Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (Orem’s โดโรธี อี โอเรม self-care theory) -…
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม
(Orem’s โดโรธี อี โอเรม self-care theory)
หลักของทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม
สิ่งแวดล้อม (Environment)
เป็นลักษณะทางกายภาพ เคมี ชีวภาพและสังคมวัฒนธรรมบุคคลกับสิ่งแวดลัอมมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่สามารถแยกจากกันได้
สิ่งแวดล้อมจะมีผลทั้งทางบวกและทางลบต่อการดำเนินชีวิตสุขภาพ ความผาสุกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
บุคคล (preson)
ผู้ที่มีความสามารถในการทำหน้าที่ในด้านต่างๆเข้าด้วยกันทั้งร่างกายจิตใจสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและสังคม
โอเร็มเชื่อว่าบุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
สุขภาพ (Hralth)
เป็นภาวะของร่างกายและจิตใจสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและสังคมที่เป็นความต่อเนื่องกันโดยไม่สามารถแยกจากกัน
บุคคลที่มีสุขภาพดีจะมีโครงสร้างที่สมบูรณ์สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้และมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนือง
การพยาบาล (Nursing)
เป็นการช่วยเหลือบุคคลให้ความสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับความต้องการในการดูแล
กระบวนการพยาบาลจะมุ่งเน้นการช่วยเหลือบุคคลต่อการดูแลสุขภาพ
ทฤษฎี
ทฤษฎีการดูแลตนเอง(The theory of self-care)
การดูแลตนเอง (self-care:SC)
การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลกระทาด้วยตนเองเพื่อดารงไว้ซึ่งชีวิตสุขภาพและความผาสุก
การกระทานั้นมีประสิทธิภาพจะมีส่วนช่วยให้โครงสร้างหน้าที่และพัฒนาการดาเนินไปถึงขีดสูงสุดของแต่ละบุคคล
ความสามารถในการดูแลตนเอง (Self-care agency: SCA)
ความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจโดยมีความแตกต่างกันไปตามระยะพัฒนาการ
ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic self-care demand: TSCD)
ความต้องการการดูแลตนเองตามระยะพัฒนาการ (Developmental self-care requisites: DSCR)
เป็นความต้องการที่นำมาใช้ในกระบวนการพัฒนาการของบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางช่วงยกตัวอย่างเช่นเช่นการตั้งครรภ์และการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
ความต้องการการดูแลตนเองตามการเบี่ยงเบนทางสุขภาพ (Health deviation self-care requisite: HDSCR)
เป็นความต้องการการดูแตนเองเมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วยหรือได้รับอันตรายมีความพิการหรือความผิดปกติในโครงสร้างการทำหน้าที่ของร่างกาย
ความต้องการการดูแลตนเองโดยทั่วไป (Universal self- care requisites: USCR)
เป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคนในทุก ๆ ช่วงชีวิต
การทำกิจกรรมและการพักผ่อนการมีเวลาส่วนตัวและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นการป้องกันอันตรายต่อชีวิตและการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการในสังคม
ทฤษฎีความบกพร่องในการดูแลตนเอง (The theory of self-care deficit)
เป็นการกำหนดว่าเมื่อบุคคลต้องการความช่วยเหลือจากพยาบาลซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ถ้าเป็นความพร่องในการดูแลตนเองทั้งหมดแสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีความสามารถในการดูแลตนเองได้เลย
เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง
ความสามารถในการดูแลตนเอง (Self-care agency)
ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic self-care demand: TSCD
ความสัมพันธ์มี 3 ลักษณะ
ความต้องการน้อยกว่าความสามารถ (Demand is less than abilities: TSCD <SCA)
ความต้องการมากกว่าความสามารถ (Demand is greater than abilities: TSCD> SCA)
ความต้องการที่สมดุล (Demand is equal to abilities: TSCD = SCA)
ทฤษฎีระบบการพยาบาล (The theory of nursing system)
กำหนดรูปแบบการพยาบาลเพื่อช่วยบุคคลให้สามารถเรียนรู้ฝึกฝนในการดูแลสุขภาพด้วยความสามารถดูแลตนเองหรือบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์และต่อเนื่อง
ส่งเสริมให้บุคคลสามารถดูแลตนเอง
ประเมินความต้องการในการดูแลตนเองความสามารถในการดูแลตนเองและความพร่องในการดูแลตนเอง
ระบบทดแทนบางส่วน (Partly compensatory nursing system)
เป็นระบบการพยาบาลที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโดยขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถของผู้ป่วยเป็นการชดเชยให้บางส่วนโดยให้การพยาบาลเฉพาะสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
เช่นการช่วยผู้ป่วยในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นและการร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (Educative supportive nursing system)
เป็นระบบการพยาบาลที่เน้นการให้การศึกษาการสอนและให้คาแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
ระบบทดแทนทั้งหมด (Wholly compensatory nursing system)
เป็นบทบาทของพยาบาลที่ต้องกระทาเพื่อทดแทนความสามารถของผู้ป่วยโดยการชดเชยให้ทั้งหมดเป็นการพยาบาลผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
เพื่อสามารถกำหนดวิธีการปฏิบัติการพยาบาลให้ตรงและสนองตอบกับความต้องการของผู้ป่วยโดยการให้ความช่วยเหลือแนะนำสอนให้กำลังใจและการจัดสภาพแวดล้อม
สนับสนุนให้บุคคลครอบครัวและชุมชนได้ใช้ความสามารถในการดูแลตนเองในการส่งเสริมสุขภาพจิตการป้องกันปัญหาทางจิตดูแลช่วยเหลือตนเองครอบครัวและชุมชนเมื่อเกิดปัญหาทางจิตได้
พยาบาลต้องประเมินความสามารถของบุคคลในการดูแลตนเองและสามารถแยกแยะความบกพร่องในการดูแลตนเองของบุคคล
โดโรธีอีโอเรม
ควบคุมความสามารถในการดูแลตนเองซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะกระทำด้วยตนเองหรือพึ่งพาผู้อื่นการดูแลตนเองมีเป้าหมายและเป็นสิ่งที่จาเป็นสำหรับมนุษย์ในการสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างการทำหน้าที่ต่างๆและการพัฒนาเพื่อการมีสุขภาพที่ดี