Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด, นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น…
การพยาบาลเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด
ความพิการแต่กำเนิด
แบ่งเป็น
minoranomalies
พบได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของประชากร
เช่น ติ่งบริเวณหน้าหู การพับผิวหนังของเปลือกตาบน ปาน
ความผิดปกติที่ไม่มีผลให้การทำงานของอวัยวะเสียไป
major anomalies
พบได้ประมาณ ร้อยละ 2-3 ของทารกเกิดมีชีพ
จำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด ปากแหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
ความผิดปกติที่ทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นเสียไป
การจำแนก
Deformation
มีแรงกระทำจากภายนอกทำให้อวัยวะผิดรูปไปในระหว่างการเจริญพัฒนาของอวัยวะนั้น
มีภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เกิด oligohydramnios sequence ทำให้เด็กอาจเป็นเท้าปุก ข้อติดหรือมีภาวะเนื้องอกมดลูกในมดลูกกดเบียดศีรษะทารกให้ผิดรูป
Disruption
ภาวะที่โครงสร้างของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อผิดปกติ
สาเหตุภายนอกรบกวนกระบวนการ เจริญพัฒนาอวัยวะที่ไม่ใช่พันธุกรรม
เช่น ทารกขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย การบาดเจ็บของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ
Malformation
ลักษณะของอวัยวะที่ผิดรูปร่างไป เกิดจากกระบวนการเจริญพัฒนาภายในที่ผิดปกติ,พันธุกรรม,สิ่งแวดล้อม
เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วแยกกันไม่สมบูรณ์ นิ้วเกิน ติ่งหน้าหู เท้าปุก
Dysplasia
เป็นความผิดปกติในระดับเซลล์ของเนื้อเยื่อพบในทุกส่วนของร่างกาย
เช่น กลุ่มโรค skeletal dysplasia เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่มีสาเหตุจากพันธุกรรมเด็กจะมีลักษณะตัวเตี้ย แขนขาสั้น ศีรษะโต สันจมูกแบน
สาเหตุ
พันธุกรรม
ในกรณีที่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ในครอบครัวเป็นโรคความพิการแต่กำเนิด เด็กที่เกิดมาก็อาจเป็นได้
เช่น โรคปากแหว่ง เพดานโหว่
ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะจากมารดาในระหว่างตั้งครรภ์
มารดากินยาหรือเสพสารเสพติด
เช่น ยาแก้อาเจียน กลุ่ม ยาดองเหล้า ซึ่งความพิการที่พบเช่นศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน เจริญเติบโตช้า อาจจะมีความพิการผิดปกติที่หน้า หัวใจ ข้อ และอวัยวะเพศ
มารดาได้รับสารเคมีจากสิ่งแวดล้อม
เช่น สารปรอทนอกจากจะทำให้เกิดอาการแพ้พิษสารปรอท ที่เรียกว่า โรคมินามาตะ ทารกที่คลอดออกมาอาจมีความพิการทางสมอง และมีอาการชักได้
ขาดอาหาร ขาดวิตามิน
ถ้ามารดาขาดสารอาหารระหว่าตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความพิการได้ เช่น ปากแหว่ง-เพดานโหว่ เป็นต้น
รังสีเอ๊กซ์ หรือรังสีแกมม่า รวมทั้งสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์
ถ้ามารดาได้รับตั้งแต่ตั้งครรภ์ 2 wks จนถึง 3 เดือน ความพิการที่จะพบได้ คือ ศีรษะเล็ก ลูกตาเล็ก มีความผิดปกติของกระดูกสันหลังและแขนขา
โรคติดเชื้อ
เช่น โรคหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ได้ไม่เกิน16 wks ความพิการที่พบบ่อยคือ เด็กมีขนาดตัวเล็ก มีเลือดออกตามผิวหนังหัวใจพิการ ตาบอด หูหนวก สมองพิการ ปัญญาอ่อน
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกเกาะผิดที่ทำให้เกิดเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดที่ยากลำบาก
มารดามีอายุมากเกินไป มีลูกคนแรกตอนอายุ> 35 ปี
ปากแหว่ง-เพดานโหว่
(Cleft-lip , Cleft-palate )
ความหมาย
Cleft-lip ปากเหว่ง คือมีความผิดปกติบริเวณริมฝีปากและเพดานส่วนหน้าแยกออกจากกัน
Cleft-palateคือ มีความผิดปกติบริเวณเพดานหลังแยกออกจากกัน
อุบัติการณ์
ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือเพดานโหว่อย่างเดียวพบในทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง
การวินิจฉัย
ซักประวัติเพื่อหาสาเหตุทางกรรมพันธุ์
การตรวจร่างกาย เพดานโหว่ โดยสอดนิ้วตรวจเพดานปากภายใน หรือดูในช่องปากเวลาเด็กร้อง
มา ultrasound ตรวจดูอายุครรภ์ 13-14 wks ได้
อาการและอาการแสดง
สำลักเพราะไม่มีเพดานรองรับตอนกลืนอาหาร พูดไม่ชัดเพราะเพดานปากเชื่อมกับเพดานจมูก
หายใจลำบาก
ดูด กลืน ผิดปกติ เนื่องจากอมหัวนมไม่สนิทและยังทำให้ท้องอืดเพราะลมที่เข้าไป
อาจติดเชื้อในหูชั้นกลางทำให้มีปัญหาทางการได้ยิน
การรักษา
Cleft-lip
ผ่าตัด
น้ำหนัก 10 ปอนด์ฮีโมโกลบิน 10 กรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
อาจทำภายใน 48 ชม. หลังคลอดในรายที่
เด็กสมบูรณ์ดีหรืออายุ 8-12 wks+
เด็กอายุ 10 wks+
การผ่าตัด
ปากแหว่งด้านขวา Rotation Advancement Method
ปากแหว่งทั้ง 2 ด้านStraight Line Repair
ปากแหว่งด้านซ้าย Triangular Flap
Cleft-palate
การผ่าตัดแบบ palatoplasty , palatorrhaphy
อายุ 3 ปีค่อยทำการผ่าตัดแก้ไขจมูก+ฝึกพูด
อายุ 5 ปี ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อจัดฟัน
6-18 เดือน หรือเด็กเริ่มพูด เริ่มแข็งแรงค่อยทำผ่าตัดเพดาน
ต่อจากนั้นรักษาความผิดปกติที่หลงเหลืออยู่
ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อใส่เพดานเทียม เพื่อปิดช่องที่โหว่จะได้ไม่สำลัก
การพยาบาล
ระยะก่อนผ่าตัด
บิดา มารดา ผู้ดูแลเด็กขาดความรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการดูแลรักษา
สอนการป้อนนมอย่างถูกวิธี
แนะนำการดูแลในระยะก่อน หลังผ่าตัด
แพทย์จะอธิบายการผ่าตัดและผลลัพธ์การรักษา พยาบาลควรให้ความชัดเจนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ
เสริมแรงให้กำลังใจ
ประเมินความรู้ความเข้าใจของบิดามารดาเรื่องความผิดปกติของผู้ป่วยและการผ่าตัดรักษา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ/หูชั้นกลาง/การอุดกั้นทางเดินหายใจจากการสำลัก
เตรียมลูกยางแดงสำหรับดูดเสมหะไว้ข้างเตียง
สังเกตอาการ หายใจผิดปกติ ไอ ไข้
รักษาความสะอาดช่องปาก
ชั่งน้ำหนักทารกวันละครั้ง
ดูแลให้นมอย่างถูกวิธี
ดูดครั้งละน้อยๆ บ่อยครั้ง ใส่เพดานเทียมก่อนให้ดูดนม ก่อน-หลังใช้เพดานเทียมต้องทำความสะอาดทุกครั้ง
จับไล่ลมเป็นระยะๆทุก 15-30 นาทีเสมอ
ใช้ Artificial nipple จุกนมต้องยาว ถ้าเด็กดูดไม่ได้ใช้ช้อนปูอน / หลอดหยด
ป้อนน้ำตามทุกครั้งและทำความสะอาดช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ให้อาหารจัดท่าศีรษะสูงประมาณ 30-45 องศา Feedingเด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง 45 องศาจะได้ไม่สาลัก
การใส่ NG tube จะเป็นทางเลือกสุดท้าย กรณีที่เด็กมีปัญหาไม่สามารถ feed ได้ด้วยวิธีอื่นๆหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ
ถ้าน้ำหนักไม่ขึ้นได้รับนมไม่เพียงพอ รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาใส่สายให้อาหาร
บิดา มารดา วิตกกังวลเกี่ยวกับความพิการแต่กำเนิด
เปิดโอกาสให้บิดามารดาได้ซักถามถึงอาการเจ็บป่วย อาการและอาการแสดงของเด็ก และได้ระบายถึงความวิตกกังวลของตนเอง
ให้ข้อมูลคำแนะนำอธิบาย เกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย และการรักษาวิธีการเพื่อเป็นข้อมูล
ประเมินปฏิกิริยาของบุคคลต่อการสูญเสีย / ข่าวร้าย ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า ยอมรับ
ปลอบโยนให้กำลังใจ ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้บิดามารดาคอยดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด
มีโอกาสขาดสารน้ำสารอาหารจาการดูดกลืนผิดปกติ
↑เหมือนกัน
หลังผ่าตัด
เสี่ยงต่อการหายใจไม่มีประสิทธิภาพหลังได้รับยาระงับความรู้สึก
ประเมินการหายใจเสียงหายใจ การติดตามค่า oxygen satulation
จัดท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน หรือนอนตะแคงหน้าเพื่อให้เสมหะระบายออก
สังเกตอาการบวมของแผลผ่าตัด/โพรงจมูกทั้งสองข้าง
กรณีมีเสมหะ ดูดเสมหะด้วยความนุ่มนวล ระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนแผล
พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
มีโอกาสขาดน้ำและสารอาหารเนื่องจากข้อจำกัดในการดูดกลืนหลังผ่าตัด
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการ
รักษา
วิธีการให้นมหลังผ่าตัด
จัดท่านอนศีรษะสูง
ป้อนนม อาหารเหลวได้ตามแผนการรักษาโดยใช้หยดเข้าทางกระพุ้งแก้ม
หลังผ่าตัดเพดานโหว่ให้อาหารเหลวที่มีพลังงานสูง โดยใช้ syring ต่อ
ท่อยางยาวประมาณ 3 เซนติเมตร หยอดเข้าในกระพุ้งแก้มด้านใน
จับไล่ลมเป็นระยะๆทุก 15-30 มิลลิลิตรเสมอ
ป้อนน้ำตามทุกครั้งและทำความสะอาดช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
งดดูดนมขวดประมาณ 1 เดือน
ชั่งน้ำหนักทารกวันละครั้ง
ไม่สุขสบายเนื่องจากแผลผ่าตัด
ดูแลให้ไดรับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ส่งเสริมความสุขสบายเพื่อลดความปวดโดยการสัมผัส การกอด การปลอบโยน
ประเมิน v/s
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
ประเมินความเจ็บปวดโดยสังเกตพฤติกรรม การร้องการเกร็งกระสับกระส่าย การนอนหลับ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากการสำลัก
ดูแลทำความสะอาดแผลผ่าตัด
ดูแลให้นมอย่างถูกวิธี
เสี่ยงต่อการเกิดแผลแยก/ เลือดออก/ ติดเชื้อ
ไม่ให้ดูดนม 1 เดือน การให้นมโดยใช้ช้อน หลอดหยด syring ต่อยางเหลืองนิ่ม และป้อนนมอย่างระมัดระวัง
สังเกตการติดเชื้อ
งดใส่สายยางดูดเสมหะเข้าช่องปาก
หากร้องไห้ปลอบให้ทำให้สงบโดยเร็ว
สอนผู้ดูแลเกี่ยวกับการผูกยึดข้อศอก ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยล้วงมือเข้าในปาก
ทำความสะอาดแผลเย็บปากแหว่งด้วย NSS ป้ายด้วยยาปฏิชีวนะ
ผูกยึดข้อศอกทั้งสองข้างไม่ให้งอประมาณ 2-6 wks หลังผ่าตัด(คลายออกทุก1-2ชั่วโมง ครั้งละ 10-15 นาที)
ให้น้ำตามหลังให้อาหารเหลวทุกครั้งเพื่อรักษาความสะอาดช่องปาก
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย
ดูแลไม่ให้เด็กติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
บิดามารดา ขาดความรู้ความเข้าใจการดูแลทารกหลังผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
แนะนำการดูแลเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ชี้ให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การฝึกพูด การจัดฟัน การตรวจการได้ยิน
การเสริมสร้างกำลังใจในการดูแลทารก
การดูแลหลังทำPalatoplastyถึง4-5 ปี
ผู้ป่วยควรได้รับการสอนฝึกพูดสม่ำเสมอต่อเนื่อง
อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง - 3 ขวบ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดแก้ไข ภาวะความผิดปกติจมูก
งด ดูด เป่า ประมาณ 3 – 4 wks เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กใช้ลิ้นดัน flap ทำให้ flap ที่ผ่าตัดมีการแยกได้
อายุประมาณ 4-5 ปี ส่งทำ Nasendoscope เพื่อประเมินประสิทธิภาพการพูด ให้ผู้ป่วยนับเลข เช่น 30 ถึง 40 และออกเสียง “ส-เสือ ใส่ เสื้อ สี แสด
Esophageal stenosis/fistula/atresia หลอดอาหารตีบ/รั่ว/ตัน
การวินิจฉัย
Esophagogram
polyhydramnios
อาการและอาการแสดง
อาหารและเมือกเข้าสู่ทางเดินหายใจ
อาจพบอากาศในกระเพาะอาหาร
น้ำลายไหลมาก อาเจียน ไอ สำลัก
ผู้ป่วยอาจตายเนื่องจากขาดอาหาร น้ำ เกลือแร่ และการสำลัก
มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดความผิดปกติของลำไส้เล็ก ไส้ตรง และรูทวาร ร่วมด้วย
การรักษา
ระยะแรก
Gastrostomy
ระยะสอง
Thoracotomy and division of the fistula
with Esophageal anastomosis
Try oral feeding
Off Gastrostomy tube
Esophagogram
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัดแก้ไขหลอดอาหาร
อาจเกิดภาวะปอดอักเสบหายใจลำบากหรือหยุดหายใจเนื่องจากสำลักน้ำลายหรือน้ำย่อยเข้าหลอดลม
On NG tube ต่อ Continuous suction
ให้ออกซิเจนกรณีมีภาวะพร่องออกซิเจน
พลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
จัดท่านอนที่เหมาะสม
อาจได้รับสารน้ำและสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้
ดูแลให้ได้รับสารอาหาร นม น้ำทาง Gastrostomy tube
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
การวินิจฉัยปัญหาและการพยาบาล
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต่อหลอดอาหาร(แผลแยก)
กระตุ้นให้เด็กร้องบ่อยๆเพื่อให้ปอดขยายได้ดี สังเกตภาวะขาดออกซิเจน
ดูแลการทำงานICDให้มีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้รับ Antibioticตามแผนการรักษา
ห้ามใส่สาย NG tube หรือสาย suction ดูดเสมหะในคอและไม่ควรนอนเหยียดคอเพราะจะทำให้แผลแยก
อาจเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดและแผลGastrostomy
ทำแผลอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
สังเกตการติดเชื้อ
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับ Antibioticตามแผนการรักษา
อาจเกิดภาวะปอดแฟบจากการอุดตันของท่อระบายทรวงอก
ตรวจสอบการทำงานของ ICD
ระวังสายหัก พับงอ / นวดคลึงสายบ่อยๆ
จัดท่านอนศีรษะสูง
บันทึก ลักษณะ สี จำนวนของ discharge
Anorectal malformation
ไม่มีรูทวารหนักให้อุจจาระ
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด
พยาธิสรีรภาพ
ทารกมีขี้เทาออกจากท่อปัสสาวะ
อาจให้เกิดการติดเชื้อสู่ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบสืบพันธุ์ได้
ทารกมีอาการท้องผูก /ถ่ายอุจจาระลำบาก/หรือไม่ถ่ายอุจจาระ
ชนิดของความผิดปกติ
Imperforate anal membrane มีเยื่อบางๆปิดกั้นรูทวาร
Anal agenesisรูทวารหนักเปิดผิดที่
Low type
Intermediate type
High type
Anal stenosis รูทวารหนักตีบแคบ
Rectal atresia ลำไส้ตรงตีบตัน
อาการและอาการแสดง
กระสับกระส่าย อืดอัด ไม่สบายเนื้อสบายตัว
แน่นท้อง ท้องอืด
ไม่มีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้
ปวดเบ่งอุจจาระ
ไม่พบรูเปิดทางทวารหนักหรือพบเพียงรอยช่องเปิดของทวารหนักเท่านั้น
ตรวจพบมีกากอาหารค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
ไม่มีการถ่ายขี้เทา ภายใน 24 ชั่วโมงถ้าเลยแล้วไม่มีขี้เทาให้สงสัยไว้ก่อนว่า เกิดจากการที่ลำไส้อุดตัน
การวินิจฉัย
ultrasound
CT scan
X-ray
MRI
การตรวจร่างกาย
การรักษา
ความผิดปกติ low type
การผ่าตัด anal membrane
การผ่าตัดตบแต่งทวารหนัก (anoplasty)เมื่อแผลผ่าตัดติดเรียบร้อยแล้วประมาณ 10 วัน ถ่างขยายทวารหนักต่อ
การถ่างขยายโดยใช้ hegar metal dilators เบอร์ 9-10 mm
ความผิดปกติ intermediate และ high
การผ่าตัดตบแต่งทวาร (anoplasty)
หลังผ่าตัด 2 wks หมอจะเริ่มถ่างขยายรูทวารหนักโดยเลือกเบอร์hegarเบอร์7-10 mmก่อนและเพิ่มขนาดอาทิตละ 1mm จนตามอายุดังนี้
9-12 เดือน เบอร์14
1-3 ปี เบอร์15
4-8 เดือน เบอร์13
4-14 ปี เบอร์16
1-3 เดือน เบอร์12
14 ปีขึ้นไป เบอร์17
การผ่าตัดปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง
ทำ colostomy
การพยาบาล
หลังผ่าตัดเปิด colostomy
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังรอบๆทวารเทียม ถ้ามีการอักเสบ รอยถลอกรายงานแพทย์
แนะนำอาหารย่อยง่ายมีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้มีแก๊ส
ทิ้งอุจจาระถ้ามีปริมาณอุจจาระในถุง 1⁄4-1⁄3 ของถุง
สังเกตและบันทึกอุจจาระ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
เลือกขนาดของปากถุง ให้ครอบปิดกระชับพอดีกับขนาดทวารเทียมไม่แน่นเกินไป
สังเกตภาวะแทรกซ้อนของทวารเทียม เช่น เลือดออก ลำไส้ยื่นออกมา
ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผล
ระยะก่อนและหลังผ่าตัดตกแต่งทวารหนัก (anoplasty)
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดทวารหนัก
หลังผ่าตัด 3-4 วันหลังถอดสายสวนปัสสาวะ ให้แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นกระตุ้นการไหลเวียนและลดการอักเสบ
ดูแลความสะอาดผิวหนังรอบๆทวารหนักด้วยน้ำ
ทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดรูทวารหนัก 8-10 วัน
สังเกตการติดเชื้อ ไข้ ปวด บวม แดง ร้อน
บิดา มารดา ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลแผลผ่าตัดบริเวณทวารหนัก
เสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
บิดามารดาวิตกกังวลเรื่องความผิดปกติ และต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานานหลายขั้นตอน
ปัญหาทีพบบ่อยหลังผ่าตัด
ท้องผูก
การสวนล้างร่วมกับการใช้ยาระบาย
กลั้นอุจจาระไม่ได้
ฝึกฝนการกลั้นอุจจาระ เช่น ฝึกหนีบลูกบอล ออกกำลังกายโดยการวิ่ง
ทวารหนักตีบจากกลไกการหดรั้งตัวของแผล
การฝึกอุปนิสัยการขับถ่าย
การให้ยาเพื่อปรับสภาพอุจจาระ
การถ่างขยาย
ระยะขยายทวารหนัก
สอนการดูแลในการถ่างขยายรูทวารหนัก
แนะนำให้บิดามารดาให้อาหารตามวัยของเด็กที่มีประโยชน์มีกากใยสูง
ให้ความรู้บิดามารดาเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
Omphalocele/ Gastroschisis
ความหมาย
gastroschisis คือ ผนังช่องท้องพัฒนาสมบูรณ์ ไส้เลื่อนสะดือแตกตอนทารกอยู่ในครรภ์ ลำไส้, กระเพาะทะลักออกนอกช่องท้องทางรูด้านข้างสายสะดือไม่มีสิ่งห่อหุ้ม
Omphalocele คือ ผนังหน้าท้องพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ช่องท้องไม่ปิด
การวินิจฉัย
ตรวจultrasound อายุครรภ์ 10 สัปดาห์สามารถวินิจฉัยและแยกทั้งสองภาวะออกได้
สามารถตรวจพบถุง membrane
อาการและอาการแสดง
การที่ไม่มีผนังหน้าท้องนี้ ทำให้ลำไส้ปนเปื้อนความสกปรกจากภายนอก ทำให้มีอาการติดเชื้อ
อุณหภูมิกายต่ำ เด็กตัวเย็น จากน้ำระเหยจากผิวของลำไส้ ทำให้และสูญเสียน้ำ
เด็กอาจตัวเล็ก คลอดก่อนกำหนด
อาจพบความผิดปกติอื่นร่วมด้วยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของลำไส้
หลังคลอดพบผนังหน้าท้องซึ่งมักจะอยู่ขวาต่อสายสะดือเป็นช่องโหว่มีอวัยวะภายในออกมา ซึ่งมักจะเป็นกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
การรักษา
สำหรับ omphalocele ขนาดใหญ่ไม่มากอาจใช้แผ่น silasticปิดทับพันด้วยผ้ายืด elastric wrap ทำให้อวัยวะนอกช่องท้องถูกดันกลับเข้าช่องท้องทีละน้อยสามารถปิดผนังหน้าท้องภายใน 2 wks
การผ่าตัด
การผ่าตัดปิดผนังหน้าท้องตั้งแต่ระยะ primary closure
ดันลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้อง แล้วเย็บปิดผนังหน้าท้อง
โดยและเย็บปิดfascia แล้วเย็บปิดผิวหนังอีกชั้นหนึ่ง
การผ่าตัดปิดหน้าท้องเป็นขั้นตอน staged closure
ในกรณีดันลำไส้กลับเข้าในช่องท้องทำให้ผนังหน้าท้องตึงไม่สามารถเย็บปิด fascia ได้หรือเย็บปิดแล้วทำให้ช่องท้องแน่นมาก หรือดันลำไส้กลับได้ไม่หมด
หมอทำถุงให้ลำไส้อยู่ชั่วคราว แล้วค่อยๆ บีบถุงไล่ลำไส้กลับเข้าช่องท้องโดยเปลี่ยน dressing วันละครั้งด้วย sterile techniqueบีบถุงไล่ลำไส้กลับเข้าช่องท้อง แล้วผูกปิดถุงวันละเปลาะ ซึ่งมักจะใช้เวลา 5-7 วัน แล้วเย็บปิดช่องท้อง
การพยาบาล
ขณะรอการผ่าตัดเย็บปิดผนังหน้าท้อง
ประคองลำไส้ไม่ให้พับตกลงมาข้างๆตัวได้
นอนตะแคงข้างเพื่อลดโอกาสที่เลือดจะมาเลี้ยงลำไส้ไม่สะดวก
keep warm
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและปรับสารน้ำตามการสูญเสียในแต่ละวัน ดูจากปริมาณปัสสาวะที่ออก
ระยะหลังผ่าตัด
ดูแลให้ได้รับสารน้ าสารอาหารตามแผนการรักษา
ติดตามการทำงานของลำไส้ ฟัง bowl sound
ใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 24-48 ชั่วโมง
สังเกตอาการระวังการเกิดAbdominal compartment syndrome :ท้องอืดอย่างรุนแรง ปัสสาวะออกน้อยลง central venous pressure สูงขึ้น ความดันในช่องอกสูงขึ้น
Abdominal compartment syndrome
IAPเพิ่มสูงขึ้น > 20 mmHg ซึ่งท าให้เกิดอวัยวะล้มเหลวตามมา
ACS ส่งผลกระทบกับผู้ปุวยหลายระบบ เช่น หายใจลำบาก, ความดันโลหิตต่ำลง, ไตวาย
การดูแล
ให้ยาระงับปวด
จัดท่าผู้ป่วยนอนราบ ศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา
ใส่สายสวนกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
ได้รับยาขับปัสสาวะ/ยากระตุ้นการทำงานของลำไส้
ฟอกไตเพื่อดึงน้ำออกจากร่างกาย
การใส่สายระบายในช่องท้อง(Percutaneous catheter drainage)
ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือความดันในช่องท้องสูงขึ้นผ่าตัดลดความดันในช่องท้อง :red_flag:
ระยะก่อนผ่าตัด
พยายามปั้นประคองกระจุกลำไส้ให้ตั้ง โดยการใช้ผ้า gauze ม้วนพันประคองไว้ไม่ให้ล้มพับ ถ้าล้มพับอาจทำให้ลำไส้ขาดออกซิเจนลำไส้เน่าได้ ดูแลไม่ให้มีลม/แรงดันในลำไส้/ช่องท้อง โดยใส่ NG tube และ ดูด content
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาซึ่งโดยปกติแล้วเด็กที่เป็น gastroschisis มักจะมีfluid loss ไปแล้วประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว
sterile technique พยายามให้ลำไส้สะอาด โดยการใช้ผ้า gauze ที่ชุบ normal salineเช็ดลำไส้เอาที่ contaminate ออก
ดูแลให้ systemic antibiotics ตามแผนการรักษา
keep warm โดยอาจเป็น radiant warmer หรือไว้ใน incubator
hypospadias/epispadias
รูเปิดท่อปัสสาวะอยู่ต่ำ/บนกว่าปกติ
อัตราการเกิด 1 ใน 300 ในทารกเพศชาย
ความผิดปกติที่รูเปิดท่อปัสสวะไปเปิดที่ด้านบนขององคชาต
ผลกระทบ
องคชาตคดงอเมื่อแข็งตัว ถ้างอมากในอนาคตก็อาจจะร่วมเพศไม่ได้ และมีปัญหาการมีบุตรยาก
องคชาตดูแตกต่างกว่าปกติ ทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ
ปัสสาวะไม่พุ่งไปข้างหน้า แต่ไหลไปตามถุงอัณฑะ
การแบ่งความผิดปกติของรูเปิดท่อปัสสาวะ
Middle or moderate รูเปิดท่อปัสสาวะอยู่กลางขององคชาต
Posterior or proximal or severe รูเปิดท่อปัสสาวะอยู่ที่ใต้องคชาต บริเวณ penoscrotal,scrotal, perineal
Anterior or distal or mild รูเปิดท่อปัสสาวะบริเวณส่วนปลายขององคชาตมีรูเปิดต่ำกว่าปกติเพียงเล็กน้อย
การรักษา
ถ้ารูปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าปกตินิดเดียวไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
การผ่าตัด
ผ่าตัดในช่วงอายุ 6-18 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 2 ขวบ
มี 2 แบบ
ผ่าตัดแบบขั้นตอนเดียว
เป็นการผ่าตัดแก้ไขให้องคชาตยืดตรง พร้อมกับการตกแต่งท่อปัสสาวะ
ผ่าตัดแบบ 2 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 Orthoplastyผ่าตัดแก้ไขภาวะองคชาต โค้งงอโดยตัดเลาะเนื้อเยื่อที่ดึงรั้ง
ขั้นที่ 2 Urethroplastyหลังผ่าตัด orthoplasty แล้ว 6 เดือน เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดมาแล้ว อ่อนนุ่ม จึงกลับมาทำผ่าตัดในขั้นตอนของการตกแต่ง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
มีรูตรงบริเวณรอยต่อระหว่างรูเปิดท่อปัสสาวะเก่ากับท่อปัสสาวะที่สร้างใหม่
องคชาตยังโค้งงอ แก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด
เกิดการตีบตันของรูเปิดท่อปัสสาวะ/ท่อปัสสาวะบริเวณแผลเย็บที่สร้างท่อปัสสาวะใหม่
เกิดการติดเชื้อ
เลือดออก
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
ประเมินความวิตกกังวล
ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ผลของการผ่าตัด
การปวดหลังผ่าตัด การได้ รับยาระงับความรู้สึก
ความรู้สึกเด็กที่ต้องพบกับสิ่ง แปลกใหม่ หลังผ่าตัด
อธิบายขั้นตอนการเตรียมการก่อนผ่าตัด
เช่น การงดน้ำงดอาหาร เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจและให้ความสำคัญเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจถึงชีวิตได้
หลังผ่าตัด
จัดให้เด็กนอนในท่าสบาย ยึดสายที่ต่อจากuretraให้อยู่บริเวณหน้าท้องหรือต้นขา ไม่ให้ถูกดึงรั้งหักพับและถุงปัสสาวะอยู่ต่ำกว่ากระเพาะ ปัสสาวะเป็นระบบปิดเสมอ
ประเมินความปวดของเด็กให้ยาแก้ปวด เช่น pethidine และ paracetamol
เก็บปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อตามแผนการ
ใช้เทคนิคปลอดเชื้อในการทำแผลและการ เทปัสสาวะออกจากถุงปัสสาวะ
ประเมินบริเวณสาย cystostomy ไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
ให้บิดามารดา/ผู้ปกครองอยู่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อธิบายให้เข้าใจถึงสภาพเด็กที่มีแผลผ่าตัด
คำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ดูแลแผลผ่าตัดไม่ให้เปียก ทำความสะอาด ร่างกายเด็กด้วยการเช็ดตัวห้ามอาบน้ำในอ่าง สวมเสื้อผ้าหลวมๆ
สาธิตให้ผู้ปกครองทราบวิธีการดูแลความสะอาดองคชาตที่คาสายสวนปัสสาวะไว้โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
ห้ามเด็กเล่นทราย ขี่จักรยานหรือนั่งคร่อมหรือกิจกรรมที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อและการเลื่อนหลุดของสายท่อปัสสาวะได้
ทำความสะอาดให้เด็กภายหลังการถ่ายอุจจาระ ทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ผู้ปกครองต้องกระตุ้นให้เด็ก ดื่มน้ำมากๆทุกวัน
อธิบายอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ แผลแดงอักเสบ ปัสสาวะขุ่นมีตะกอนและกลิ่นเหม็นควรมาพบแพทย์ทันที
ภายหลังการเอาสายสวนปัสสาวะออก ให้สังเกต ปริมาณ สี ปัสสาวะ ลักษณะการถ่ายปัสสาวะเป็นลำพุ่งดีหรือไม่
อธิบายให้เด็ก บิดามารดา/ผู้ปกครองเข้าใจ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น
ลักษณะขององคชาตยังโค้งงอหรือไม่ มีปัสสาวะออกตรงบริเวณรอยของท่อปัสสาวะที่สร้างใหม่หรือไม่
อธิบายให้เด็ก ผู้ปกครองเข้าใจ ถึงความสำคัญในการมาพบแพทย์ตามนัดหรือมาก่อน นัดหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น
นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001097