Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ - Coggle…
นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ
ชื่อเจ้าของผลงานวิจัย
วรินทร จันทรมณี
อัจริยา วัชราวิวัฒน์
นิภาภัทร จันทบูรณ์
P: People
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชน บึงขุนทะเลและชุมชนมะขามเตี้ย
จำนวน 32 คน
C: Concept or Theory
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุไทยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปีจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยเพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนคน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 การที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพกาย ซึ่งเกิดจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย และโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเป็นสาเหตุนำไปสู่ “การหกล้ม” นอกจากนั้นสาเหตุของการลื่นหกล้มในผู้สูงอายุยังพบว่าเกิด จากปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้าน และภายนอกบ้าน เช่น พื้นลื่น พื้นต่างระดับ แสงสว่างไม่เพียงพอ การจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ การใช้เครื่องเรือนในบ้านไม่เหมาะสม และการสวมรองเท้าไม่เหมาะสมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการลื่นหกล้ม
การป้องกันอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ความพิการหรือ เสียชีวิต สาเหตุประการหนึ่งของการหกล้มในผู้สูงอายุก็คือการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย สวมใส่ได้พอดี พื้นรองเท้าเกาะพื้นได้ดีไม่ลื่น นอกจากนั้นรองเท้าที่ดีควรดูแลสุขภาพเท้าด้วย (Chauwanichrisi, 2009) ปัจจุบันในท้องตลาดมีผลิตรองเท้าสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุอยู่มากมาย หลายรูปแบบแต่ราคาค่อนข้างแพงไปสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยคณะผู้จัดทำนวัตกรรมจึงสนใจทำรองเท้าที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการจัดทำ โดยประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการพยาบาลได้แก่ จุกยางจากขวดแอลกอฮอล์และขวดน้ำผสมยาฉีดซึ่งใช้แล้วทิ้ง มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำนวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้ได้ รองเท้าที่สวมใส่สบายขณะดำเนินชีวิตประจำวันภายในบ้านที่สามารถป้องกันการลื่นล้ม ช่วยนวดกดจุดฝ่าเท้า เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณฝ่าเท้า ช่วยลดการปวดเมื่อยเท้า โดยประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้ในการจัดทำ ทำให้มีราคาประหยัดและเหมาะสมกับการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ
C: Compare
ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ
O: Output ผลลัพธ์ของการวิจัย
ความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.67) มากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3.50
ร้อยละ 100 ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุไม่เกิดการลื่นล้มเมื่อใช้นวัตกรรมรองเท้าจุกยางกันลื่นและ นวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตประจำวันที่บ้าน
ร้อยละ 81.25 ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าการใช้นวัตกรรมรองเท้าจุกยางนวดเท้ากัน ลื่นสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยผ่อนคลายและนวดเท้าโดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุผู้ใช้ นวัตกรรมว่า รองเท้าไม่หนักกันลื่นได้ดีเหมาะสำหรับการใส่ในการดำเนินชีวิตประจำวันในบ้าน สีสันเหมาะสมจะได้ไม่สกปรก แต่ควรมีการเพิ่มขนาดและสีสันที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งผู้จัดทำนวัตกรรมได้นำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงทั้งในเรื่องสีสันและรูปแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป
M: Measurement เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรมรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าเป็น แบบประเมินผลจากการใช้งาน
การประเมินอุบัติการณ์การลื่นล้มในการใช้รองเท้า โดยใช้แบบสอบถามการลื่นล้ม เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
การประเมินความรู้สึกผ่อนคลายในการใช้รองเท้าโดยใช้แบบสอบถามความรู้สึก ผ่อนคลายในการใช้รองเท้า เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
การวิเคราะห์คุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์
14 คะแนน แปลผล ระดับปานกลาง
ง่ายต่อการทำกิจกรรม 4 คะแนน
ค่าใช้จ่าย 4 คะแนน
คุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์ 1 คะแนน
I: Intervention
การศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการพัฒนานวัตกรรม
2.2. หลักการทางฟิสิกส์ที่ใช้พัฒนานวัตกรรมรองเท้าป้องกันการลื่นล้ม
2.3. หลักการนวดเท้าเพื่อสุขภาพและลักษณะของจุดต่างๆบนฝ่าเท้า
2.4. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการจัดทำรองเท้า โดยประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้ ทางการพยาบาลให้เกิดประโยชน์
2.1. ผู้สูงอายุกับการพลัดตกหกล้มการป้องกันการลื่นล้มในผู้สูงอายุ
การสร้างนวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ
3.2.จัดทำนวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางนวดเท้ากันลื่นสำหรับผู้สูงอายุ
3.3. สร้างแบบประเมินนวัตกรรม
3.1.จัดหาอุปกรณ์
การประเมินคุณภาพนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุง
การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการ