Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical model), นางสาว จันทนา…
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical model)
แนวคิดหลักของทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์
1) บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์และจิตใจ คือ ผู้ท่ีเจ็บป่วย เช่นเดียวกับผู้ป่วยทางกายโรคอืนๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง
2) สาเหตุการเจ็บป่วย เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของการทางานของสมอง โดยเฉพาะ limbic system และ synapse ในระบบประสาทส่วนกลาง ปัจจัยท่ีเก่ียวข้องกับความ เจ็บป่วยประกอบด้วย สารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ท่ีมีมากหรือน้อยเกินไป การ เปลี่ยนแปลงของจังหวะการทางานของชีวภาพของร่างกาย
3) ความเจ็บป่วยจะมีลักษณะของโรคและมีอาการแสดงท่ีสามารถนามาใช้ เป็นข้อมูลในการวินิจฉัยและจาแนกโรคได้
4) โรคทางจิตเวชมีการดาเนินโรคที่แน่นอนและสามารถพยากรณ์โรคได้
5) โรคทางจิตเวชสามารถรักษาได้โดยการรักษาแบบฝ่ายกาย เช่น การรักษา
ด้วยยา
6) แนวความคิดที่ว่าโรคจิตมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางชีวภาพ ช่วยลด ความรู้สึกเป็นตราบาป (Stigma) ของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งลดเจตคติของสังคมที่ว่าการ เจ็บป่วยทางจิตมาจากบุคลิกภาพท่ีอ่อนแอของบุคคลหรือจากการผิดศีลธรรมของบุคคล
สาเหตุของความผิดปกติทางจิต
1) พันธุกรรม (Genetic)
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าความชุกของการเกิดความผดิปกติทางจิตเวช มีความสัมพันธ์กับประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวชของบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) และโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
2) สารสื่อประสาท (Neurotransmitters)
สารส่ือประสาทในสมองที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติทางจิต แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
2.1) Monoamines สารสื่อประสาทสาคัญ คือ dopamine มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ และด้านอารมณ์ norepinephrine มี ผลต่อระบบประสาทอัตโนมตัิของบคุคลและserotoninโดยdopamineและnorepinephrineท่ี มีมากเกินไปจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคจิตเภท (Schizophrenia) และแมเนีย (Mania) แต่หากมีน้อย เกินไปจะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และภาวะซึมเศร้า (Depression) ขณะที่ serotonin ที่มากเกินไปจะกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล แต่หากมีน้อยเกินไป
จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า
2.2) Amino acid สารส่ือประสาทสาคัญ คือ GABA (Gamma-
aminobytyric acid) ซ่ึงทาหน้าที่ลดความตื่นเต้น ลดความวิตกกังวล หากพบว่ามีสารนี้น้อยจะ สัมพันธ์กับการเกิดโรคจิตเภทและแมเนีย
2.3) Neuropeptide สารส่ือประสาทสาคัญ คือ somatostatin neurotensin และ substance P ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และความเจ็บปวด
2.4) Cholinergics สารส่ือประสาทสาคัญ คือ acetylcholine มีบทบาท เก่ียวข้องกับการเรียนรู้ การจา การควบคุมอารมณ์ การนอนหลับ และการต่ืนตัว หากมีน้อยเกินไปจะ สัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า และหากมีมากเกินไปจะมีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว
3) ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสมอง (Structure and functional of brain)
3.1) Cerebrum เป็นสมองส่วนที่มีขนาดใหญ่ท่ีสุด ทาหน้าท่ีสาคัญ เก่ียวกับการรู้สึกตัว การคิด การเคลื่อนไหว และการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ส่วน
3.1.1) Frontal lobe ทาหน้าท่ีควบคุมระบบการทางานของ ความคิด การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความจา การแสดงออกทางอารมณ์ ความสามารถในการแก้ไข ปัญหา และการตัดสินใจ หากมีความผิดปกติของสมองส่วนนี้จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคจิตเภท โรค สมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) โรคสมองเสื่อม (Dementia) และ
การแสดงออกทางอารมณ์
3.1.2) Temporal lobe เป็นศูนย์กลางของรับรู้การได้กลิ่นและ
การได้ยิน รวมท้ังความจา และการแสดงออกทางอารมณ์ หากมีความผิดปกติของสมองส่วนนี้อาจพบ อาการ เช่น หูแว่ว
3.1.3)Parietal lobeเกี่ยวข้องกับการแปรผลการรับรสการ สัมผัส รวมทั้งการอธิบายถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว การคิดอย่างเป็นระบบ มีข้ันตอน หากมีความผิดปกติ ของสมองส่วนนี้
3.1.4) Occipital lobe เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาและการมองเห็น หากมีความผิดปกติของสมองส่วนนี้อาจพบอาการ เช่น การเห็นภาพหลอน
3.3) Cerebellum เป็นศูนย์กลางในการทางานที่เก่ียวข้องกับการ เคลื่อนไหวและการทรงตัว รับข้อมูลจากส่วนของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ อวัยวะ และ ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง การยับยั้ง dopamine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทใน
บริเวณนี้เกี่ยวข้องกับอาการของโรคพาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อม
3.4) Limbic system ประกอบด้วย thalamus, hypothalamus,hippocampus และ amygdala โดย thalamus จะควบคุมการกระทา ความรู้สึก และอารมณ์ hypothalamus จะเก่ียวข้องกับการทาให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลเช่นอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมความอยากอาหาร การทางานของต่อมไร้ท่อ ความต้องการทางเพศ ส่วนhippocampus และ amygdala ทาหน้าท่ีเกี่ยวข้องกับการควบคุมสภาวะทางอารมณ์และความจา หากมีความผิดปกติของสมองระบบน้ีอาจเก่ียวข้องกับการเจ็บป่วยทางจิต เช่น การสูญเสียความจา พร้อมกับการเกิดโรคสมองเสื่อม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และการแสดงพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นในผู้ป่วยโรคจิตเภทและแมเนีย
3.2) Brainstem ประกอบด้วย midbrain, pons และ medulla oblongata หากมีความผิดปกติของสมองส่วนนี้อาจพบอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
4) พัฒนาการของเซลล์ประสาท (Neural development)
ความผิดปกติของโครงสร้างสมองอาจมาจากการพัฒนาโครงสร้างระบบ ประสาทขณะอยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะช่วง 20 สัปดาห์แรกของการต้ังครรภ์ ซ่ึงความผิดปกติน้ีอาจเกิด จากการติดเช้ือหรือจากภาวะแทรกซ้อนในระหว่างท่ีมารดาตั้งครรภ์หรือมารดาเสพสารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ จะทาให้เกิดภาวะทารกติดแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome) และนาไปสู่การมี ภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation)
นางสาว จันทนา ดลราษี61122230008เลขที่7