Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.5 ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ - Coggle Diagram
5.5 ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
ไตรมาสแรกจะมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยจะดีขึ้นเมื่อมดลูกพ้นช่องเชิงกราน ในไตรมาสที่ 3 ส่วนนำของทารรกลงต่ำจะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการคั่งของเลือด เกิดการบวมของท่อปัสสาวะทำให้อักเสบได้ง่ายหรือเกิดการติดเชื้อของระบบปัสสาวะ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าระดับการทำงานของไตลดลง creatinine อยู่ที่ 0.5 mg/dl BUN อยู่ที่ 8-10 mg/dl และค่าcreatinine clearance อยู่ที่ 150-200 mL/min ตรวจพบไตและท่อไตมีขนาดใหญ่จากอัลตราซาวด์
การเปลี่ยนแปลงการทำงาน
ปริมาณเลือดที่ออกไปเลี้ยงไตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกและสูงสุดช่วงกลางของการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 75 อัตราการกรองของพลาสมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เป็นผลจากการที่ปริมาณเลือดที่เพิ่มมากขึ้นและเลือดที่ไปไตเพิ่มขึ้น ทำให้มีน้ำตาลถูกขับออกมาในปัสสาวะ ได้ปริมาณเล็กน้อย ผลตรวจ trace จาก dipstick สารอื่นๆ เช่น amino acid, vitaminหรือ folic acid
มีการเพิ่มปริมาณขับออกเช่นเดียวกัน การขจัด uric acid,urea และ creatinine เพิ่มขึ้น ทำให้creatinie ในเลือดลดลง โดยที่creatinine clearance เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ปริมาณโปรตีนจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก พบได้ 80+60 mg/day ในไตรมาสแรก และ 115+69 mg/day ในไตรมาสที่สองและสาม
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคระบบทางเดินปัสสาวะ
ไต
ตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกไตจะเริ่มขยายขนาดโดยด้นขวาโตมากกว่าข้างซ้าย เพราะถูกกดจากมดลูกที่เอียงและหมุนมาทางขวามากกว่าและขนาดของไตจะโตขึ้น ท่อไตและกรวยไตจะขยายเต็มที่ช่วงกลางของไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้ิอของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย เมื่อมีการคั่งของปัสสาวะทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสและสารอาหารอื่นในปัสสาวะเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบ อาจพบว่าหญิงตั้งครรภ์เกิดโรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลันได้ง่าย
การไหลเวียนเลือดในไต
จะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ประมาณ 25-50% และจะลดลงสู่ระดับปกติในไตรมาสที่ 3 อัตราการกรองของไตจะเพิ่มขึ้น กลูดคสมนท่อไตจะถูกกรองเพิ่มขึ้นแต่การดูดกลับเท่าเดิมจึงทำให้พบกลูโคสปนออกมาในปัสสาวะและจากการคั่งของอัลบูมินทำให้๔ุกกรองออกมาทาปัสสาวะน้อย
ไตรมาสท้ายของการตั้งครรภ์ มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น การอยู่ในท่ายืนหรือนอนหงายจะทำให้การไหลเวียนเลือดในไตและอัตราการกรองการขับน้ำลดลงเนื่องจากมดลูกกดเส้นเลือดบริเวณสะโพก ทำให้การไหลเวียนบริเวณขาและส่วนล่างไม่ดี
กระเพาะปัสสาวะ
ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความตึงตัวน้อยลงเกิดปัสสาวะค้างได้
การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ (Urinary trac infections:UTI)
สาเหตุ
การเกดิจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ลำไส้หรือบริเวณผิวหนังรอบผิวทวารหนัก เข้าสู่ท่อปัสสาวะจากการเช็ดทำความสะอาดภายหลังถ่ายปัสสาวะ
การมีเพศสัมพันธุ์ ทำเกิดการช้ำเล็กน้อยบริเวณท่อปัสสาวะ ทำให้แบคทีเรียจากท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ภายหลัง 24-48 ชั่วโมง
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการคลายตัวของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
การเชื้อแบคทีรียในปัสสาวะ ซึ่งต้องมีปริมาณอย่างน้อย 100,000 แบคทีเรียต่อมิลลิลิตรในปัสสาวะใหม่
ภาวะแทรกซ้อน
Premature labor
Abortion
Septic shock
Low birth weight
Chronic pyelonephritis
Anemia
Hypertension
รกลอกตัวก่อนกำหนด
โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะที่มีอาการแสดง
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ได้ มักไม่มีอาการและอาการแสดงตามระบบทั่วไป
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะไม่ได้ อาจปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ปวดหัวหน่าวร่วมด้วย ตรวจพบ WBC และ RBC ในปัสสาววะจำนวนมาก
แนวทางการรักษา
ดูแลสุขวิทยา ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังขับถ่าย เช็ดจากหน้าไปหลัง
ดื่มน้ำ 2,000-3,000 cc/day เพื่อไม่ให้ปัสสาวะคั่งค้าง
รับประทานอาหารที่มีความสมดุลระหว่างโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ธาตุเหล็ก หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ
รับประทานวิตามินซีทุกวัน
รับประทานาให้ครบ
ส่งตรวจ Urine culture
สังเกตอาการดิ้นของทารกและการหดตัวของมดลูก
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
เชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุด คือ Escherichia Coli
อาการและอากรแสดง
ไข้สูง หนาวสั่น ปวดบั้นเอว ปัสสาวะขุ่น ปวดตำแหน่ง vertebral angle คลื่นไส้ อาเจียน พบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 100,000 โคโลนี/ลูกบาศก์เซนติเมตร ในปัสสาวะ
แนวทางการรักษา
คัดกรองกรวยไตอักเสบ โดยตรวจคัดกรองในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกและตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์
รับไว้ในโรงพยาบาล สวนปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ
รักษากรวยไตอักเสบ โดยให้ยาปฏิชีวนะ
ดูแลประคับประคองเพื่อให้ตั้งครรภ์ครบกำหนด
แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
แนะนำให้นอนบนเตียงในท่าตะแคงซ้าย
ตรวจ V/S ของมารดาและ FHS ของทารก
ถ้ารักษา 12 ชั่วโมงแล้วไม่ได้ผลให้ U/S หรือ X-ray เพื่อดูความผิดปกติ
ให้รับยาบรรเทาปวด
หลังคลอด งดให้นมมารดาในรายที่ให้ Furosemideแล้วติดตามผลตรวจปัสสาวะหลังคลอด 12 สัปดาห์
ติดตามการติดเชื้อของทารกในครรภ์ โดยแพทย์มักให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันเชื้อสู่ทารก
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
การวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine analysis)และการทำการเพาะเชื้อ (Urine culture) เก็บปัสสาวะแบบ cleancath specimen ส่วน mid-stream และนำน้ำปัสสาวะส่วนกลางส่งตรวจในห้องปฏิบัติการทันทีหรือภายใน 2 ชั่วโมง แนะนำให้มีการคัดกรองในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อประเมินความเสี่ยง