Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด, นางสาว อุไรวรรณ…
การดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
เฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
อาจมีไข้ หนาวสั่น เกิดขึ้นได้หลังจากได้รับยาเฉียบพลันถึง 6 ชั่วโมง และอาจหายได้ ภายใน 24 ชั่วโมง
อาการคลื่นไส้อาเจียน ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดไม่เฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นภายใน 1-6 ชั่วโมง หลังจากได้รับยา และอาจหายได้ภายใน 24 ชั่วโมง หรืออาจต่อเนื่องไปถึง 5 วัน ในชนิดไม่เฉียบพลัน
รับประทานยาป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนควรทานอาหารโดยแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อ และรับประทานช้าๆ จะช่วยให้ย่อยง่าย และช่วยให้ทานได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ไม่อยากอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีกลิ่นแรง เพราะกลิ่นอาหารอาจทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
แผลในปาก ควรแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และบ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ รับประทานอาหารอ่อนๆ
อมน้ำแข็งบดจะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
อาจมีอาการอ่อนเพลีย พบได้นานถึงสัปดาห์จนถึงเดือน หลังได้รับยาเคมีบำบัด ควรพักผ่อนให้มากๆ อย่างเพียงพอจะสามารถช่วยให้อาการอ่อนเพลียลดลงได้
ผมร่วง หลังจากได้รัยยา 2-3 สัปดาห์แรก
มีผื่น หรืออาการแพ้
ปวดมากบริเวณที่ฉีด
หายใจลำบาก
ท้องเดิน หรือท้องผูกอย่างรุนแรง
ปัสสาวะ หรืออุจจาระมีเลือดปน
อาการจากการกดไขกระดูก ซึ่งเกิดจากค่าของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือดต่ำสุดจากค่าปกติ เรียกว่า Nadir ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่ผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่าย Nadir จะเกิดขึ้นภายใน 8-14 วัน และจะคืนสู่ระดับปกติใน 3-4 สัปดาห์
หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชน เนื่องจากมีโอกาสติดเชื้อสูง ควรรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกเสร็จใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ดื่มน้ำ-สะอาด เช่น น้ำต้มสุก ถ้ามีอาการบ่งบอกว่ามีการกดไขกระดูก เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ให้กลับมาพบแพทย์
การเตรียมตัวก่อนให้ยาและ
การปฏิบัติตัวขณะรับยาเคมีบำบัด
หากมีฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนเริ่มรับยาเคมี บำบัด แต่ถ้าต้องการรักษาฟันผุ หรือเหงือกอักเสบระหว่างรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ท่านจะต้องเจาะเลือดก่อนทำฟันเพื่อดูจำนวนเกร็ดเลือด
4.รับการตรวจเลือดเพื่อดูความพร้อมของร่างกายก่อนให้ยา
พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สงบ
รับประทานอาหารก่อนเริ่มรับยาเคมีบำบัดประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ควรปัสสาวะให้ เรียบร้อยก่อนเริ่มรับยา
1.บำรุงร่างกายให้แข็งแรงโดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก และผลไม้ ควรรับประทานอาหารที่รสไม่จัด ย่อยง่าย และดื่มน้ำมาก ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 2 - 3 ลิตร
นอนในท่าที่สบายที่สุด ไม่ควรเคลื่อนไหว หรือยกแขนข้างที่รับยามากเกินไป (ในกรณีที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ) ไม่เปิด ปิด หรือปรับหยดของสารน้ำเอง หากสารน้ำหยดเร็ว ปกติ หรือมีอาการปวดบวมบริเวณที่ได้รับสารน้ำควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
บ้วนปากบ่อย ๆ ก่อน และหลังอาหารด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำเกลืออ่อน ๆ เพื่อช่วยให้ปากสะอาด และเพิ่มความอยากอาหาร
ควรแจ้งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดให้แพทย์ทราบเพื่อจะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อไป
คำแนะนำเรื่องโภชนาการ
ผูัปกครองควรเตรียมอาหาร และของว่างมาด้วยหากการให้ยาเคมีต้องใช้ระยะเวลาที่นาน
ควรให้รับประทานอาหารว่าง หรืออาหารเบาๆ ก่อนรับเคมีบำบัดทุกครั้ง
พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะสามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้เป็นอย่างดี
หากรู้สึกไม่อยากอาหารหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดก็ไม่ควรฝืนรับประทานซึ่งแก้ไข ได้ด้วยการรับประทานครั้งละน้อย ๆ และบ่อยๆ หรือเลือกรับประทานอาหารที่ชอบ ในระหว่างการรักษา
รับประทานอาหารตามปกติหากสามารถทำได้ ที่สำคัญคือไม่ควรฝืนรับประทาน อาหารที่ไม่ชอบ หรือเมื่อยังรู้สึกอิ่มอยู่
ผลข้างเคียงจากการรักษาส่วนใหญ่เป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น หากอาการไม่หายไป จะต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบเพื่อดำเนินการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
ยาเคมีบำบัดคืออะไร
ยาเคมีบำบัด คือ การนำสารเคมี หรือยามาใช้ในการรักษามะเร็ง ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโต หรือหยุดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
กลไกที่สำคัญ
ยับยั้งการสร้างโปรตีน และยับยั้งการแบ่งตัวในวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็ง ในปัจจุบันยาเคมีบำบัดถูกใช้ในการรักษาหลักของโรคมะเร็งหลายชนิด ในขณะเดียวกันยังถูกใช้เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด, การฉายรังสี และรวมไปถึงการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
นางสาว อุไรวรรณ เต็มคงแก้ว 612601090