Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Obsessive Compulsive Disorder โรคย้ำคิดย้ำทำ - Coggle Diagram
Obsessive Compulsive Disorder
โรคย้ำคิดย้ำทำ
ความหมาย
เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอาการย้ำคิดและหรือย้ำทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดซ้ำ ๆโดยผู้ป่วยตระนักดีว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่สมเหตุผล พยายามฝืนแต่ฝืนไม่ได้และผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล เครียด และมีอาการซึมเศร้า
สาเหตุ
พฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่น การล้างมือ การตรวจสอบสิ่งของอย่างละเอียดหรือกิจกรรมทางจิต เช่น การสวดมนต์ การนับ การพูดในใจซ้ำ ๆ ที่บุคคลรู้สึกว่าต้องทำเพื่อเป็นการตอบสนองแต่ไม่ได้เกี่ยวโยงอย่างมีเหตุผลกับสิ่งที่ผู้ป่วยกำหนดขึ้นมา
ประกอบด้วย
• ความคิด แรงผลักดัน หรือจินตภาพที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และคงอยู่นานในผู้ป่วยและในช่วงใดช่วงหนึ่งของความผิดปกติ ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือความทุกข์ใจอย่างมาก
• ความคิดหรือจินตภาพมีมากเกินไปเกี่ยวกับปัญหาชีวิตที่มีอยู่จริง
• ผู้ป่วยตระหนักเกี่ยวกับความคิด แรงผลักดันมีมาก
ปัจจัย
ปัจจัยทางชีวภาพ
• ในด้านการทำงานของสมอง พบว่าผู้ป่วยมีการทำงานของสมองเพิ่มขึ้นในสมองส่วน orbitofrontal cortex, cingulate cortex, caudate และ thalamus บริเวณเหล่านี้อาจรวมกันเป็นวงจรที่มีการทำงานมากเกินปกติในผู้ป่วย OCD
• ในด้านระบบประสาทสื่อนำประสาท เชื่อว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในระบบซีโรโตนิน (serotonin) โดยพบว่า ยาแก้ซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ต่อระบบซีโรโตนิน มีประสิทธิภาพในการรักษา OCD
• ในด้านพันธุกรรม พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค โดยพบว่าอัตราการเกิดโรคในแฝดไข่ใบเดียวกัน(monozygotic twins) เท่ากับ ร้อยละ 60-90 ในขณะที่ในประชากรทั่วไป พบร้อยละ 2-3
ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ เชื่อว่าการเกิดภาวะเงื่อนไข มีบทบาทสำคัญในการเกิดอาการย้ำคิด โดยสถานการณ์ปกติถูกเชื่อมโยงกับสถานการณ์อันตราย จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล สำหรับอาการย้ำทำนั้นผู้ป่วยเรียนรู้ว่า การกระทำบางอย่างช่วยลดความกังวลลงได้ จึงเกิดเป็นแบบแผนพฤติกรรม
การรักษา
การรักษาด้วยยา
1.ยาแก้ซึมเศร้า เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อ ระบบซีโรโตนิน เช่น clomipramine และยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ทุกตัว ได้แก่ fluoxetine, fluvoxamine, paroxetine, sertraline และescitalopram โดยทั่วไปมักใช้ในขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า อาการข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
2.ยาคลายกังวล ในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลอยู่สูงอาจใช้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ในระยะสั้น ๆ ยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการรักษาอาการย้ำคิด หรืออาการย้ำทำ
3.ยาต้านโรคจิต ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้เศร้าแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านโรคจิต เช่น risperidone ควบคู่ไปกับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
การรักษาวิธีอื่น
• การรักษาวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การทำจิตบำบัดรายบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการได้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
• การให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย แพทย์ควรแนะนำสมาชิกในครอบครัวถึงอาการของโรค แนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำให้มีท่าทีเป็นกลางต่ออาการของผู้ป่วย
• การรักษาที่ได้ผลดี คือ พฤติกรรมบำบัด โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำที่เคยกระทำ
• ในรายที่อาการรุนแรง อาจมีการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฝังแท่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) หรือ การผ่าตัด ( cingulotomy )
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นและไว้วางใจ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกายอย่างเหมาะสม
ให้เวลาผู้ป่วยสำหรับการทำกิจกรรมที่เขาย้ำทำไม่ตำหนิหรือห้ามปรามทันทีทันใด
อธิบายกิจวัตรกฎระเบียบหรือการเปลี่ยนแปลงที่มีภายในหอผู้ป่วย
แสดงความเข้าอกเข้าใจและรู้ถึงความต้องการที่จะต้องทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ของเขา
ช่วยผู้ป่วยในการเชื่อมโยงพฤติกรรมกับความรู้สึก
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรม เล่นเกม หรือทำงานเพื่อดึงความสนใจ ความคิด และการกระทำของผู้ป่วยให้มุ่งไปที่เรื่องอื่น ๆ บ้าง
นำวิธีการของพฤติกรรมบำบัดมาใช้ในการปรับพฤติกรรม
ให้แรงเสริมและยอมรับพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง