Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนในเด็กโรคมะเร็งและการดูแล, นางสาว อุไรวรรณ เต็มคงแก้ว…
ภาวะแทรกซ้อนในเด็กโรคมะเร็งและการดูแล
กลุ่มที่ 2. ภาวะฉุกเฉินทางเมแทบอลิซึม (Metabolic emergencies)
ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด (Hypercalcemia)
ให้สารน้ำในร่างกายอย่างเพียงพอและให้ยากลุ่ม bisphosphonate ภาวะขาดสารน้ำเป็นภาวะที่พบร่วมด้วยเสมอ ให้ normal saline ปริมาณ 100 ถึง 200 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง จึงเป็นการรักษาที่จำเป็นในช่วงแรก หลังจากการให้สารน้ำอย่างเพียงพอ 6-12 ชั่วโมง
รักษาด้วย bisphosphonate ร่วมกับการให้สารน้ำอย่างมากเป็นสิ่งที่สำคัญ bisphosphonate เป็นสารที่ยับยั้งการทำงานของ osteoclast ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความสำคัญต่อกระบวนการ bone resorption ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ zoledornate และ pamidronate
การหลั่งของฮอร์โมน antidiuretic ไม่เหมาะสม (Inappropriate secretion of antidiuretic hormone หรือ SIADH)
การรักษาที่เหมาะสมคือการรักษาโรคมะเร็งนั้นๆ ในกรณีที่เป็น มะเร็งปอดชนิด small-cell การให้เคมีบำบัดซึ่งนอกจากเป็นการรักษาโรคมะเร็ง แล้วนั้น ยังเป็นการควบคุมภาวะ SIADH ร่วมด้วย หากการรักษาจำเพาะของโรคมะเร็งไม่สามารถทำได้หรือก้อนมะเร็งไม่ตอบสนองกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การจำกัดสารน้ำและการรักษาด้วย demeclocycline เป็นการรักษาบรรเทาอาการของผู้ป่วย SIADH ได้
กลุ่มที่ 1. โครงสร้างหรือภาวะอุดตันที่เกิดจากก้อนมะเร็ง (Structural or obstructive emergencies)
ภาวะอุดตันหลอดเลือดดำใหญ่ superior vena cava (Superior vena cava syndrome)
การรักษาด้วยออกซิเจน การให้ยาขับปัสสาวะ การนอนยกศีรษะสูง และ steroids สำหรับการรักษาจำเพาะด้วยเคมีบำบัด เหมาะสำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอดชนิด small cell มะเร็ง germ cell
สำหรับ SVCS ที่เกิดจากสายสวนเส้นเลือดดำใหญ่ การนำสาย สวนออกร่วมกับการรักษาด้วยยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (anticoagulant drug) สามารถป้องกันการเกิด embolization
การใส่ superior caval stenting สามารถลดอาการได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วัน ดังนั้นสามารถใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
ภาวะบีบรัดเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial tamponade)
การเจาะระบายน้ำ (pericardiocentesis) นอกจากนี้ในบางรายพิจารณาการใส่สารก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ (sclerosing agents) เพื่อไม่ให้เกิดพื้นที่สะสมน้ำเช่น bleomycin หรือ tetracycline
การทำ pericardial window และการทำ complete pericardial stripping เป็นการรักษาภาวะบีบรัดเยื่อหุ้มหัวใจที่มีประสิทธิภาพ
การกดเบียดไขสันหลัง (Spinal cord compression)
บรรเทาอาการเจ็บปวดและคงสภาพหรือฟื้นกลับมาของการทำงานของไขสันหลัง สามารถให้การรักษาด้วย dexamethasone
รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดการกดเบียดไขสันหลังร่วมกับทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสมองสูง (Increased intracranial pressure)
การให้ยา mannitol และ steroids ยา mannitol เป็นยาที่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อ osmolarity สูง และสามารถออกฤทธิ์ภายในระยะเวลาเป็นนาทีหลังจากที่บริหารยาทางเส้นเลือดดำและออกฤทธิ์ได้นานหลายชั่วโมง
รังสีรักษาแบบ radiosurgery พิจารณาในผู้ป่วยที่มีรอยโรคไม่เกินสามรอยโรคและแต่ละรอยโรคมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
การอุดตันทางเดินปัสสาวะ (Urinary obstruction)
การรักษาการอุดตันทางเดินปัสสาวะโดยการใส่ ureteral stents สามารถลดอาการที่เกิดจากการอุดตันได้ นอกจากนี้การใส่ percutaneous nephrostomy เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่ stent ดังกล่าวได้ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขการอุดตันดังกล่าวผู้ป่วยอาจเกิดภาวะปัสสาวะออกมาก (polyuria) ตามมาได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือด ดังนั้นการให้สารน้ำและเกลือแร่จึงมีความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยอย่างยิ่ง
ภาวะไอเป็นเลือดปริมาณมาก (Massive hemoptysis)
ดูแลทางเดินหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิต หายใจลำบากรุนแรงหรือภาวะขาดออกซิเจน
การให้สารน้ำและเกลือแร่ ออกซิเจน ยากดการไอ
แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ตำแหน่งที่เลือดออกเป็นสิ่งที่ต้องประเมินและรักษาโดยการผ่าตัดหรือการใช้เลเซอร์ neodymium-yttrium-garnet laser phototherapy การอุดตันหลอดเลือดแดง (bronchial artery embolization) สามารถควบคุมอาการไอเป็นเลือดของผู้ป่วยได้
ภาวะทางเดินหายใจอุดตันแบบเฉียบพัน (Acute airway obstruction)
ทำ tracheostomy สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
รังสีรักษาแบบ external beam หรือ brachytherapy ร่วมกับ steroids สามารถทำให้เปิดบริเวณที่อุดตันได้ สำหรับการอุดตันที่มีสาเหตุจากบริเวณนอกท่อทางเดินหายใจ (external compression) การใส่ stent เป็นวิธีการบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
ผู้ป่วยที่มีตำแหน่งในการอุดตันที่ระดับห่างไกลจากหลอดลม (distal obstruction) โดยเฉพาะพยาธิสภาพที่เกิดในชั้นเยื่อบุผิวและมีการอุดตันแบบไม่สมบูรณ์ การรักษาด้วยการส่องกล้องร่วมกับการฉายเลเซอร์แบบ photodynamic หรือการใส่ stent สามารถลดอาการได้อย่างรวดเร็ว
กลุ่มที่ 3. ภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากการรักษา (Treatment-related emergencies)
Tumor lysis syndrome
ดูแลอย่างใกล้ชิด (intensive care) ร่วมกับการเฝ้าติดตามระบบไหลเวียนโลหิต ระดับเกลือแร่และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นหัวใจสำคัญของการรักษา การให้สารน้ำที่เพียงพอ rasburicase และโซเดียมไบคาร์บอเนตในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดเป็นกรด ร่วมกับการแก้ไขภาวะแคลเซียม และโพแทสเซียมที่ผิดปกติ
ล้างไตในกรณีที่มีปัญหาไตวาย ข้อบ่งชี้ของการล้างไตในภาวะนี้ ได้แก่ ระดับฟอสเฟตสูงในเลือดอย่างรุนแรง คือมากกว่า 10.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรร่วมกับมีอาการที่เกิดจากภาวะแคลเซียมต่ำ ภาวะโพแทสเซียมสูงตลอดและไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น ภาวะ azotemia ภาวะกรดยูริกสูงในเลือด ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลยหรือกรดคั่งในร่างกายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น หรือภาวะน้ำเกินในร่างกาย
ปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันจากการได้รับเคมีบำบัด (Anaphylactic reaction related to chemotherapeutic agents)
หลักการดูแลผู้ป่วย
การดูแลทางเดินหายใจ
การประคับประคองระบบไหลเวียนโลหิต
การตระหนักเพื่อการวินิจฉัยตั้งแต่อาการเริ่มแรก
การดูแลรักษาอย่างเร่งด่วนในกรณีที่พบผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้เคมีบำบัดเริ่มจาก หยุดยาที่สงสัยว่าผู้ป่วยจะแพ้ ประเมินทางเดินหายใจและให้ยา epinephrine การให้สารน้ำอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ การให้ corticosteroid และยายับยั้ง histamine หากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นดังกล่าวแล้วยังมีความดันโลหิตต่ำให้พิจารณาให้ผู้ป่วยนอนรักษาอยู่ในหอผู้ป่วยระยะวิกฤติ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดมีเลือดออก
(Hemorrhagic cystitis)
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นภาวะที่เกิดจากการได้รับยาขนาดสูงหรือการบริหารยาที่นานของ ifosphamide และ cyclophosphamide ซึ่งยาทั้งคู่เป็นยาในกลุ่ม alkylation และเมแทบอลิซึมได้สาร acrolein ซึ่งเป็นสารเคมีที่ขับออกทางไตจึงทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะได้
อาการที่พบบ่อยได้แก่ ปัสสาวะลำบาก เจ็บเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกออกร้อนเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือดและปัสสาวะเล็ดได้
การรักษาโดยการให้สารน้ำแบบโหมรักษาเพื่อให้มีปัสสาวะออกได้ดียังเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่หากรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผลการ irrigate ด้วยสารละลาย formalin ประมาณ 10 นาทีสามารถจะหยุดเลือดออกได้ ในกรณีที่รุนแรงมากเมื่อเลือดไม่หยุดไหล การผ่าตัดด้วยการผูกเส้นเลือด (ligation) หรืออุดตันหลอดเลือด hypogastric arteries ด้วยการฉีดสารอุดตัน (embolization) โดยรังสี intervention ในบางกรณีที่รุนแรงและไม่สามารถหยุดด้วยวิธีเบื้องต้น การผ่าตัด
นางสาว อุไรวรรณ เต็มคงแก้ว 612601090