Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง,…
บทที่10การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ระยะหลังคลอด(The postpatum period or puerperium) ระยะเวลาตั้งแต่ทารกคลอดและมีการเปลี่ยนด้านร่างกายจิตใจสู่ภาวะปกติ ตั้งแต่24hrจนถึง6สัปดาห์
ระยะแรก(Immediate puerperium) เป็นระยะหลังคลอด 24 hr ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ในระยะนี้ มีการหดรัดตัวของมดลูก ปวดลูก ปวดแผลฝีเย็บ และอาการอ่อนเพลีย
ระยะหลัง(Late puerperium) ต่อจากระยะแรกถึง6สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ (Reproductive change)
มดลูก(The uterus) มดลูกเข้าอู่ อาศัยกระบวนการ2อย่างคือ มดลูกขาดเลือดไปเลี้ยง(Ischemia) หลังคลอดเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลงเนื่องจากมีการหดรัดตัวของมดลูกจึงกดเส้นเลือดโพรงมดลูกทำให้มดลูกลดลง การย่อยตัวเอง(Autolysis) เนื่องจากฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง collagenaseในมดลูกเพิ่ม ทำให้เพิ่มProteolytic enzymeทำให้มีการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อ
ภายหลังคลอดทันทีระดับมดลูกจะลดลงอยู่ระหว่างสะดือหัวเหน่า หลัก1000กรัม ใน1ชั่วโมงมดลูกจะลอยตัวสูงขึ้นอยู่ระดับสะดือ 2วันต่อมามดลูกจะหดรัดตัวลงและลดขนาดวันละ1cm. 7วันหลังคลอดมดลูกจะเหลือ500กรัม 2สัปดาห์คลำมดลูกไม่ได้ หนัก300กรัม เมื่อถึง6สัปดาห์จะกลับเป็นปกติก่อนตั้งครรภ์ หนัก 50กรัม
น้ำคาวปลา(Lochia) รกและเยื่อหุ้มทารกแยกออกจากเยื่อบุมดลูกชั้นspongiosa
Decidua basilisเป็นฐานรองรับการเกิดใหม่ชองเยื่อบุมดลูก เยื่อบุมดลูกเกิดใหม่จะไม่มีรอยแผล เรียกว่า Exfoliation
Decidua spongiosa มีการเปื่อยและย่อยสลายหลุนปดออกมากบน้ำเลือด เม็ดเลือดขาวและแบคทีเรีย เรียกน้ำคาวปลา (Lochia)
Lochia rubra ประกอบด้วยน้ำเลือดเป็นส่วนใหญ่ น้ำคาวปลาเป็นสีแดงเข้ม เกิดในช่วง3วันแรกหลังคลอด ต้องไม่มีก้อนเลือดปนออกมา
Lochia serosa จากสีแดงเข้มเปลี่ยนเป็นสีแดงจางๆและจางเรื่อยๆจนเป็นสีน้ำตาลเกิด4-9วันหลังคลอด
Lochia alba จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว มีเม็ดเลือดขาวและเมือกมาก อาจมีเศษเยื่อบุมดลูกเล็กน้อย เกิด10-14วันหลังคลอด
ปากมดลูก(cervix) หลังคลอดมดลูกจะปิดทันทีนุ่มมากและไม่เป็นรูปร่าง หลังคลอด 1 สัปดาห์ จะกว้าง1cm แข็งเป็นรูปเป็นร่าง 6สัปดาห์ไปแล้วหลังมดลูกแข็งมากมดลูกจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมแต่จะเป็นรอยตะเข็บ
ช่องคลอด(vagina) การลดลงของเอสโตรเจน ทำให้ช่องคลอดขยาย อ่อนนุ่มจะลดลงเป็นผิวเรียบ เยื่อHymenขาดถาวรเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ แก้ไขการขยายของช่องคลอดโดยการ ฝึกขมิบช่องคลอด kagel's exercises
ฝีเย็บ(The perineum) หลังเย็บฝีเย็บแล้วมารดาจะรู้สึกปวดแผล แผลจะหายภายใน5-7วัน
การเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆของร่างกาย(systemic changs)
ระบบไหลเวียนโลหิต ปริมาณเลือดลดลงจากเหงื่อ จากการขับปัสสาวะ คลอดปกติเสีย 300-500ml ผ่าคลอด 500-1000ml เสียเลือด 250 ml Hctลด4%
ระบบฮอร์โมน ฮอร์โมนจากรกในพลาสมาจะลดลงอย่างรวดเร็ว ภายหลัง24hrจะตรวจไม่พบHPLหรือHCS HCGก็จะลดลง เอสโตรเจนลดลง ภายใน3ชั่วโมงหลังคลอดและลดต่ำสุดใน7วันหลังคลอด เกิดพร้อมการตึงคัดของเต้านม 10-12วัน FSH LH ลด Prolactinเพิ่มขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร หิว ท้องผูก เพราะผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะอยู่ 7 วันหลังคลอด ควรกระตุ้นให้มารดาได้รับน้ำ 2500ml/วัน รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ผักผลไม้
ระบบผิวหนัง เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรนลดลง ทำให้Linea nigraบริเวณต่างๆที่มีสีเข้ม และฝ้าที่หน้าลดลง และจางลงเรื่อยๆจนปกติ6สับดาห์หลังคลอด estrogenลดลง ทำให้Alopesia ผมร่วง
ระบบทางเดินปัสสวะ กระเพาะปัสสาวะบวม บวมข้ำรอบๆรูเปิดท่อปัสสาวะ ความจุของกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น ความไวแรงกดลดลง การขับปัสสาวะเพิ่มขึ้น2เท่า เนื่องจากมีน้ำสะสมนอกเซลล์ระหว่างตั้งครรภ์
ผลของการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง(Effect of retrogressive changes) ความอ่อนเพลียระยะหลังคลอดมารดามักอ่อนเพลีย น้ำหนักลด ช่วงสับดาห์แรกหลังคลอดน้ำหนักตัวจะลดลงอีก2-4kg จากการขับปัสสาวะและเหงื่อจนถึง6wkหลังคลอดก็จะมีน้ำหนักคงที่
vital sign
ชีพจรลดลงเล็กน้อย คือจะอยู่ในช่วง60-70ครั้ง/นาที เนื่องจากเลือดไม่ได้ไปเลี้ยงที่รกแล้ว เลือดในร่างกายจึงหมุนเวียนเพิ่มขึ้นทำให้ปรับการหมุนเวียนเลือสู่ปกติ
ความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
อุณหภูมิ ในระยะ24hrหลังคลอด มารดาอาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้แต่ไม่เกิน 38องศาเซลเซียส เรียก reactionnary fever การมีไข้จากการตอบสนองของร่างกายเกิดจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย สูญเสียน้ำ เลือดออกมาก หากมารดาได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้ไข้ลด
การเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้า(Progressive changes)
เต้านม ระยะตั้งครรภ์ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน ออกฤทธิ์กด โปรแลคตินไม่ให้หลั่งน้ำนม หลังคลอดโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนลดลง การดูดนมจะทำให้ระดับโปรแลคตินเพิ่ม ภายใน7วันหากทารกไม่ได้ดูดนมโปรแลคติดจะกลับสู่ปกติ ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา โปรแลคตินจะลด 4-6เดือนหลังคลอด
ประจำเดือนครั้งแรกเป็นแบบไม่มีการตกไข่ การทำงานของcorpus luteum ยังไม่สมบูรณ์ LH/Progesterone ลดต่ำ การตกไข่จะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาให้บุตรดูดนม
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมและบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอด
post-partum blues อาจเกิดขึ้นได้หลังคลอดทันทีแต่พบมากที่สุดในช่วง2-3วันแรก มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หงุดหงิด ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ ซึมเศร้าและวิตกกังวลสูงขึ้น หลงลืมง่ายนอนไม่หลับ สามารถหายได้เอง
สาเหตุ แยกจากครอบครัว พักผ่อนไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน กลัวสูญเสียความงาม
การปรับตัวมารดาหลังคลอด
ระยะที่1 ระยะพึ่งพา(Taking-in phase) ระยะนี้อาจใช้เวลา 1-2วันมารดาหลังคลอดจะมุ่งที่ตนเองและต้องการพึ่งพาผู้อื่น สนใจแต่ความต้องการและความสุขสบายของตนเอง เฉื่อนชาไม่ค่อยเคลื่อนไหว บทบาทพยาบาล รับฟัง สนับสนุนให้สามี ญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลแก่มารดาหลังคลอด
ระยะที่ 2 ระยะพฤติกรรมระหว่างพึ่งพาและไม่พึ่งพา(Taking-hold phase) ใช้เวลาประมาณ10วัน มารดามีประสบการณ์มากขึ้น มีการปรับตัวกับชีวิตใหม่ ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น กระตือรือร้นสนใจทารกและครอบครัวมากขึ้น พยาบาลให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารก กระตุ้นโดยการสอนสุขศึกษาและให้มารดาลองทำเองและให้กำลังใจ
ระยะที่3 ระยะพึ่งพาตนชนเอง (letting-go-phase) ปรับตัวต่อบทบาทใหม่ดีขึ้น พยาบาลควรแนะนำการวางแผนชีวิตครอบครัว กระตุ้นให้คนในครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลแบ่งเบาภาระ
การปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
สัมพันธภาพระหว่างสามี ถ้ามีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างดีในทุกๆครั้งทำให้ปรับตัวในระยะหลังคลอดประสบความสำเร็จ
การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรของสามี การที่สามีมีส่วนช่วยมารดาเลี้ยงดูบุตรเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรักความผูกพันอันดีของสามี ทำให้มารดาเลี้ยงดูบุตรไปในทางที่ดี ทำให้มารดารับรู้บทบาทที่แท้จริง
ความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อประสบการณ์ในระยะเจ็บครรภ์และขณะคลอด
ความพึงพอใจของมารดาต่อสภาพชีวิตและฐานะทางครอบครัว
ความมั่นใจของมารดาในการปฎิบัติพัฒนกิจตามบทบาทการเป็นมารดา
ความพึงพอใจในการเลี้ยงดูบุตร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับบทบาทการเป็นมารดา
บุคลิกภาพและการเลี้ยงดูในวัยเด็ก มารดาที่เข้มแข็ง มีความเชื่อมั่น เลี้ยงดูด้วยความอบอุ่นในวัยเด็ก จะสามารถปรับตัวในการเป็นมารดาได้ดี
อายุ ถ้าอายุต่ำกว่า 20 อาจมีวุฒิทางอารมณ์ต่ำ เพราะยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น ความเอาใจใส่ ความรับผิดชอบต่อการดูแลบุตรและครอบครัวยังไม่สูง
ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก ถ้าเคยเลี้ยงเด็กมาก่อนก็จะช่วยให้เลี้ยงลูกตัวเองได้ดี
การศึกษาสูงเลี้ยงลูกได้ดีและสามารถแสวงหาความรู้ในการเลี้ยงลูกได้มากกว่ามารดาที่มีการศึกษาน้อย
รายได้ รายได้น้อยมักกังวลและมีการปรับตัวการเป็นมารดาลดลง
สัมพันธภาพชีวิตสมรส ถ้ามีความรักความเข้าใจกัน ก็จะมีความอบอุ่นมั่นคงในครอบครัว
แนวทางส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา
ระยะตั้งครรภ์ ควรให้ความรู้เรื่องการปฎิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมตัวคลอด การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
ระยะหลังคลอด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฎิบัติตัวหลังคลอด การเลี้ยงดูบุตร เปิดโอกาสให้มารดาได้ใกล้ชิดบุตร ให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้มารดาได้พูดคุยและปรึกษาปัญหา จัดเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม
บทบาทของบิดา
การปกป้องภรรยาในระยะหลังคลอด
การเลี้ยงดูบุตร
การจัดหาเลี้ยงครอบครัว
พัฒนกิจของบิดา
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของบิดา
หาแนวทางแก้ไขความกดดันในขณะเริ่มเป็นบิดา
การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูบุตร
กำหนดหลักการเพื่อที่จะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพอนามัยที่ดี
ส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการด้านต่างๆอย่างเต้มความสามารถ
ดำรงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างสามีและภรรยา การมีเพศสัมพันธ์และการวางแผนที่จะมีบุตร
มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการหารายได้เลี้ยงครอบครัว รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในครอบครัว
ดำรงไว้ซึ่งความรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นชาย
เสริมสร้างและดำรงไว้ซึ่งระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว
เป็นตัวแทนของครอบครัวในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน
บทบาทในการพัฒนาสุขภาพของบุตร
บทบาทเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางด้านร่างกายของบุตร
ดูแลให้บุตรได้รับสารอาหารต่างๆอย่างเพียงพอ ดูแลให้ได้รับความสุขสบาย และดูแลขณะบุตรมีอาการไม่สุขสบายหรือเจ็บป่วย
บทบาทเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของบุตร ควรส่งเสริมพัฒนาการของบุตรให้เป็นไปตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
บทบาทเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองอันตรายแก่บุตร ได้แก่ป้องกันอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น อุบัติเหตุ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวสู่บทบาทการเป็นบิดา
วุฒิภาวะ สังคมทั่วไปยอมรับว่าการเข้าสู่บทบาทบิดานั้นเป็นนการแสดงถึงการเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
รายได้ บิดาที่มีรายได้สูงจะมีการรับรู้บทบาทการเป็นบิดาที่มีรายได้ต่ำกว่า
ประสบการณ์เดิมที่ได้รับในวัยเด็ก บิดาที่มีบุคลิกภาพที่ดีมีความมั่นใจในตนเองจะสามารถปรับตัวสู่การเป็นบิดาได้ดี
ลักษณะสังคมและวัฒนธรรม ต้องอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบข้าง
สัมพันธภาพของสามี สัมพัธภาพที่ดีของสามี จะทำให้สามีและภรรยามีความผูกพันกัน
พัฒนกิจของมารดา
สำรวจสมาชิกใหม่
ตรวจสอบสัมพันธภาพของบุคคลกับบุตร
วางเกณฑ์และปรับโครงสร้างครอบครัวใหม่
แนวทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นบิดา
ให้ความรู้พัฒนกิจและบทบาทการเป็นบิดา โดยจัดการสอนกลับกลุ่มที่มีวัยใกล้เคียงกัน เปิดโอกาสให้บิดาได้ถามข้อสงสัยต่างๆ
บิดาได้มีส่วนร่วมในการฟังคำแนะนำการปฎิบัติตัวหลัง คลอดและการดูแลบุตร เพื่อกระตุ้นให้บิดาเกิดการเรียนรู้และสามารถให้ความช่วยเหลือมารดาได้อย่างเหมาะสม
เปิดโอกาสให้บิดามารดาบุตรได้อยู่ร่วมกันหลังคลอด
เสริมสร้างกำลังใจให้แก่บิดา
จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของการเป็นบิดาในโอกาสที่เหมาะสม เช่นวันพ่อแห้งชาติ