Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (Orem’s self-care theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม
(Orem’s self-care theory)
3)ทฤษฎีระบบการพยาบาล
(The theory of nursing system)
ระบบทดแทนบางส่วน
(Partly compensatory nursing system)
เป็นระบบการพยาบาลที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโดยขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถของ ผู้ป่วย เป็นการชดเชยให้บางส่วน โดยให้การพยาบาลเฉพาะสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ เช่น การช่วย ผู้ป่วยในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น และการร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้
(Educative supportive nursing system)
เป็นระบบการพยาบาลที่เน้นการให้การศึกษา การสอน และให้ คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
ระบบทดแทนทั้งหมด
(Wholly compensatory nursing system)
เป็นบทบาทของพยาบาลที่ต้องกระทำเพื่อทดแทนความสามารถของผู้ป่วย โดยการชดเชยให้ทั้งหมด เป็นการพยาบาลผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
บุคคล (Person)
เป็นผู้ที่มีความสามารถในการผสมผสานการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสังคม โอเรมเชื่อว่า บุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การที่บุคคลตอบสนองความต้องการดูแลตนเองไม่ใช่การตอบสนองด้วยสัญชาตญาณ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ถ้าบุคคลไม่สามารถ เรียนรู้วิธีการดูแลตนเองได้จะต้องมีผู้อื่นเรียนรู้และกระทำทดแทน
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาล
สุขภาพจิตและจิตเวช
พยาบาลต้องประเมินความสามารถของบุคคลในการดูแลตนเองและสามารถแยกแยะ ความบกพร่องในการดูแลตนเองของบุคคล เพื่อที่จะสามารถกำหนดวิธีการปฏิบัติการพยาบาลให้ตรง และสนองตอบกับความต้องการของผู้ป่วย โดยการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ สอน ให้กำลังใจ และ การจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงความต้องการได้ รวมทั้งสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนได้ใช้ความสามารถในการดูแลตนเองในการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาทางจิต ดูแลช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และชุมชนเมื่อเกิดปัญหาทางจิตได้ แต่หากบุคคลไม่สามารถ ปฏิบัติการดูแลตนเองได้ พยาบาลจะเป็นผู้ช่วยเหลือและชดเชยในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ
สุขภาพ (Health)
เป็นภาวะของร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสังคมที่เป็นความต่อเนื่องกันโดยไม่สามารถแยกจากกันได้ บุคคลที่มีสุขภาพดีจะมีโครงสร้างที่ สมบูรณ์ สามารถท าหน้าที่ของตนได้ และมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง การพยาบาล (Nursing) เป็นการช่วยเหลือบุคคลให้สามารถดูแลสุขภาพของ ตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับความต้องการในการดูแลตนเอง กระบวนการพยาบาลจะ มุ่งเน้นในการช่วยเหลือบุคคลต่อการดูแลสุขภาพ
สิ่งแวดล้อม (Environment)
เป็นลักษณะทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และ สังคมวัฒนธรรม บุคคลกับสิ่งแวดล้อมมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่สามารถแยกจากกนัได้ สิ่งแวดล้อม จะมีผลทั้งทางบวกและทางลบต่อการด าเนินชีวิต สุขภาพ ความผาสุกของบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน
2)ทฤษฎีความบกพร่องในการดูแลตนเอง
(The theory of self-care deficit)
3)ความต้องการมากกว่าความสามารถ
(Demand is greater than abilities: TSCD > SCA)
2)ความต้องการน้อยกว่าความสามารถ
(Demand is less than abilities: TSCD < SCA)
1)ความต้องการที่สมดุล
(Demand is equal to abilities: TSCD = SCA)
1)ทฤษฎีการดูแลตนเอง
(The theory of self- care)
ความสามารถในการดูแลตนเอง
(Self-care agency: SCA)
เป็น ความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกจิกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ โดยมีความแตกต่างกันไปตามระยะพัฒนาการ
ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด
(Therapeutic self-care demand: TSCD)
ความต้องการการดูแลตนเองตามระยะพัฒนาการ
(Developmental self-care requisites: DSCR)
เป็นความต้องการที่นำมาใช้ในกระบวนการ พัฒนาการของบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางช่วง เช่น การตั้งครรภ์ และการสูญเสียบุคคลอัน เป็นที่รัก เป็นต้น
ความต้องการการดูแลตนเองตามการเบี่ยงเบนทางสุขภาพ
(Health deviation self-care requisite: HDSCR)
เป็นความต้องการการดูแตนเองเมื่อบุคคลอยู่ใน ภาวะเจ็บป่วยหรือได้รับอันตราย มีความพิการ หรือความผิดปกติในโครงสร้างการทำหน้าที่ของ ร่างกาย
ความต้องการการดูแลตนเองโดยทั่วไป
(Universal selfcare requisites: USCR)
เป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคนในทุกๆช่วงชีวิต เป็นกระบวนการของ ชีวิตเพื่อรักษาโครงสร้าง การทำหน้าที่ ตลอดจนความผาสุกของบุคคล ในเรื่องอากาศ น้ำ อาหาร การ ขับถ่ายของเสีย การทำกิจกรรมและการพักผ่อน การมีเวลาส่วนตัวและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การ ป้องกันอันตรายต่อชีวิต และการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการในสังคม
การดูแลตนเอง
(Self-care: SC)
เป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคล กระท าด้วยตนเองเพื่อดำรงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุก เมื่อการกระทำนั้นมีประสิทธิภาพจะมี ส่วนช่วยให้โครงสร้าง หน้าที่ และพัฒนาการดำเนินไปถึงขีดสูงสุดของแต่ละบุคคลเพื่อตอบสนอง ความต้องการในการดูแลตนเอง (Self-care requisites )