Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.4 ความผิดปกติของการหายใจ - Coggle Diagram
5.4 ความผิดปกติของการหายใจ
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของระบบทางเดินหายใจ
ช่วงการตั้งครรภ์มดลูกจะดันกระบังลมให้เลื่อนสูงขึ้นประมาณ 4 ซม.ทำให้ทรวงอกมีการขยายทางด้านข้างเส้นผ่านศูนกลางทรวงอกเพิ่ม 2ซม. และเส้นรอบวงเพิ่ม 6 ซม.เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดา่ห์
การหายใจจะเปลี่ยนจากการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นกล้ามเนื้อช่องอก ทำให้รูสึกหายใจลำบาก มีการเพิ่มของปริมณออกซิเจนที่ต้องใช้ ร้อยละ 20 ไปที่มดลูกและทารกในครรภ์ร้อยละ 50 ไปที่หัวใจและไตร้อยละ 30 กล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจร้อยละ 18 และส่วนที่เหลือไปยังเนื้เยื่อเต้านม
วัณโรคปอดในหญิงตั้งครรภ์
ประเภท
presumptive TB หมายถึง ผู้ที่มีอาการและอาการแสดงเข้าได้กับวัณโรค เช่น ไอทุกวันเกิน 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด น้ำหนักลดผิดปกติ มีไข้ เหงื่อออกมาผิดปกติตอนกลางคืน เป็นต้น
latent TB infection หมายถึง ผู้ที่ได้รับเชื้อหรือติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับเชื้อ สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ
TB disease หรือ Active TB หมายถึง ผู้ที่ได้รับเชื้อหรือติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ภูมิคุ้มกันไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านระบบทางเดินหายใจจากการพูดคุย จาม ของเหลวในร่างกายหรือเนื้อเยื่อในตำแหน่งที่เป็นโรค
อาการและอาการแสดง
ในระยะแรกจะไอแห้งๆ ต่อมามีเสมหะ ลักษณะเป็นมูกปนหนอง จะไอมากขึ้นเวลาเข้านอนหรือตื่นนอนตอนเช้า อาการไอมักเรื้อรังนานกว่า 3 สัปดาห์ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวค่อยๆลด
ซีด ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ตอนบ่าย เหงื่อออกตอนกลางคืนอาจมีอาการแน่นหน้าอกโดยไม่มีอาการไอ
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
มารดา
แท้งเอง
คลอดกำหนด
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ทารก
เสียชีวิตในครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
ทารกน้ำหนักตัวน้อย
ภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิด
ทารกติดเช้อวัณโรคแตกำเนิด
การวินิจฉัย
ซักประวัติอาการและอาการแสดง
การตรวจ Tuberculin skin test เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัย โดยการฉีดสารสกัดโปรตีนที่ได้จากวัณโรค PPD ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหลังจากนั้น 48 -72 ชั่วโมง จึงอ่านผลลักษณะ ผิวหนังนูนคล้ายลมพิษบวมแดงหรือเป็นตุ่มเล็กๆ วิธีนี้ไม่แนะนำใช้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร
x-ray ปอด
การส่งตรวจเสมหะ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กและวิตามินสูง
งดสารเสพติด
จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้อากาศถ่านเทสะดวก
สวมผ้าปิดปากป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัด
ระยะคลอด
ดูแลให้อยู่ในห้องแยก พักผ่อนให้เพียงพอ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและยาตามแผนการรักษา
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์และความก้าวหน้าของการคลอด
ระยะหลังคลอด
แยกทารกออกจากมารดา จนกระทั้งการเพาะเชื้อเสมหะของมารดาได้ผลลบ
กรณีมารดาและทารกไม่สามารถแยกจากกันได้ แนะนำให้มารดาไม่ไอ จาม หรือหายใจรดทารก
ทารกแรกเกิดควรได้รับการตรวจ Tuberculin skin test พร้อมให้ยา INH และ rifampicin ทันทีหลังคลอด
ทารกได้รับการฉีดวัคซีน BCG
หอบหืดในหญิงตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการไอเรื้อรัง มากกว่า 8 สัปดาห์ หายใจลำบากหรือแน่นหน้าอก
หายใจมีเสียง wheezing การหายใจลำบาก ใช้กล้ามเนื้อที่คอและไหล่ในการช่วยหายใจ
หายใจเร็วมากกว่า 35 ครั้ง/นาที ชีพจรเร็วมากกว่า 120 ครั้ง/นาที เหงื่อออกมาก
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
มารดา
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ตกเลือด
มารดาเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจับหืด
ทารก
คลอดก่อนกำหนด
คลอดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ตายปริกำเนิด
พิการแต่กำเนิด
พร่องออกซิเจน
ผลการตั้งครรภ์ต่อโรค
ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ จะพบว่ามีปริมาตรของอากาศที่เหลือค้างในปอดจากการหายใจออกตามปกติทำให้นื้อที่ปอดบางส่วนซึ่งจะทำให้อาการของโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น
การวินิจฉัย
การซักประวัติอาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย จะได้ยินเสียง wheezing หรือ rhonchi ที่ปอดทั้งสองข้าง
ตรวจเสมหะย้อมเชื้อ ตรวจ x-ray ทรวงอก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
รับประทานนอาหารที่มีโปรตีนสูง
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ที่ทำให้มีอาการหอบหืด อย่าอยู่ที่อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป
มาตรวจครรภ์ทุกครั้ง
ประเมินความแข็งแรงของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ตรวจวัดความดันโลหิตสูงและตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
รับประทานยาตามแผนการรักษา
ติดตามการนับและบันทึกลูกดิ้น
ระยะคลอด
จัดท่านอนศีรษะสูงหรือนอนฟุบบโต๊ะคร่อมเตียงและให้ออกซิเจนทันทีเมื่อมีอาการหอบ
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ประเมินลักษณะการหายใจ ชีพจร สีเล็บ เยื่อบุตาและผิวหนัง
ระยะหลังคลอด
ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ดุแุลให้มารดาได้รับยารักษาโรคหอบหืดอย่างต่อเนื่อง
ดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดปกติ เน้นการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
โรคติดเชื้อโคโรน่า (Covid-19)
เนื่องจากเชื้อเป็นไวรัสชนิดใหม่ยังไม่มีข้อมูลว่าหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อ โควิด 19 มากกว่าทั่วไปหรือไม่ เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคเท่าๆกับเพศชาย
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดปกติ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงและในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
รักษาระยะห่างในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสกริเวณดวงตา ปากและจมูก
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
แยกภาชนะรับประทานอาหารและงดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด
ในขณะที่ไม่ได้สวมผาปิดปาก หากมีอาการไอหรือจาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัด
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
แยกตนเองออกจากครอบครัวและสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น
กรณีครบกำหนดฝากครรภ์ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ว่ากำลังอยู่ในระยะเผ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์
กรณีเจ็บครรภ์คลอดต้องไปโรงพยาบาลทันทีและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่ากำลังอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
การดูแลทารกแรกเกิดในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อหรือติดเชื้อ Covid 19
ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนม
ต้องมีการแยกตัวออกจากทารกอื่นและต้องสังเกตอาการ 14 วัน
อธิบายถึงความเสี่ยง ความจำเป็นและประโยชน์ของการแยกมารดา ลูก ออกจากกันและการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาให้มารดาเข้าจและเป็นผู้ตัดสินใจเอง
ให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำนม
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดา
กรณีมารดาเป็นผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อหรือติดเชื้อแตือาการไม่มาก
สามารถให้นมจากเต้าได้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของมารดาและครอบครัว
ต้องปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
กรณีมารดาที่ติดเชื้อ Covid 19 มีอาการรุนแรง
หากสามารถบีบน้ำนมได้ ให้ใช้วิธีบีบน้ำนมและให้ผู้ช่วยเป็นผู้ป้อนนม
ข้อปฏิบัติในการบีบน้ำนมและการป้อนนม
อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วนน้ำและสบู่
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
งดการสัมผัสบริเวณใบหน้าของตนเองและทารก
หาผู้ช่วยเหลือหรือญาติที่สุขภาพแข็งแรง ที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตามวิธีการ ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใ้ในการให้นมให้สะอาด ด้วยน้ำยาล้างขวดนมและนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อหลังเสร็จกิจกรรม