Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
คุณภาพ(Quality)
หมายถึงลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ดีเลิศตรงตามความต้อง
การของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการหรือทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ
คุณภาพบริการพยาบาล
หมายถึงการบริการด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีคุณภาพสนองความคาดหวังของผู้ใช้บริการ
การควบคุมคุมภาพ(Quality Control :QC)
หมายถึงกิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญได้แก่
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)
Dr. Edward Deming ได้นำแนวคิดการวางแผนคุณภาพมาใช้โดยมีกระบวนการคือการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) และการปฏิบัติจริง(Act) หรือที่เรียกย่อว่า PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
ใช้กระบวนการ ๓ ขั้นตอนในการพัฒนาคุณภาพ คือ
๑) การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ การคำนึงถึงลูกค้าภายนอกและภายในองค์การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสอนงความต้องการของลูกค้า
๒) การควบคุมคุณภาพ (Quality control) มีการประเมินสภาพปัจจุบัน
การดำเนินงานขององค์การ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ต้องการและปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน
๓) การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement)
การปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพด้านคุณภาพสูงกว่าแต่ก่อน
การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby)
หลักการจัดการคุณภาพที่สมบูรณ์ ๕ ประการ (five absolutes of quality management) คือ
๑) คุณภาพ หมายถึง การทำตามมาตรฐาน ไม่ใช่ความโก้เก๋
๒)ไม่มีปัญหาอะไรสำคัญเท่ากับปัญหาคุณภาพ
๓) ทำได้ถูกกว่าเสมอ ถ้าหากทำให้ถูกตั้งแต่แรก
๔)ตัวชี้วัดผลงาน คือ ต้นทุนคุณภาพ
๕) มาตรฐานของผลงาน คือ ของเสียเป็นศูนย์
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI)
มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ
๑)เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสำคัญ
๒) เป็นการปรับปรุงวิธีการทำงานจากงานประจำและสุดท้าย
๓) เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/การคิดสร้างสรรค์และการ
มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance)
และมาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
การประกันคุณภาพการพยาบาล (Nursing Quality assurance)
คือลักษณะต่างๆของวิชาชีพการพยาบาลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเกิดการปฏิบัติการดูแลผู้
ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างดีเลิศ
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ
1.เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
2.เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการพยาบาลให้ดีขึ้น
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาล
แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม
๑.๑ พัฒนามาตรฐานโดยกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติขึ้นในหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเรียกว่า nursing procedure
เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลที่เหมือนกัน
๑.๒ มีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล โดยผู้บริหารการพยาบาลนิเทศงาน เช่น การให้ยาผิด
๑.๓ รายงานผลการตรวจสอบ
เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาและมีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๙๒
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาลและการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็
นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพ
โดยการประเมินคุณภาพและนำผลมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การเป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบมากกว่าแก้จุดเล็ก ๆ
รูปแบบที่ ๑. การประกันคุณภาพของโรแลนด์
๑.๑ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการพยาบาลที่ชัดเจนขององค์กร
๑.๒ การออกแบบกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล
๑.๓ การเตรียมข้อมูลภายในหน่วยงานเพื่อแสดงคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
๑.๔ การเปรียบเทียบสารสนเทศที่ได้กับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง
งานที่ยังไม่มีคุณภาพ
๑.๕ นำแนวคิดที่ได้หรือข้อมูลจากการประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น
๑.๖ ในกรณีที่เกณฑ์ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จะต้องมีการปรับให้สามารถวัดและ
ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และเริ่มต้นวงจรใหม่
รูปแบบที่ ๒. การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก (๑๙๙๕)
มี ๔ ขั้นตอนดังนี้ ๒.๑ สร้างเครื่องบ่งชี้คุณภาพ ๒.๒ สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ ๒.๓ ประเมินค่าการวัดคุณภาพ ๒.๔ ปรับปรุงคุณภาพ
รูปแบบที่ ๓ การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
๓.๑ สร้างความรู้สึกต่อคุณภาพ
๓.๒ กำหนดมาตรฐานและเกณฑ์
๓.๓ สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ
๓.๔ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
๓.๕ ค้นหาแนวทางปรับปรุง
๓.๖ เลือกวิธีการปรับปรุง
๓.๗ ปฏิบัติ
รูปแบบที่ ๔ การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การบริการสุขภาพ(The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization : JCAHO)
โดยมีกิจกรรม ๑๐ ขั้นตอน
๔.๑ มอบหมายความรับผิดชอบ (Assign responsibility)
๔.๒ เขียนขอบเขตของการพยาบาลและบริการที่ให้ (Delineate the scope of care and service)
๔.๓ ระบุจุดสำคัญของการพยาบาลและบริการที่ให้ (Identify indicators relates to the important aspects of care)
๔.๔ ระบุตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดจุดสำคัญของการพยาบาล โดยสามารถวัดเชิงปริมาณ เพื่อให้ติดตามและประเมินคุณภาพของการพยาบาลได้
๔.๕ กำหนดระดับของการรับรอง (Establish thresholds for evaluation )
๔.๖ กำหนดคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดระเบียบข้อมูล (Collect and organize date )
๔.๗ การประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยการวิเคราะห์ข้อมูล และแปลข้อมูล (Evaluate case)
๔.๘ ปฏิบัติการทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการประเมิน (Take action to identified problems)
๔.๙ ประเมินผลการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาและทำการบันทึก (Assess the action and document improvement)
๔.๑๐ รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพขององค์กร(Communication relevant information to the organization wide QA committee)
ระบบการประกันคุณภาพ
๑. การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance)
หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาลโดยมีการกำหนดของฝ่ายบริการการพยาบาล เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการบริการพยาบาลได้บริการดำเนินการตามหลักวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ กระบวนการประกันคุณภาพภายในประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ การควบคุมคุณภาพ
การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ
๒.การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance)
หมายถึง การดำเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายในรวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมดโดยหน่ว
ยงานภายนอกเพื่อประกันว่าโรงพยาบาลนั้นมีขั้นตอนดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพและวิธีการบริหารจัดการนั้นสามา
รถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
ระบบการบริหารคุณภาพ
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
เพื่อประกันการดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลนั้นและวิธีการบริหารจัดการนั้นสามารถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
Hospital Accreditation (HA) กับการพัฒนาคุณภาพงานบริการพยาบาล
พยาบาลจัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลดังนั้นถ้าพยาบาลมีทัศนคติที่ดี และมีความเข้าใจที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนาคุณภาพจะสามารถทำให้โรงพยาบาลมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพเป็นอย่างมาก
ประโยชน์จากการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation)
ความเสี่ยงลดลงทำงานง่ายขึ้น บรรยากาศการทำงานดีขึ้น ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้นเป็นโอกาสที่ขายความฝันส่วนตัว ภูมิใจที่ทำงานในหน่วยงานที่มีระบบดี
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย (Hospital Network Quality Audit: HNQA)
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย(Hospital Network Quality Audit: HNQA) ในทางปฏิบัติ
เป็นรูปแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพเป็นเครือข่าย มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้าโดยตรงทุกคนที่มีส่วนร่วมมีความสุข ประหยัดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นโดย กลุ่มผู้อำนวยการโรงพยาบาล ๖ แห่ง ร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะพัฒนาคุณภาพให้เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ได้คุณภาพบริการที่ส่งมอบให้แก่ประชาชนในมาตรฐานเดียวกัน
ระบบมาตรฐาน(ISO)
ISO ย่อมาจาก (International Organization for Standardization) คือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
และอุตสาหกรรม
ระบบคุณภาพ
และการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือที่รู้จักกัน มีดังนี้
ISO ๙๐๐๐ คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้โดยผ่านระบบเอกสาร
ISO ๙๐๐๑ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้งและการบริการ
ISO ๙๐๐๒ มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO ๙๐๐๓ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO ๙๐๐๔ เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
ISO ๑๔๐๐๐ เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
ISO ๑๘๐๐๐ มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ISO ๒๖๐๐๐ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM)
คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
๑. เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก เข้าใจและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
๒.เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
๔.เพื่อให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น
๕.เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
๑. ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
๒. ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกัภายนอกองค์กร
๓. ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
๔. มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
๕. มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน
๑. การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
๒. การประเมินความเสี่ยง
๓. การวิเคราะห์ความเสี่ยง
๔. การจัดลำดับความเสี่ยง(Risk profile)
๕. การติดตามและการประเมินผล(Monitoring & Evaluation)
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลายๆสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา
ประโยชน์
๑. ช่วยให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เจาะลึกถึงสาเหตุรากเหง้า (root cause)
๒. ใช้ศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ
๓. ใช้เป็นแนวทางในการระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆคนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
๑.กำหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
๒.เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
๓.เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
๔.เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ่เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ่-เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง-เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
๕.ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาโดยการตั้งคำถามทำไมๆๆๆๆ ซํ้าๆกัน ๕-๗ ครั้งในการเขียนก้างย่อยๆ พร้อมทั้งเขียนข้อความแสดงสาเหตุของปัญหาลงในก้างระดับต่างๆทำไปจนกระทั่งระบุถึงสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาได้ หรือจนกระทั่งไม่มีใครเสนอความคิดเห็นอีกจัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ และใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น
๔ M ๑ E
M Man คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร
M Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M Method กระบวนการทำงาน
E Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
๑. สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ ๓ จริง คือสถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมจริง
๒. แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
๓. ข้อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง อย่าพึ่งหาคนผิด