Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injuly) - Coggle Diagram
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injuly)
การบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกต้นขาหัก
มักพบในรายคลอดท่าก้นทางช่องคลอด
การเคลื่อนหลุดของข้อต่อ
เกิดจากทารกอยู่ในท่าผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จากภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
กระดูกต้นแขนหัก
ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ คลอดติดไหล่ ทารกมีขนาดใหญ่ การคลอดท่าก้น การผ่าตัดในรายที่ทารกไม่ได้มีศีรษะเป็นส่วนนำ และทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid
อาจมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ขณะทำคลอดท่าก้น ทำให้เกิดเป็นก้อนเลือดในกล้ามเนื้อ เมื่อทารกโตขึ้นกล้ามเนื้อด้านที่มีการบาดเจ็บไม่สามารถยืดขยายได้เท่ากับข้างปกติ ทำให้เกิดภาวะคอเอียง (torticollis) ศีรษะของทารกจะเอียงไปทางด้านที่มีการบาดเจ็บต้องรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด บางรายอาจต้องผ่าตัดรักษา
กระดูกไหปลาร้าหัก
-กระดูกไหปลาร้าเป็นตำแหน่งที่พบการหักได้บ่อยที่สุดสำหรับทารกแรกคลอด มักสัมพันธ์กับการคลอดยาก
-มีพยากรณ์โรคดี สามารถหายได้เองไม่มีผลระยะยาว ควรให้การปรึกษาพ่อแม่เพื่อลดความวิตกกังวล อาจให้ยาแก้ปวดและลดการเคลื่อนไหวของแขนเพื่อลดความเจ็บปวด
การหักของกระดูกอื่นๆ
ได้แก่กระดูกจมูก กระดูกขากรรไกร กระดูกใบหน้า และ septal cartilage อาจทำให้ทารกหายใจลำบากและมีปัญหาการดูดนม
การบาดเจ็บของระบบประสาท
การบาดเจ็บของ Laryngeal nerve
อาจทำให้เกิด paralysis ของเส้นเสียงทำให้ทารกหายใจลำบาก เสียงแหบ ร้องเบา ไม่มีเสียงร้อง กลืนลำบากและสำลัก
การบาดเจ็บของเส้นประสาทไขสันหลัง
พบไม่บ่อย เกิดจากการถูกดึงรั้งของบริเวณลำคอขณะช่วย
คลอดไหล่หรืออาจเกิดจากการบิด
การบาดเจ็บของ Phrenic nerve
มักเกิดร่วมกับการบาดเจ็บของ brachialplexus ทารกจะมีอาการหายใจลำบาก เสียงหายใจลดลง มักพบอาการตั้งแต่แรก
คลอด
การบาดเจ็บของเส้นประสาทของใบหน้า
เกิดจากเส้นประสาทคู่ที่7 (facial nerve) ถูกกด การบาดเจ็บของเส้นประสาท mandibular branch ทำให้ทารก เคลื่อนไหวใบหน้าด้านเดียวกับที่มีการบาดเจ็บ หนังตาปิดไม่สนิท
และไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างได้
การบาดเจ็บของ Brachial plexus
พบได้บ่อย ปัจจัยที่สำคัญคือ ทารกมี
น้ำหนักตัวมากและคลอดท่าก้น แบ่งได้ 3 ชนิด
Klumpke paralysis เกิดจาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับC8 และ T1 อาจทำให้มือทารกข้างที่บาดเจ็บไม่มีแรง
Total brachial plexus paralysis หากมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ประกอบเป็น brachial plexus ทั้งหมด ทำให้ทั้งมือและแขนของทารกมีอาการอ่อนแรง
Erb หรือ Duchenne paralysis เกิดจากการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับ C5 C6 และอาจมีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับ C7 ร่วมด้วย ทารกที่ได้รับการบาดเจ็บชนิดนี้ทารกจึงอยู่ในท่าแขนเหยียดตรง หมุนเข้าด้านในข้อศอกเหยียดข้อมือและนิ้วมืองอ
การบาดเจ็บของอวัยวะภายในช่องท้อง
พบไม่บ่อย ปัจจัยเสี่ยงได้แก่คลอดท่าก้นทางช่องคลอดและทารกที่มีขนาดใหญ่ การบาดเจ็บของอวัยวะภายในช่องท้องที่พบบ่อยที่สุด คือ ตับแตก
การบาดเจ็บที่ศีรษะ
Subgaleal hemorrhage
เลือดออกคั่งอยู่ใน subgaleal space ระหว่าง periostreum ของกะโหลกศีรษะกับ aponeurosis จากการฉีกขาดของเส้นเลือด
เลือดออกในสมอง (intracranial hemorrhage)
พบทั้งในทารกคลอดครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนด พบบ่อยในคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 20 ทารกคลอดก่อนกำหนดมักเป็น periventricular หรือ intraventricular hemorrhage โดยเกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดในสมองส่วน subepenndymal germinal matrix
Cephalhematoma
เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดใต้ชั้น periostreum ทำให้มีเลือดออกใต้ต่อ periostreum พบบ่อยบริเวณกระดูก parietal และ occipital bone ลักษณะที่ตรวจพบจะคลำได้เป็นก้อน ขอบเขตชัดเจน โดยอยู่บนกระดูกชิ้นเดียวไม่ข้าม suture lines ซึ่ง Cephalhematoma มักทำให้เสียเลือดเพียงเล็กน้อยแต่อาจทำให้เกิดภาวะซีดหรือตัวเหลืองได้
Caput succedaneum
คือการบวมของบริเวณศีรษะเหนือ periostreum ส่วนที่บวมจึงอาจข้าม suture lines ได้ บริเวณที่บวมคลำขอบได้ไม่ชัดเจน ตรวจพบตั้งแต่แรกคลอด มักมีขนาดเล็กลงและหายไปเองภายใน เวลาเป็นชั่วโมงหรือ 2-3 วัน
กะโหลกศีรษะแตก
พบในทารกที่ใช้เครื่องมือช่วยคลอด มักเป็นการแตกในแนวเส้นตรง ซึ่งพบร่วมกับ Cephalhematoma
การบาดเจ็บของ
Soft tissue
Subcutaneous of necrosis
เกิดจากการขาดเลือดของเนื้อเยื่อไขมันบริเวณที่พบบ่อยคือไหล่และก้น
บาดแผลฉีกขาด
เป็นการบาดเจ็บจากการคลอดที่พบบ่อยที่สุดในการผ่าท้องคลอด ที่พบบ่อยคือ บริเวณส่วนนำ ส่วนใหญ่เกิดในรายที่ผ่าคลอดฉุกเฉินที่ต้องทำผ่าตัดอย่างรวดเร็ว
Bruising and petechiae
ลักษณะผิวหนังบวมช้ำและมีจุดเลือดออก
ความหมาย
การที่ทารกได้รับอันตรายจากกระบวนการคลอด ซึ่งส่งผลให้
มีการบกพร่องของการท างาน หรือความผิดปกติทางโครงสร้างของร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ทารกมีขนาดใหญ่
ภาวะอ้วนของหญิงตั้งครรภ์
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
-การทำสูติศาสตร์หัตถการเพื่อช่วยคลอด
การบาดเจ็บของบริเวณใบหน้า
การบาดเจ็บของจมูก
เกิดได้จากการที่จมูกของทารกถูกกดอยู่กับกระดูก symphysis pubis หรือ promontory of sacrum หากรุนแรงอาจทำให้ทารกหายใจลำบาก
การบาดเจ็บบริเวณดวงตา
การบาดเจ็บเล็กน้อยบริเวณดวงตา ที่พบบ่อยได้แก่ หนังตาบวม retinal hemorrhage (มักหายในเวลา 1-5 วัน) subconjunctival hemorrhage (มักหายในเวลา 1-2 สัปดาห์)