Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีความพิการเเต่กำเนิด, นางสาวภัทราภรณ์ ครโสภา เลขที่ 14…
การพยาบาลเด็กที่มีความพิการเเต่กำเนิด
ความพิการเเต่กำเนิด
เเบ่งเป็น
Major anomalies
เป็นความผิดปกติที่ทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นเสียไป เช่น ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด ปากเเหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจพิการเเต่กำเนิด
Minoranomalies
เป็นความผิดปกติที่ไม่มีผลให้การทำงานของอวัยวะเสียไป เช่น ติ่งบริเวณหน้าหู การพับผิวหนังของเปลือกตาบน ปาน
จำเเนกตามกลไก
Malformation
เป็นลักษณะของอวัยวะที่ผิดรูปร่างไป เกิดจากกระบวนการเจริญพัฒนาภายในที่ผิดปกติ อาจเกิดจากพันธุกรรมหรือสิ่งเเวดล้อม เช่น ปากเเหว่งเพดานโหว่ นิ้วเเยกกันไม่สมบูรณ์ นิ้วเกิน ติ่งบริเวณหน้าหู เท้าปุก เป็นต้น
Deformation
เกิดจากที่มีเเรงกระทำจากภายนอกทำให้อวัยวะผิดรูปไปในระหว่างการเจริญพัฒนาของอวัยวะนั้น เช่น มีภาวะถุงน้ำคร่ำเเตกหรือรั่วระหว่างตั้งครรภ์
Disruption
ภาวะที่โครงสร้างของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อผิดปกติจากสาเหตุภายนอกรบกวนกระบวนการเจริญพัฒนาอวัยวะที่ไม่ใช่พันธุกรรม เช่น ทารกขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย การบาดเจ็บของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ
Dysplasia
เป็นความผิดปกติระดับเซลล์ของเนื้อเยื่อพบในทุกส่วนของร่างกาย เช่น กลุ่มโรค skeletal dysplasia
สาเหตุ
ปัจจัยจากสิ่งเเวดล้อม โดยเฉพาะจากมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ ได้เเก่ มารดามีอายุมากเกินไป
โรคติดเชื้อ เช่น โรคหัดเยอรมัน
พันธุกรรม
ขาดอาหาร ขาดวิตามิน
มารดากินยาหรือเสพสารเสพติด เช่น ยาเเก้อาเจียน กลุ่มยาดองเหล้า เเละกลุ่มเเอลกอฮอล์
มารดาได้รับสารเคมีจากสิ่งเเวดล้อม เช่น สารปรอท
รังสีเอกซ์ หรือรังสีเเกมม่า รวมทั้งสารกัมมันตรังสีทางการเเพทย์
ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ หรือภาวะเเทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
ปากเเหว่ง-เพดานโหว่ (Cleft,Cleft-palate)
ความหมาย
ปากเเหว่ง หมายถึง ความผิดปกติบริเวณริมฝีปาก เพดาน ส่วนหน้าเเยกออกจากกัน ซึ่งเพดานส่วนหน้าจะเจริญสมบูรณ์ ช่วง 4-7สัปดาห์เเรกของการตั้งครรภ์
เพดานโหว่ หมายถึง ผิดปกติบริเวณเพดานหลังเเยกออกจากกันซึ่งเกิดได้ระยะทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 12 สัปดาห์เพดาหลังเจริญเป็นเพดานเเข็ง เเละเพดานอ่อนหลังต่อช่องโหว่หลังฟันคู่หน้า
อุบัติการณ์
ปากเเหว่งอย่างเดียวอาจเป็นข้างเดียว ไม่มีเพดานโหว่ พบได้ 21% พบในทารกเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ปากเเหว่งสอง ร่วมกับเพดานโหว่ พบได้ประมาณ 46%
เพดานโหว่อย่างเดียวพบได้ประมาณ 33%
ปากเเหว่งเพดานโหว่ หรือเพดานโหว่อย่างเดียวพบในทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง
การวินิจฉัย
สามารถตรวจได้เมื่ออายุครรภ์ 13-14 สัปดาห์ ด้วย ultrasound
การซักประวัติเพื่อหาสาเหตุทางกรรมพันธุ์
การตรวจร่างกาย เพดานโหว่ โดยสอดนิ้วตรวจเพดานปากภายใน หรือดูในช่องปากเวลาเด็กร้องไห้
อาการเเละอาการเเสดง
เกิดการสำลักเพราะไม่มีเพดานรองรับ เมื่อมีการกลืนอาหาร อาหารจะเลื่อนตัวไปในจมูก ทำให้อาหารเข้าทางหลอดลม พูดไม่ชัดเนื่องจากเพดานปากเชื่อมติดกับเพดานจมูก
หายใจลำบาก
เมื่อเด็กมีปากเเหว่งเพดานโหว่ การดูดกลืนจะผิดปกติ เนื่องจากอมหัวนมไม่สนิท มีรูรั่วให้ลมเข้า ต้องใช้เเรงมากขึ้น ลมที่เข้าไปทำให้ท้องอืด
อาจติดเชื้อในหูชั้นกลางทำให้มีปัญหาการได้ยินผิดปกติ
การรักษาปากเเหว่ง
รักษาโดยการผ่าตัด อาจทำภายใน 48 ชั่วโมง หลังคลอดในรายที่เด็กสมบูรณ์ดี หรือรอตอนเด็กมีอายุอย่างน้อย 8-12 สัปดาห์ เพราะในระยะนี้เด็กมีส่วนกายวิภาคของริมฝีปากโตพอสมควร ชัดเจน ทำให้การผ่าตัดทำได้ง่ายเเละได้ผลดีกว่า
การผ่าตัดเเก้ไขเพดานโหว่
ปรึกษาทันตเเพทย์เพื่อใส่เพดานเทียม เพื่อปิดเพดานช่องโหว่ให้ทารกสามารถดูดนมได้โดยไม่สำลัก เพดานเทียมจะเปลี่ยนทุก 1 เดือน
ผ่าตัดเพดาน เพื่อให้มีการพูดให้ชัดเจนใกล้เคียงปกติมากที่สุด มีการเจริญเติบโตของใบหน้าเเละฟันอย่างสมบูรณ์มักนิยมทำผ่าตัดเเก้ไขความพิการก่อนเด็กเริ่มหัดพูด คืออายุประมาณ 6-18 เดือนสภาพร่างกายเเข็งเเรง ไม่มีโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน
การผ่าตัดเเก้ไขจมูก ทำเมื่อายุประมาณ 3 ปี เเละตามด้วยการฝึกพูด
อายุประมาณ 5 ปี ปรึกษาทันตเเพทย์จัดฟัน
รักษาความผิดปกติที่หลงเหลืออยู่ เพื่อให้ลักษณะริมฝีปาก จมูก เเละภายในช่องปากใกล้เคียงปกติมากที่สุด
การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด
บิดา มารดา วิตกกังวลเกี่ยวกับความพิการเเต่กำเนิด
เปิดโอกาสให้บิดามารดาได้ซักถามถึงอาการเจ็บป่วย อาการเเละอาการเเสดงของเด็ก เเละได้ระบายถึงความวิตกกังวลของตนเอง เพื่อหาเเนวทางเเก้ไขความวิตกกังวลเเละตอบคำถามเเละข้อสงสัยของบิดามารดาได้ตรงประเด็น
ให้ข้อมูล คำเเนะนำ อธิบาย เกี่ยวกับอาการเเละอาการเเสดงของผู้ป่วย เเละการรักษาวิธีการเพื่อเป็นข้อมูลให้กับบิดามารดาเเละติดต่อให้พบเเพทย์ประจำที่ทำการรักษาผู้ป่วยเพื่อซักถามข้อสงสัยต่างๆ
ประเมินความวิตกกังวลของบิดามารดาของผู้ป่วยเพื่อหาเเนวทางเเก้ไขหรือการให้ข้อมูลได้ถูกต้อง : ปฏิกิริยาของบุคคลต่อการสูญเสีย/ข่าวร้าย ปฏิเสธ โกรธ ซึมเศร้า ยอมรับ
ปลอบโยนให้กำลังใจ คำเเนะนำ เเละกระตุ้นให้บิดามารดาคอยดูเเลบุตรอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเครียดเเละความวิตกกังวลของบิดามารดา
บิดามารดา ผู้ดูเเลเด็กขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเเละวิธีการดูเเลรักษา
ประเมินความรู้ความเข้าใจของบิดามารดาเรื่องความผิดปกติของผู้ป่วยเเละการผ่าตัดรักษา
เเพทย์จะอธิบายการผ่าตัดเเละผลลัพธ์การรักษา พยาบาลควรให้ความชัดเจนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ
สอนการป้อนนมอย่างถูกวิธี
เเนะนำการดูเเลในระยะก่อน หลังผ่าตัด
เสริมเเรงให้กำลังใจ
มีโอกาสขาดสารน้ำสารอาหารจากการดูดกลืนผิดปกติ
เตรียมลูกสูบยางเเดงสำหรับดูดเสมหะไว้ข้างเคียง
สังเกตอาการ หายใจผิดปกติ ไอ ไข้
รักษาความสะอาดช่องปาก
ชั่งน้ำหนักทารกวันละครั้ง
ดูเเลให้นมอย่างถูกวิธี
ถ้าน้ำหนักไม่ขึ้น ได้รับนมไม่เพียงพอ รายงานเเพทย์เพื่อพิจารณาใส่สายให้อาหาร
การให้นม/อาหารอย่างถูกวิธี
ดูดครั้งละน้อยๆ บ่อยครั้ง ใส่เพดานเทียมก่อนให้ดูดนม ก่อน-หลังใช้เพดานเทียมต้องทำความสะอาดทุกครั้ง
จับไล่ลมเป็นระยะๆทุก 15-30 มิลลิลิตรเสมอ หลังให้นมนอนศีรษะสูง 30 องศาตะเเคงขวาให้ใบหน้าตะเเคงเพื่อป้องกันท้องอืด สำลัก
ถ้าเด็กดูดไม่ได้ใช้ช้อนป้อน/หลอดหยด
ป้อนน้ำตามทุกครั้งเเละทำความสะอาดช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ใช้ Artificial nipple จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวกเเละไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้เเน่นท้อง
ให้เด็กหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เป็นเมล็ด
ขณะให้อาหารจัดท่าศีรษะสูงประมาณ 30-40 องศา การ Feeding เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาดูดนมจะได้ไม่สำลัก
การใส่ NG tube จะเป็นทางเลือกสุดท้าย กรณีที่เด็กมีปัญหาไม่สามารถ feed หรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
เสี่ยงต่อการเกิดแผลเเยก/เลือดออก/ติดเชื้อ
ทำความสะอาดแผลเย็บปากเเหว่งด้วย NSS ป้ายด้วยยาปฏิชีวนะ
ให้น้ำตามหลังให้อาหารเหลวทุกครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดช่องปาก
หากร้องไห้ ปลอบโยนให้ทำให้สงบโดยเร็ว
ดูเเลไม่ให้เด็กติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
สังเกตอาการแผลมีเลือดออก การมีสิ่งคัดหลั่ง กลิ่น การอักเสบ ปวดบวมเเดง
สังเกตการติดเชื้อ
ล้างมือให้สะอาดก่อนเเละหลังดูเเลผุ้ป่วย
ผูกยึดข้อศอกทั้งสองข้าง ไม่ให้งอประมาณ 2-6 สัปดาห์ หลังผ่าตัดหรือตามแผนการรักษาของเเพทย์ ต้องคลายออกทุก 1-2 ขั่วโมง ครั้งละ 10-15 นาที
สอนผู้ดูเเลเกี่ยวกับการผูกยึดข้อศอก ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยล้วงมือเข้าในปาก
งดใส่สายยางดูดเสมหะเข้าช่องปาก
ไม่ให้ดูดนม 1 เดือน การให้นมโดยใช้ช้อน หลอดหยด syring ต่อยางเหลืองนิ่ม เเละป้อนนมอย่างระมัดระวัง
การพยาบาลหลังผ่าตัด cleft lip
สอนบิดามารดาทำความสะอาดแผล
จัดท่านอนหงายหรือตะเเคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ห้ามนอนคว่ำ เพื่อป้องกันการเสียดสีกับที่นอน แผลอาจเเยกได้
ระมัดระวังสิ่งคัดหลั่งจากจมูกมาปนเปื้อนแผลผ่าตัด ถ้ามีทำความสะอาดด้วย NSS เเละปิด sterile strips ใหม่
ป้ายยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดดึงรั้ง โดยการปลอบโยนให้เด็กสงบลงเมื่อร้องไห้ ปิดแผลด้วย sterile strips
สังเกตอาการออกเสียงขึ้นจมูกเเละอาการสำลักอาหารจากปากเข้าจมูก
ห้ามอ้าปากทารกกว้างๆเพื่อป้องกันแผลเเยก
หลีกเลี่ยงการนำของเเข็งหรือของที่มีความเเหลมคมเข้าปาก เช่น แปรงสีฟัน หลอดดูด
ห้ามดูดเสมหะในช่องปาก ยกเว้นหากจำเป็นต้องทำด้วยความนุ่มนวลระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณแผลเพดานที่เย็บไว้ในช่องปาก
การดูเเลหลังผ่าตัดเพดานโหว่ ถึงอายุ 4-5 ปี
ผู้ป่วยควรได้รับการสอนฝึกพูดเสมอเเละได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
อายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง-3 ขวบครึ่ง เเพทย์พิจารณาผ่าตัดเเก้ไข ภาวะความผิดปกติจมูก หรือริมฝีปากที่เห็นชัดเจน
งดดูด เป่า ประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กใช้ลิ้นดัน flap ทำให้ flap ที่ผ่าตัดมีการเเยกได้
อายุประมาณ 4-5 ปี ส่งทำ Nasendoscope โดยเเพทย์ ENT ร่วมกับ speech therapist เพื่อประเมินประสิทธิภาพการพูด ให้ผู้ป่วยนับเลข เช่น 30-40 เเละออกเสียง ส-เสือ ใส่ เสื้อ สี เเสด
หลอดอาหารตีบ/รั่ว/ตัน (Esophageal stenosis/fistula/atresia)
อาการเเละอาการเเสดง
น้ำลายไหลมาก อาเจียน ไอ สำลักเอาอาหารเเละเมือกเข้าสู่ทางเดินหายใจ
อาจพบอากาศในกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยอาจตายเนื่องจากขาดอาหาร น้ำ เกลือเเร่ เเละการสำลัก
มักมีโรคหัวใจพิการเเต่กำเนิด ความผิดปกติของลำไส้เล็ก ไส้ตรง เเละรูทวารร่วมด้วย
การรักษา
ระยะเเรก
Gastrostomy
ระยะสอง
Thoracotomy and division of the fistula with Esophageal anastomosis
Esophagogram
Try oral feeding
Off Gastrostomy tube
การพยาบาลก่อนผ่าตัดเเก้ไขหลอดอาหาร
อาจเกิดภาวะปอดอักเสบหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ เนื่องจากสำลักน้ำลายหรือน้ำย่อยเข้าหลอดลม
On NG tube ต่อ Continuous suction
ให้ออกซิเจนกรณีมีภาวะพร่องออกซิเจน
พลิกตะเเคงตัวบ่อยๆ
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
จัดท่านอนที่เหมาะสม
อาจได้รับสารน้ำเเละสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้
ดูเเลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ดูเเลให้สารอาหาร นม น้ำทาง Gastrostomy tube
อาจเกิดภาวะเเทรกซ้อนหลังผ่าตัดต่อหลอดอาหาร(แผลเเยก)
กระตุ้นให้เด็กร้องบ่อยๆเพื่อให้ปอดขยายได้ดี สังเกตภาวะขาดออกซิเจน
ดูเเลการทำงานของ ICD มีประสิทธิภาพ
ห้ามใส่สาย NG tube หรือสาย suction ดูดเสมหะในคอเเละไม่ควรนอนเหยียดคอ เพราะอาจทำให้หลอดอาหารตึงเเละแผลผ่าตัดเเยก
ดูเเลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ, Antibiotic ตามแผนการรักษา
การพยาบาลหลังผ่าตัด
อาจเกิดภาวะปอดเเฟบจากการอุดตันของท่อระบายทรวงอก
ตรวจสอบการทำงานของ ICD
ระวังสายหัก พับงอ/นวดคลึงสายบ่อยๆ
จัดท่านอนศีรษะสูง
บันทึก ลักษณะ สี จำนวนของ discharge
อาจเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดเเละแผล Gastrostomy
ทำแผลอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
สังเกตการติดเชื้อ
ล้างมือก่อนเเละหลังให้การพยาบาล
ดูเเลให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
Anorectal malformation
ความหมาย
เป็นความพิการเเต่กำเนิดที่ไม่มีรูทวารหนักเปิดให้อุจจาระออกจากร่างกายได้ (imperforate anus) หรือมีรู้เปิดทวารหนักเเต่อยู่ผิดที่จากตำเเหน่งปกติหรือรูทวารหนักมีการตีบเเคบ
อุบัติการณ์
เกิดขึ้นในอัตราส่วน 1 ใน 4000 ของเด็กเกิดมีชีวิตทั้งหมด เด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
ในเพศชายพบความผิดปกติของลำไส้ตรงกับท่อปัสสาวะ ในเพศหญิงพบความผิดปกติทวารหนักเป็นเเบบลำไส้ตรงมีรูทะลุกับเวสติบูลา
สาเหตุ
ไม่ทราบเเน่ชัด
พยาธิสภาพ
ทารกมีอาการท้องผูก/ถ่ายอุจจาระลำบาก/หรือไม่ถ่ายอุจจาระ
ทารกเพศชายมีอาการถ่ายขี้เทาออกทางปัสสาวะ ทารกเพศหญิงถ่ายขี้เทาออกทางท่อปัสสาวะหรือทางช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อสู่ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบสืบพันธุ์ได้
ชนิดของความผิดปกติ
Anal stenosis รูทวารหนักตีบเเคบ
Imperforate anal membrane มีเยื่อบางๆปิดกั้นรูทวารหนัก
Anal agenesis รูทวารหนักเปิดผิดที่
Low type
Intermediate type
High type
Rectal atresia ลำไส้ตรงตีบตัน
อาการเเละอาการเเสดง
เเน่นท้อง ท้องอืด
กระสับกระส่าย อึดอัด ไม่สบายเนื้อสบายตัว
ปวดเบ่งอุจจาระ
ไม่มีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้ หากมีการอุดตันของลำไส้เป็นเวลานานกากอาหารที่ค้างที่ Rectum จะเพิ่มมากขึ้นจนถึงลำไส้ส่วนอื่นๆได้
ตรวจพบมีกากอาหารค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
ไม่พบรูเปิดทางทวารหนักหรือพบเพียงรอยช่องเปิดของทวารหนักเท่านั้น
ไม่มีการถ่ายขี้เทา ภายใน 24 ชั่วโมง ขี้เทามีลักษณะเหนียวๆสีเขียวดำ ถ้าเลย 24 ชั่วโมงไปเเล้ว ยังไม่ถ่ายอุจจาระให้สงสัยไว้ก่อนว่า เกิดจากการที่ลำไส้อุดตัน
การวินิจฉัย
การตรวจรังสีวินิจฉัย X-ray เพื่อประเมินระดับลำไส้ตรง
Ultrasound เพื่อตรวจการไหลเวียนเเละดูอวัยวะภายใน
การตรวจร่างกาย
CT scan ตรวจดูกระดูก กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน
MRI ตรวจความผิดปกติร่วมของไขสันหลัง ความผิดปกติร่วมของลักษณะกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน
การรักษา
เป้าหมาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถถ่ายอุจจาระได้ มีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ เเละกลั้นอุจจาระได้
เเบ่งเป็น
Low type
การถ่างขยายทวารหนัก โดยใช้ hegar metal dilators โดยใช้เบอร์ 9-10 mm เมื่อกลับบ้านจะเเนะนำให้ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพิ่มขนาดขึ้นให้เหมาะสมกับอายุเด็ก ซึ่งใช้เวลาในการถ่างขยาย 6 เดือน- 1 ปี
การผ่าตัด anal membrane ออกในรายที่สังเกตเห็นขี้เทาทางทวานหนัก
การผ่าตัดตบเเต่งทวารหนัก เมื่อแผลผ่าตัดติดเรียบร้อยเเล้ว ประมาณ 10 วัน ถ่างขยายทวารหนักต่อ
intermediate เเละ high
การทำทวารนหักเทียมทางหน้าท้อง เพื่อระบายอุจจาระออก
การผ่าตัดตบเเต่งทวาร ภายหลังผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เเพทย์จะเริ่มถ่างขยายรูทวารหนัก โดยเริ่มจากเบอร์ขนาดเล็กประมาณ 7-10 mm ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก วันละ 2 ครั้ง จนการขยายทวารหนักทำได้ง่าย จะเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ hegar สัปดาห์ละ 1 mm จนกระทั่งเบอร์เหมาะสมกับอายุเด็ก ต้องทำต่อเนื่อง
ระยะที่สาม ขยายรูทวารหนัก 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ นาน 1 เดือน
ระยะที่สี่ ขยายรูทวารหนัก 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ นาน 1 เดือน
ระยะที่สอง ขยายรูทวารหนักวันละ 1 ครั้ง ทุก 3 วัน นาน 1 เดือน
ระยะที่ห้า ขยายรูทวารหนัก 1 ครั้ง ต่อเดือน นาน 1 เดือน
ระยะเเรก ขยายรูทวารหนักวันละ 1 ครั้ง นาน 1 เดือน
การผ่าตัดปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง
การพยาบาลในระยะขยายทวารหนัก
สอนการดูเเลในการถ่างขยายรูทวารหนัก : ให้ยาเเก้ปวดก่อนถ่างขยาย ใช้สารหล่อลื่น เลือกขนาดเครื่องมือตามแผนการรักษา สังเกตการมีเลือดออก การอักเสบถ้ามีการอักเสบเเนะนำให้เเช่ก้นด้วยน้ำอุ่น เเละทำความสะอาดหลังขับถ่าย
เเนะนำให้บิดามารดาให้อาหารตามวัยของเด็กที่มีประโยชน์มีกากใยสูง
ให้ความรู้บิดามารดาเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
การพยาบาลหลังผ่าตัดเปิด colostomy
การดูเเล colostomy
กรณีมีการรั่วซึมต้องเปลี่ยนถุงใหม่่ เเละสังเกตการรั่วซึมของอุจจาระทุก 2 ชั่วโมง
ทิ้งอุจจาระถ้ามีปริมาณอุจจาระในถุง 1/4-1/3 ของถุง
เด็กที่มีถุงรองรับอุจจาระทางทวารเทียม เลือกขนาดของปากถุงให้ครอบปิดกระชับพอดีกับขนาดทวารเทียม ไม่เเน่นเกินไป
สังเกตการเปลี่ยนเเปลงของผิวหนังรอบๆทวารเทียม ถ้ามีการอักเสบ รอยถลอก รายงานเเพทย์
หลังผ่าตัดสัปดาห์เเรก รูเปิดยังไม่หายเเละการหายของแผลยังไม่ดีพอ ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผล เมื่อแผลหายดีเเล้วทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ขับผิวหนังรอบรูเปิดด้วยสำลีหรือผ้าสะอาดที่อ่อนนิ่ม
เเนะนำอาหารย่อยง่ายมีโปรตีนสูง เเคลอรีสูง มีกากใยมาก หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้มีัเเก๊ส เช่น ถั่ว น้ำอัดลม เป็นต้น
สังเกตเเละบันทึกอุจจาระ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เป้นต้น
สังเกตภาวะเเทรกซ้อนของทวารเทียม เช่น เลือดออก ลำไส้ยื่นออกมา การหดรั้งลำไส้เข้าช่องท้อง ช่องเปิดลำไส้ตีบเเคบ ผิวหนังรอบๆทวารหนักเทียมอักเสบ ทวารเทียมขาดเลือดมีสีคล้ำ เน่าตาย
เเนะนำการมาตรวจตามนัด
การพยาบาลระยะก่อนเเละหลังผ่าตัดตกเเต่งทวารหนัก
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดทวารหนัก
หลังผ่าตัด 3-4 วันหลังถอดสายสวนปัสสาวะ ให้เเช่ก้นด้วยน้ำอุ่นกระตุ้นการไหลเวียนเเละลดการอักเสบ
ดูเเลความสสะอาดผิวหนังรอบๆทวารหนักด้วยน้ำ
ทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดรูทวารหนัก 8-10 วันตามแผนการรักษา
สังเกตการติดเชื้้อ ไข้ ปวด บวม เเดง ร้อน
บิดา มารดา ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูเเลแผลผ่าตัดบริเวณทวารหนัก
เเนะนำให้สังเกต ตำเเหน่งการถ่ายอุจจาระ การฝึกขับถ่ายอุจจาระเมื่ออายุ 18-24 เดือน โดยให้นั่งกระโถน เช้า เย็น สังเกตอาการท้องผูก ให้อาหารที่เหมาะสม
ให้กำลังใจบิดามารดา
ให้ความรู้การถ่างขยายทวารหนักเเละประเมินความรู้
ให้คำเเนะนำเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ให้คำเเนะนำระยะหลังผ่าตัด 7-10 วันไม่ให้นอนกางขา นั่ง เพราะอาจเกิดแผลเเยกได้ในเด็กเล็กใให้ผูกขาติดกันเเละคลายทุก 1-2 ชั่วโมง
ให้คำเเนะนำเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
การถ่างขยายรูทวารหนักสม่ำเสมอ เเนะนำใช้เทียนไขเหลาเท่าขนาด hegar ถ่างขยาย
สอนทำความสะอาดเทียนไข ทวารหนัก
ให้ความรู้ป้องกันท้องผูก ให้อาหารมีกากใย ให้ยาระบาย
กรณีถ่ายอุจจาระเหลว ให้ยาที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อน
สังเกตการตีบเเคบของทวารหนัก
ฝึกขับถ่าย ฝึกกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการถ่ายอุจจาระ
การมาตรวจตามนัด
ปัญหาที่อาจพบได้หลังผ่าตัด
ท้องผูก : การสวนล้างร่วมกับการใช้ยาระบาย
กลั้นอุจจาระไม่ได้ : ฝึกฝนการกลั้นอุจจาระเพื่อให้เด็กใช้กล้ามเนื้อที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เช่น ฝึกหนีบลูกบอล ออกกำลังกายโดยการวิ่ง หรือว่ายน้ำ เพื่อพัมนากล้ามเนื้อข้างเคียง
ทวารหนักตีบจากกลไกการหดรั้งตัวของแผล : การถ่างขยาย การฝึกอุปนิสัย การขับถ่าย การให้ยาเพื่อปรับสภาพอุจจาระ
นางสาวภัทราภรณ์ ครโสภา เลขที่ 14 รุ่น 36/2