Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Sullivan, นางสาวนภาพร หาดสูง รหัส61122230072…
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Sullivan
ผู้คิดค้น
ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีคือ Harry Stack Sullivan
Sullivan ให้แนวความคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันนี้เองคือรากฐานของบุคลิกภาพ เพราะว่าทันทีท่ีคนเราเกิดมาในโลก เราไม่สามารถจะอยู่โดยลำพังตนเองได้อย่างน้อยคนเราท่ีเร่ิมมีความสัมพันธ์กับุคคลอื่นแล้วหนึ่งคนคือผู้ให้กำเนิดเลี้ยงดูเราจากนั้นเราก็ต้องเก่ียวข้องสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆตลอดชีวิต
โดยนิยามบุคลิกภาพว่า “ เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ในการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล”
แนวคิดหลักของทฤษฎี
เป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลผ่านการมีสัมพันธภาพและเป็นการลดความวิตกกังวล ความวิตกกังวลเป็นความรู้สึกเจ็บปวดจากความรู้สึกที่ไม่ได้รับความมั่นคง ปลอดภัย และความพึงพอใจทางสรีระวิทยา แสดงออกได้3ลักษณะดังนี้
1.ความวิตกกังวลที่เริ่มมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดจากความวิตกกังวลของมารดาถ่ายทอดไปสู่บุตร
2.ความวิตกกังวลสามารถอธิบายและสังเกตได้บุคคลที่อยู่ในภาวะวิตกกังวลสามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไรและแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร
3.บุคคลพยายามที่จะดิ้นรนเพื่อขจัดความวิตกกังวลและเพิ่มความมั่นคงให้กับตนเองตัวอย่างเช่น เด็กพยายามเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลที่เกิดจากการถูกลงโทษ
ลักษณะของทฤษฎี
มีเป้าหมาย2ประการ
1.เป้าหมายเพื่อไปสู่ความพึงพอใจ (Satisfaction) ซึ่งเน้นความต้องการทางสรีรวิทยาเช่น ความหิว การนอนหลับพักผ่อน และความต้องการทางเพศ
2.เป้าหมายเพื่อไปสู่ความมั่นคง(Security) เป็นความต้องการเพื่อความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ต้องการได้รับการยอมรับในสังคมซึ่งเกิดจากการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ระบบแห่งตน (Self-system)
ตามแนวคิดของซัลลิแวนมีดังนี้
ฉันดี (Good me) เป็นการมองภาพตนเองว่าเป็นคนดีซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับความพึงพอใจการยอมรับจากบุคคลสําคัญในชีวิตเช่นได้รับการดูแลอย่างอบอุ่นและการยอมรับจากมารดา
ฉันเลว (Bad me) เป็นการมองภาพตนเองว่าเป็นคนไม่ดีเป็นคนเลว
ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับหรือการสนับสนุนจากบุคคลสําคัญในชีวิตเช่นมารดาปฏิเสธการให้ความรัก ความอบอุ่นทอดทิ้ง
ไม่ใช่ฉัน (Not me) เป็นการปฏิเสธตนเองเป็นผลมาจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อความวิตกกังวลสูงเป็นเพราะปฏิสัมพันธ์ของมารดากับทารกนั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวเช่นบางครั้งก็ห้าม บางครั้งก็กอดรัดบางครั้งก็ไล่
การประยุกต์ใช้
ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
การบําบัดผู้ป่วยจึงควรทําโดยให้ความรู้และช่วยให้ผูป่วยเกิดความเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยการให้ความเคารพนับถือผู้ป่วยยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขและมีความเห็นอกเห็นใจ(Empathy) นอกจากนี้การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบําบัดทางจิตในลักษณะบรรยากาศของการยอมรับจะเป็นโอกาสในการฝึกทักษะและพัฒนาการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
นางสาวนภาพร หาดสูง รหัส61122230072 เลขที่65