Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหลอดเลือดและระบบไหลเวียนเลือด - Coggle Diagram
ความผิดปกติของหลอดเลือดและระบบไหลเวียนเลือด
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตเกิดจาก จํานวนเลือดที่ออกจากหัวใจ (Cardiacoutput) และความต้านทานหลอดเลือด (Peripheral vesselresistant
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความดันโลหิต
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ (Cardiac output)
ปริมานเลือดในร่างกาย (Blood volume)
Resistance ประกอบด้วย
3.1 ความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดแดง (Flexibility of arterialwall)
3.2 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือด (Diameter of artery)
3.3 ผนังหลอดเลือดหนา (Thickness)
การแบ่งระดับของความดันโลหิตสูง
ระดับความดันโลหิตปกติคือ ต่ำกว่า 120/80 mmHg
ระดับขั้นของความดันโลหิตสูง มี 3 ระดับ ดังนี้
Prehypertension ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 120/80-139/89 mmHg
Stage 1 ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140/90-159/99 mmHg
Stage 2 ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 mmHg
ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป
สาเหตุของความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
1.โรคไต
1.1 ความปกติของเนื้อไต Renal parenchymal disease, เนื้อไตอักเสบ เฉียบพลัน (acute glomerulonephritis), ไตอักเสบเรื้อรัง (chronic nephritis), เนื้อไตเป็นถุงน้ำ (polycystic disease), โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissure disease), ไตผิดปกติจากเบาหวาน (diabetic nephropathy) และ การอุดตันกรวยไต (hydronephrosis)
1.2 หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงไตตีบตัน (Renal artery stenosis)
1.3 เนื้องอกที่เกิดจากเรนนิน (Renin producting tumor)
2.โรคของต่อมไร้ท่อ
2.1 Acromegaly ภาวะที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ
2.2 ต่อมไธรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidsm)
2.3 ต่อมธัยรอยด์ทำงานมาก (Hyperthyroidsm)
2.4 โรคของต่อมหมวกไต
ความผิดปกติทางระบบประสาท
3.1 มีภาวะแรงดันในกระโหลกสูงขึ้น จากเนื้องอกในสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
3.2 Sleep apnea
3.3 Autonomic dysreflexia
ได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยากินคุมกำเนิด ยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ มิเนอโรคอร์ติคอยด์ ซัยโคลสปอร์ริน อิริโธรมัยซิน โมโนเอไมด์ออกซิเดสอินหิบิเตอร์ โตรซัยคลิคแอนตี้ดีเพรสแซน โคเคนและแอมเฟตามีน
อาหารที่มีสารธัยรามีน เช่น เนยเก่า ตับไก่ เบียร์ ไวน์
ภาวะเครียดเฉียบพลัน: psychogenic hyperventilation ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ความผิดปกติของหลอดเลือด หลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) หลอดเลือดเออร์ต้าตีบคอด (Coarctation of aorta) มีปริมาตรน้ำในหลอดเลือดมาก
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
Renovascular disease
Pheochromocytoma
อาการ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเล็กน้อยหรือปานกลางมักไม่มีอาการแสดง
เมื่อมีความดันสูงมากขึ้น จะปรากฎอาการเหล่านี้ได้ แต่ไม่เฉพาะเจาะจง คือมีหรือไม่มีอาการก็ได้
ปวดศีรษะ ลักษณะอาการปวดมักจะปวดที่ท้ายทอย โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน และมักค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
เวียนศีรษะ มึนงง ซึ่งอาจเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ อาจมีอาการคล้ายจะเป็นลม
เลือดกำเดาไหล แต่ไม่พบบ่อย
การประเมินผู้ป่วย
การซักประวัติเจ็บป่วย ประวัติครอบครัว การวัด Blood pressure ที่ถูกต้อง
แบบแผนการดำเนินชีวิต อาชีพ การรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ฯลฯ
ความเครียดวิตกกังวล
การตรวจร่างกาย ตรวจระบบหัวใจหลอดเลือด สมอง ตาและไต
การตรวจพิเศษ EKG, Film chest
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ BUN, Cr, urine albumin, lipid profile, electrolyte, serum for potassium and calcium
การรักษา/พยาบาล
1.การรักษาแบบไม่ใช้ยา ได้แก่ การปรับพฤติกรรม (Life Style Modification) ประกอบด้วย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก และการจัดการกับอารมณ์
2.การรักษาโดยการใช้ยา มีเป้าหมายในการลดระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 mmHgยาที่ใช้อาจใช้เป็นยาเดี่ยวหรือรักษาด้วยยาหลายตัวขึ้นกับอาการ
ยาต้านอะดรีเนอจิก (แอลฟาและเบตารีเซฟเตอร์)
ยาต้านแคลเซี่ยมเข้าเซลล์
ยาต้านระบบเรนินแอนจิโอเทนซิน
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
ประเภทของ Stroke
1.Ischemia stroke เป็นภาวะ Stroke ที่เกิดมากที่สุดประมาณ 80% ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
Hemorrhagic stroke เป็นภาวะ Stroke ที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก
อาการ
1.ระยะเฉียบพลัน (Acute stage) เป็นระยะ 24 - 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการหมดสติ มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ระบบการหายใจและการทำงานของหัวใจผิดปกติ
2.ระยะหลังเฉียบพลัน (Post acute stage) เป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคงที่ 1- 14 วัน
3.ระยะฟื้นฟูสภาพ (Recovery stage) 3 เดือนแรก
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อายุ อายุที่สูงขึ้นมีภาวะเสี่ยงสูงขึ้น
เพศ ชายมีภาวะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
ประวัติครอบครัว
ประวัติเคยเป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke มาก่อน
. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
เป็น HT, DM, สูบบุหรี่, สุรา หรือยาเสพติด
โรคของ carotid artery disease และ peripheral
โรคของหัวใจและระบบไหลเวียน cardiovascular disease (HF, congenital heart defects, CHD, cardiomegaly, cardiomyopathy)
Atrial Fibrillation
Transient ischemic attack (TIA)
ไขมันในเลือดสูง
อ้วน
ไม่ออกกำลังกาย
สมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
อาการ
เป็นอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นชั่วขณะโดยมีสาเหตุมาจากการขาดเลือดและหายเป็นปกติในเวลาภายใน 24 ชั่วโมง
มีอาการอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อยู่ประมาณ 2-30 นาที
10-15% จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายใน 3 เดือนหลังเกิด TIA ครั้งแรก
ร้อยละ 5-8 อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายใน 48 ชั่วโมง
ร้อยละ 30-50 พบความผิดปกติจากการขาดเลือด
การประเมิน
ประวัติ
ระยะเวลาที่มีอาการ; conscious, unconscious
การเจ็บป่วยในช่วงที่ผ่านมา เช่นอุบัติเหตุ ผ่าตัด
ประวัติโรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคร่วม ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
การใช้ยา เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
ผู้เห็นเหตุการณ์
การตรวจร่างกาย
อ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีกชาครึ่งซีก
เวียนศีรษะ ร่วมกับเดินเซ
ตามัว หรือ มองเห็นภาพซ้อน
พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
ปวดศีรษะ อาเจียน
ซึม ไม่รู้สึกตัว
การรักษา/พยาบาล
1.การรักษา Ischemic Stroke ที่เกิดจากลิ่มเลือดหรือการอุดตัน ตีบแคบของเส้นเลือด
ใกรณีที่เป็น Stroke ประเภทที่หลอดเลือดแตกและมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความดันในสมองสูง
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาการเตือน Stroke แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อห้ามของการให้ยาละลายลิ่มเลือด
1.มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเป็นอย่างชัดเจน
2.มีอาการเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
3.มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว (NIHSS < 4) หรือ มีอาการทางระบบประสาท อย่างรุนแรง (NIHSS >18)
มีอาการชัก
5.ความดันโลหิตสูง (SBP≥ 185 mmHg, DBP≥ 110 mmHg)
6.มีประวัติเลือดออกในสมองหรือ มีประวัติเป็น Stroke/Head injury ภายใน 3 เดือน History of prior intracranial hemorrhage, neoplasm, or vascular malformation
7.ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (heparin หรือ warfarin) ภายใน 48 ชั่วโมงหรือตรวจพบ ความผิดปกติของเกล็ดเลือดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ มีค่า Partial-thromboplastin time ผิดปกติ มีค่า Prothrombin time มากกว่า 15 วินาที มีค่า International normalized ratio (INR) มากกว่า 1.5
8.มีปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm
9.มี Hct น้อยกว่า 25%
10.มีประวัติผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน
11.มีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะภายใน 21 วัน
มี BS <50 mg/dl หรือ > 400 mg/dl
13.มีประวัติ Myocardial infarction ภายใน 3 เดือน
14.มีการเจาะหลอดเลือดแดงในตำแหน่งที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้ภายใน 7 วัน
15.แขน และหรือ ขา ใบหน้า ซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงอย่างทันทีทันใด
16.พูดไม่ออก ไม่เข้าใจคำพูด หรือพูดไม่ชัดอย่างทันทีทันใด
ตาข้างใดข้างหนึ่งมัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน มีอาการคล้าย
ม่านบังตาอย่างฉับพลัน
19.ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน ชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
20.มีอาการเวียนศีรษะ อยู่เฉย ๆ ก็เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินลำบาก หรือเป็นลม
Thrombopheblitis
สาเหตุ
การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำร่วมกับการอุดตันโดยลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ มักพบผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ อ้วน ตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ที่ทำให้เลือดมีการไหลชะลอตัว เกิดลิ่มเลือดสะสมที่ผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบ อันตรายคือ ลิ่มเลือดลอยไปอุดตันหลอดเลือดที่อวัยวะสำคัญ เช่น ปอด สมอง ไต
อาการ
ปวดบริเวณที่เกิดหลอดเลือดอักเสบ บวม แดง มีการขาดเลือดของอวัยวะที่มีการอุดตัน เช่น อวัยวะส่วนปลายบวม ซีด ปวดน่องเวลากระดกนิ้ว (Homann’s sign) หลอดเลือดดำตื้น ๆ แข็ง บาง แตกง่าย อาจพบคลำชีพจรปลายเท้าได้เบาลง
การรักษา
ให้ยาขยายหลอดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด เช่น Heparine, coumarin
ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลทำการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหรือเอาก้อนเลือดออก
การพยาบาล
ห้ามวิ่ง เดินนาน หรือยกน้ำหนัก
ใส่ผ้ายืดหรือถุงน่องรัดขาไว้ สังเกตอาการเลือดออกจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
ห้ามใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน
ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำโดยการจัดการปัจจัยเสี่ยง
ลดน้ำหนัก
หลอดเลือดอักเสบเฉียบพลัน (TAO)
การวินิจฉัย
เบื้องต้นจากประวัติ
การตรวจ ABI หรือ Droppler ultrasound, Artheriograms เพื่อวินิจฉัย ภาวะขาดเลือดที่หลอดเลือดส่วนปลาย
การรักษา/พยาบาล มีเป้าหมายเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายได้ดีขึ้น
งดสูบบุหรี่
รักษาแผลเรื้อรังที่เท้า
ให้ยาขยายหลอดเลือด แก้ปวด ตามอาการ
ให้ยา NSIAD เมื่อมีอาการหลอดเลือดดำอักเสบ
เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงและดำทั้งขนาดกลางและเล็ก บริเวณแขนและขาอักเสบแบบเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (PAD/Arterial occlusion)
สาเหตุ
ผนังหลอดเลือดแดง (intima)ได้รับอัตรายซึ่งอาจจะเกิดจากแรงดันของความดันโลหิต
การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus
สารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol น้ำตาล เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบได้แก่
การสูบบุหรี่
ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคอ้วนลงพุง
ขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
เพศ
อายุ
การรักษา/พยาบาล
การดูแลรักษาแบบประคับประคอง
การรักษาด้วยยา
การผ่าตัด
อาการ
คล้ายหลอดเลือดแดงอักเสบ คือ จะมีอาการปวดรุนแรงบริเวณที่หลอดเลือดแดงไปเลี้ยง เช่น บริเวณ แขน ขา น่อง
หลอดเลือดดำตีบ (DVT)
สาเหตุ
หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลงเช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเฝือก
การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย
อาการ
อาการที่สำคัญคืออาการบวมที่เท้าเนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโป่งพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด
การรักษา/พยาบาล
หากวินิจฉัยว่าเป็น DVT จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด
วิตามินอีช่วยลดการเกิดโรค
หลอดเลือดดำขอด (Varicose vein)
อาการ
ปวดตื้อ ๆ บริเวณขา กล้ามเนื้อเป็นตระคริว
มีอาการเมื่อยล้าขามากผิดปกติ
ถ้าเป็นเส้นเลือดขอดในระดับรุนแรง จนมีหลอดเลือดอุดตัน จะมีอาการบวมปวด ขามีสีคล้ำ
อาจมีแผลที่เท้าจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และติดเชื้อได้ง่าย
การรักษา/พยาบาล
1.รักษาแบบประคับประคอง
2.การผ่าตัดนำหลอดเลือดที่ขอดออก