Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพ็พพลาว Peplau’s Interpersonal theory,…
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพ็พพลาว
Peplau’s Interpersonal theory
บทบาทคนแปลกหน้า(stranger role)
เป็นบทบาทที่พยาบาลและผู้ป่วย พบกันคร้ังแรกซึ่งเป็นคนแปลกหน้าต่อกัน พยาบาลจำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น
บทบาทแหล่งสนับสนุน (Role of the resource person)
เป็นบทบาทท่ีพยาบาลทำหน้าที่ให้ความรู้หรือข้อมูลเฉพาะ ตอบคำถาม แปลข้อมูล และให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ป่วย
บทบาทผู้สอน (Teaching role)
เป็นบทบาทที่พยาบาลกระทำร่วมกับบทบาทอื่นๆ โดยให้คำแนะนำและอบรมความรู้แก่ผู้ป่วย
บทบาทผู้ให้คำปรึกษา (Counseling role)
เป็นบทบาทที่พยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความหมายของสภาพการณ์ในปัจจุบัน ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
บทบาทผู้ทดแทน (Surrogate role)
เป็นบทบาทที่พยาบาลเป็นตัวแทนของผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ โดยพยาบาลจะแสดงบทบาทนี้ในภาวะท่ีผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้
บทบาทผู้นำ (Leadership role)
เป็นบทบาทที่พยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วย
ให้ทำหน้าที่ตามเป้าหมายของการบำบัด
บทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical expert role)
เป็นบทบาทท่ีพยาบาลให้การดูแลด้านร่างกายผู้ป่วยและการใช้เครื่องมือต่างๆ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
บุคคล (Person) เป็นระบบตัวตนซึ่งประกอบด้วยลักษณะและความต้องการ
ทางชีวเคมี สรีระ และสัมพันธภาพ บุคคลที่มีวุฒิภาวะจะสามารถผสมผสานความต้องการและ ประสบการณ์อย่างมีแบบแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ แต่หากกระบวนการ ผสมผสานนี้ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกขัดขวางก็อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ คับข้องใจ เครียดและวิตกกังวล บุคคลจึงพยายามหาหนทางให้ตนเองสมหวังซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้าง สัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ
สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยภายนอกตัวบุคคลสิ่งแวดล้อมสำคัญ ท่ีมีผลต่อสุขภาพของบุคคล คือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ใช้บริการเป็นหน้าที่หลักท่ีพยาบาลต้องรับผิดชอบและดาเนินการเพื่อให้ผู้ใช้บริการบรรลุเป้าหมาย ของการมีภาวะสุขภาพที่ดี
สุขภาพ (Health) เป็นการเปลี่ยนแปลงของบุคคลไปในทางที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งภาวะสุขภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อความเครียดในบุคคลลดลงและถ่ายทอดออกมาเป็นพลังในทางสร้างสรรค์ พลังน้ีจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมท่ีก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดี จะเป็นพฤติกรรมที่ทาให้บุคคลรู้สึกพึงพอใจ
การพยาบาล (Nursing) เป็นกระบวนการระหว่างบุคคลเพราะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคน โดยพยาบาลใช้ความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยใน การให้การพยาบาลและบำบัดทางจิตเวช ท่ีเรียกว่า therapeutic nurse-patient relationship ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังน้ี
1) ระยะเร่ิมต้น (Orientation phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าเกิดปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลจะต้องสร้างความไว้วางใจกับผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยในการค้นหา ปัญหาหรือความต้องการการช่วยเหลือนั้น ช่วยให้ทำความเข้าใจกับปัญหา และตระหนักถึงสิ่งท่ีเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว
2) ระยะระบุปัญหา (Identification phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อผู้ท่ีสามารถแก้ไขปัญหาหรือให้ความช่วยเหลือเขาได้ สามารถระบุได้ว่าใครควรเป็นผู้ ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา และเร่ิมรู้สึกว่ามีความสามารถในการจัดการกับปัญหา พยาบาลจะช่วยให้ผู้ป่วยได้สำรวจความรู้สึกของตน และสามารถตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นได้
3) ระยะดำเนินการแก้ปัญหา (Exploitation phase) เป็นระยะของการให้ ความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วย พยาบาลต้องทำความเข้าใจ ให้การยอมรับ ห่วงใย เอาใจใส่ ไม่ตัดสินหรือใช้อารมณ์กับผู้ป่วย และช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ตนเองท่ีดีข้ึน ค้นพบ ความสามารถของตนเองเพื่อนำมาพัฒนาความสามารถในการปรับตัวและแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด
4) ระยะสรุปผล (Resolution phase) เป็นระยะสุดท้ายของการพยาบาลท่ีปัญหาของผู้ป่วยได้รับการแก้ไขแล้ว โดยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและพยาบาล เป็นการยุติ สัมพันธภาพเพื่อการบาบัด ซึ่งบางครั้งการยุติสัมพันธภาพอาจทาได้ยากเนื่องจากความต้องการพึ่งพา เพราะสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดมักมีความต่อเนื่อง ถ้าการยุติสัมพันธภาพสำเร็จลงด้วยดี ผู้ป่วย สามารถดูแลตนเองได้อิสระโดยไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากพยาบาลแสดงว่าผู้ป่วยเกิดการพัฒนา และเป็นความสำเร็จของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทุกระยะด้วย
เพ็พพลาวได้นำแนวคิดทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน มาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลจิตเวช
โดยได้พัฒนาเป็นแนวคิดของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อการบำบัด (Therapeutic nurse-patient relationship)
ลักษณะเป็นแบบ one-to-one relationship พยาบาลจะใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการบำบัดผู้ป่วย
นับเป็นทฤษฎีท่ีมีประโยชน์มากในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและเป็นหลักการพื้นฐานของการพยาบาลจิตเวชมา จนถึงปัจจุบัน
เพ็พพลาว กล่าวถึงบทบาทของพยาบาลจิตเวชในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ซึ่งบทบาทเหล่านี้ช่วยให้พยาบาลค้นพบความต้องการของผู้ป่วยและสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวฐานมาศ สุขใจ
61122230102 เลขที่ 94