ห้องA