Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยชุมชน - Coggle Diagram
การวินิจฉัยชุมชน
1.การประเมินชุมชน
(community assessment)
ความหมาย
การที่พยาบาลอนามัยชุมชนเข้าไปศึกษาชุมชนเพื่อหาข้อมูลและประเมินสภาพของชุมชนในด้านต่าง ๆ ทั้งกายภาพ ชีวภาพ ความเป็นอยู่ ระบบวิธีคิด อาขีพ ความสัมพันธ์ในชุมชน สภาวะด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนปัญหาและปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชน
ขั้นตอนการประเมินชุมชน
การวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล
การสรุปผลข้อมูล
การทำแผนที่
3.การวางแผนแก้ปัญหาอนามัยชุมชน(community planning)
ความหมาย
การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดความต้องการ วิธีการปฏิบัติ และผลของการกระทำในอนาคต โดยใช้หลักวิชาการ เหตุผลของข้อมูลและปัญหามาประกอบการพิจารณา ทำให้ทราบว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด และอย่างไร เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปในแนวทางที่กำหนด
ประเภทของแผน
แบ่งตามเวลา เป็นแผนที่อาศัยเวลาดำเนินงานของแผนเป็นตัวกำหนด
1. แผนระยะยาว
ระยะดำเนินงาน 5-10 ปี ขึ้นไปมีลักษณะเป็นนโยบายหรือหลักการที่กำหนดขึ้น มีนโยบาย และทิศทางการแก้ปัญหาอย่างกว้างๆ เพื่อถือปฏิบัติและเป็นแนวทางในการควบคุมการกระทำ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. แผนระยะปานกลาง
ระยะดำเนินงานอยู่ระหว่าง 2-5 ปี เป็นแผนที่อาศัยกรอบเค้าโครงจากแผนระยะยาว เช่น แผนระดับกระทรวง
3. แผนระยะสั้น
ระยะดำเนินงานอยู่ระหว่าง 2 ปี ลงไป อาศัยเค้าโครงจากแผนระยะปานกลางและแผนที่กำหนดกิจกรรมเพียงครั้งเดียว เช่น แผนระดับท้องถิ่น
การปฏิบัิติตามแผนงาน (community implementation)
เป็นการนำโครงการซึ่งได้วางแผนไว้แล้วมาปฏิบัติ โดย
ผสมผสานการทำงานของหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน (intersectoral coordination)
กระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม (community participation)
นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม (appropriate technology)
จัดบริการต่าง ๆ ให้ต้องครอบคลุมผู้รับบริการ (accessibility)
การทำแผนปฏิบัติงาน
มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นเตรียมงาน
เตรียมความพร้อมของทีม การประชุมปรึกษา กำหนดตัวบุคคลและการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดแนวทางการประสานงาน
เตรียมความพร้อมของทรัพยากรและงบประมาณ เครื่องมือที่จะนำไปใช้
การประชาสัมพันธ์ แจ้งให้ประชาชนทราบ วันเวลา วัตถุประสงค์ ให้ได้รับรู้ ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำงาน
[ขั้นดำเนินงาน](
)
กำหนดกิจกรรมหรือแนวการปฏิบัติงานแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบ ทรัพยากร งบประมาณ
การปฏิบัติงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต้องมีการบริหารจัดการ การอำนวยการ มอบหมายงาน จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการควบคุมกำกับ เพื่อดูว่าการดำเนินงานมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด มีปัญหาหรืออุปสรรคหรือไม่
การปฏิบัติงานตามแผนงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ ต้องอาศัย
กลุ่มบุคคลร่วมทำงานเป็นทีม
จึงควรมีหลักในการทำงาน
ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพในการทำงาน
สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในทีมงาน ผู้ร่วมงานและประชาชน
กระตุ้นให้ผู้ร่วมทีมและประชาชนมีอารมณ์ร่วมในการทำงาน
การทำงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ควรยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์
2.การวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน
(community diagnosis)
ความหมาย
เป็นการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอะไรคือปัญหา อะไรคือสาเหตุ และงบประมาณที่จำกัดจึงต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหาว่าจะแก้ไขปัญหาใดก่อนหลัง
ขั้นตอนการวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน
2.การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (Priority Setting)
โดยใช้วิธีคำนวณคะแนนเพื่อประกอบการตัดสินใจจากเกณฑ์
1 ขนาดของปัญหา จำนวนผู้ที่ประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบ
2 ความรุนแรงของปัญหา ก่อให้เกิดความเสียหาย เกิดความพิการ อันตรายถึงแก่ความตาย
3 ความยากง่ายในการแก้ปัญหา มีทรัพยากรเพียงพอ เวลา ความรู้ด้านวิชาการ กฎหมาย ศีลธรรม
4 ความสนใจหรือความวิตกกังวลของชุมชนต่อปัญหา ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและวิตกกังวลต่อปัญหา
3. การศึกษาสาเหตุของปัญหาอนามัยชุมชน
คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา หาข้อมูลสนับสนุนปัญหาเพิ่มเติม เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริง ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดปัญหานั้น ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนแก้ปัญหาได้ตรงตามความจริง
1. การระบุปัญหาอนามัยชุมชน (Identify problem)
ใช้หลัก 5 D
3.โรค (disease)
4.ความไม่สุขสบาย (discomfort)
2.พิการ/การไร้ความสามารถ (disability)
5.ความไม่พึงพอใจ (dissatisfaction)
1.ตาย (death)
เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือค่ามาตรฐานสากล เช่น องค์การอนามัยโลก หรือ จปฐ
กระบวนการกลุ่ม (nominal group process)
โดยให้ชุมชน ผู้นำ หรือประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าอะไรเป็นปัญหา เสนอเสียงสนับสนุนรับรองปัญหา