Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic theory), นางสาวสุปรียา บุญเพ็ง…
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic theory)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ริเริ่มโดย ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud: 1856-1939) นักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยฟรอยด์มีความเชื่อว่าระดับจิตใจของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ พฤติกรรมและประสบการณ์ในภาวะจิตสำนึกเป็นเพียงส่วนที่เล็กน้อยส่วนหนึ่งของจิตใจเท่านั้นการแสดงออกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตใต้ส านึก ความขัดแย้ง แรงจูงใจ รวมไปถึงความคับข้องใจ
ฟรอยด์ได้ศึกษาและกำหนดแนวคิดของทฤษฎี ซึ่งประกอบด้วย ระดับของจิตใจ (Level of mind) โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind) สัญชาตญาณ (Instinct) กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism) และพัฒนาการ ทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
ระดับของจิตใจ (Level of mind)
ซึ่งฟรอยด์เปรียบเทียบจิตของคนเป็นเหมือนก้อน
น้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับจิตสำนึก (Conscious level) เป็นระดับของจิตใจที่มนุษย์รู้สึกตัวและตระหนักในตนเอง มีพฤติกรรมและการแสดงออกที่ตนรับรู้ พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา ความรู้
2) ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious/Preconscious level) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในระดับกึ่งรับรู้ และไม่รับรู้ อยู่ในระดับลึกลงกว่าจิตส านึก ต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดการระลึกได้
3) ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วนลึกไม่สามารถจะนึกได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา บุคคลมักจะเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีและเลวร้ายในชีวิตที่ผ่านมาของตนไว้ในจิตไร้สำนึกโดยไม่รู้ตัว และจะแสดงออกในบางโอกาสซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้สึกตัว
โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
ฟรอยด์ แบ่งโครงสร้างของจิตใจออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
1) Id เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด เป็นแรงขับตาม
สัญชาตญาณ เป็นการแสวงหาความสุขโดยยึดความพึงพอใจเป็นหลัก เรียกกระบวนการคิดในลักษณะนี้ว่าเป็น“กระบวนการคิดแบบปฐมภูมิ”
2) Ego เป็นส่วนของจิตใจที่ด าเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนปรารถนา ตามหลักแห่งความเป็นจริง (Reality principle) เรียกกระบวนการคิดในลักษณะนี้ว่าเป็น “กระบวนการคิดแบบทุติยภูมิ”
3) Superego เป็นส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม(Conscience) คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล เกิดจากการอบรมสั่งสอนของบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู
สัญชาตญาณ (Instinct)
ฟรอยด์เชื่อว่าแรงผลักดันทางด้านบุคลิกภาพมาจากพลังงาน 2 ประเภทดังนี้
1)สัญชาตญาณทางเพศ (Sexual of life instinct: Libido) ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แสวงหาความพอใจตามที่ตนเองต้องการส่วนที่สำคัญที่สุด คือ แรงขับทางเพศ ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด ในร่างกายมีอวัยวะต่างๆที่ไวต่อการสัมผัสซึ่งจะทำให้เกิดความสุขได้แก่ บริเวณปาก ทวารหนัก และอวัยวะเพศ
2) สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว (Aggressive of instinct: Mortido) ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกันเอาชนะกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึกที่บุคคลใช้เพื่อลดความวิตกกังวลเมื่อเผชิญปัญหาหรือขจัดความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ อันมีสาเหตุมาจากความกลัว ความวิตกกังวล ความคับข้องใจ หรือความขัดแย้งที่ตนแก้ไขไม่ได้
1) การชดเชย (Compensation) เป็นการกระทำพื่อลบล้างจุดบกพร่องจุดอ่อน หรือปมด้อยของตน โดยการสร้างจุดเด่นทางอื่น
2) การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion) เป็นการ
เปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกาย
3) การปฏิเสธ (Denial) เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงโดยการเพิกเฉย เพราะการยอมรับความจริงทำให้รู้สึกไม่สบายใจ
4) การแทนที่ (Displacement) เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่น โดยที่บุคคลหรือวัตถุสิ่งของนั้นไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์แต่อย่างใด
5) การโทษตัวเอง (Introjection) เป็นการตำหนิกล่าวโทษตนเอง
6) การโทษผู้อื่น (Projection) เป็นการโยนอารมณ์ ความรู้สึกที่รับไม่ได้ของคนเราภายในจิตไร้สำนึกไปยังอีกคนหนึ่งหรือเป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่น
7) การแยกตัว (Isolation) เป็นการไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้จะแยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้น
8) การถดถอย (Regression) เป็นการแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับไปสู่ในระดับพัฒนาการของจิตใจและอารมณ์ในระดับต้นๆ เกิดขึ้นเมื่อประสบภาวะความไม่มั่นคงทางจิตใจ
9) การเก็บกด(Repression) เป็นการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จากระดับจิตสำนึกไปสู่ระดับจิตไร้สำนึกเพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ
10) การเก็บกด (ระดับจิตสำนึก) (Suppression) เป็นการลืมบางสิ่งบางอย่างโดยเจตนา มีลักษณะคล้ายกับ repression แต่เป็นกระบวนการขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปจากความคิด และเกิดขึ้นโดยผู้กระทำมีความรู้ตัวและตั้งใจ
11) การลบล้างความรู้สึกผิด (Undoing) เป็นการกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
12) การอ้างเหตุผล (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆ ของตน เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองหรือเป็นการแก้ตัว
13) การหาทางทดแทน (Sublimation) เป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันที่ไม่ดี ที่สังคมไม่ยอมรับ ไปเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นการลดความกดดันทางจิตใจไปในทางสร้างสรรค์
14) การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation) เป็นการที่บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน
15) การเลียนแบบ (Identification) เป็นการรับเอาความคิด ทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะประจำตัวของบุคคลสำคัญในชีวิตหรือบุคคลที่นิยมชมชอบมาเก็บและจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของตนเอง
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้
1) ระยะปาก (Oral stage) อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการใช้ปากในการดูดไม่ว่าจะเป็นการดูดนมมารดา ดูดนิ้ว การกัด การเคี้ยว หรือนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก หากมารดาเลี้ยงดูโดยให้ความรักความอบอุ่นอย่างเหมาะสม
2)ระยะทวารหนัก (Anal stage) อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ต้องการจะขับถ่ายและเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้ หากบิดามารดามีการฝึกการขับถ่ายของเด็กได้อย่างเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง
3) ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage) อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้ความสนใจทางด้านเพศมากและเป็นระยะสำคัญที่เกิดปม oedipal complex ในเด็กผู้ชาย และ electra complex ในเด็กผู้หญิงโดยเด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้าม เกิดการเลียนแบบทางเพศจากบิดาหรือมารดา เด็กชายรู้สึกผูกพันกับมารดาจึงพร้อมเลียนแบบอย่างบิดา เด็กหญิงรู้สึกผูกพันกับบิดาจึงพร้อมเลียนแบบอย่างมารดา
4) ระยะแฝง (Latency stage) อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนาความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนเพศเดียวกัน ถ้าหากในระยะนี้เด็กถูกบังคับให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์จากครอบครัวหรือจากโรงเรียนที่เข้มงวดมากเกินไปจะทำให้เกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำหรือเคร่งครัดเกินไป
5) ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage) อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทางด้านเพศ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นท าให้แรงขับทางเพศกลับมาสูงขึ้นอีก มีการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ระยะวัยรุ่นนี้เป็นระยะที่เด็กเริ่มต้องการความเป็นอิสระต้องการเป็นตัวของตัวเอง
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
สามารถนำแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาใช้ในการพยาบาล โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามีความหมาย มีเป้าประสงค์ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก ซึ่งจะช่วยอธิบายถึงกลไกของพฤติกรรมมนุษย์ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้พยาบาลสามารถแยกแยะสาเหตุของปัญหาทางจิตของผู้ป่วยได้การวิเคราะห์เกี่ยวกับกลไกการป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยจิตเวช จะเป็นแนวทางในการช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้กลไกการป้องกันทางจิตที่เหมาะสมต่อไป
นางสาวสุปรียา บุญเพ็ง 61122230023 เลขที่20