Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy’s adaptation theory) :pencil2:,…
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
(Roy’s adaptation theory) :pencil2:
กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับทฤษฎี :!:
บุคคล (Person)
เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วย ร่างกาย จิต สังคม
(Biopsychosocial) ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
สิ่งแวดล้อม (Environment
)เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวบุคคลทั้งภายในและ
ภายนอก มีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล สิ่งเร้ามี3 ประเภท
1.สิ่งเร้าตรง
2.สิ่งเร้าร่วม
3.สิ่งเร้าแฝง
สุขภาพ (Health) เป็นภาวะของบุคคลที่มีความมั่นคงและสมบูรณ์ ทั้งด้าน
ร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นผลมาจากความสามารถในการปรับตัวของบุคคล
การพยาบาล (Nursing) เป็นการดูแลช่วยเหลือบุคคล ครอบครัว และชุมชน
โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของบุคคล ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคล
การพยาบาลตามแนวคิดของรอย :explode:
1) การประเมินองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ป่วย (Assessment ofinfluencing factors)
เป็นการประเมินเพื่อสืบค้นสาเหตุของพฤติกรรมที่เน้นปัญหาของผู้ป่วยโดยพิจารณาสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว
2) การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เป็นขั้นตอนในการวินิจฉัยปัญหาของผู้ป่วยภายหลังได้ข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ถูกต้องครบถ้วนแล้วนำข้อมูลมากำหนดเป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาล โดยจัดตามล าดับความส าคัญก่อนหลัง
3) การวางแผนการพยาบาล (Nursing plan)
เป็นการกำหนดเป้าหมายในการพยาบาลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยภายหลังดำเนินกิจกรรมการพยาบาลไปแล้วในทฤษฎีของรอยคือ การช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม
4) การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing intervention)
เป็นการกระทำต่อผู้ป่วยโดยเน้นการจัดการกับสิ่งเร้าหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุโดยพิจารณาตามความเหมาะสมและสถานการณ์ของผู้ป่วย
5) การประเมินผล (Evaluation)
เป็นขั้นตอนของการสรุปและวิเคราะห์ประสิทธิผลของสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว โดยสังเกตจากพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วย และนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลก่อนทำการพยาบาลและสรุปผล
มโนทัศน์หลักในทฤษฎีการปรับตัวของรอย :red_flag:
พฤติกรรมการปรับตัวของบุุุคล
1) การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological mode)
เป็นการปรับตัวเพื่อรักษาความมั่นคงด้านร่างกายพฤติกรรมการปรับตัวด้านนี้จะสนองตอบต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคล 5 ด้าน ความต้องการออกซิเจนอาหารการขับถ่าย กิจกรรมและการพักผ่อน รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย
2) การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ (Self-concept mode)
เป็นการปรับตัวเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ อัตมโนทัศน์เป็นความเชื่อและความรู้สึกที่บุคคลยึดถือเกี่ยววกับตนเองในช่วงเวลาหนึ่งเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา ภาวะสุขภาพการทำหน้าที่รวมไปถึงความเชื่อและค่านิยม
3) การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (Role function mode)
บทบาทปฐมภูมิ (Primary role)
เป็นบทบาทตามอายุ เพศ และระดับพัฒนาการ เช่น บทบาทการเป็นวัยรุ่นและบทบาทการเป็นผู้สูงอายุ เป็นต้น
บทบาททุติยภูมิ (Secondary role)
เป็นบทบาทที่เกี่ยวกับงานตามระดับพัฒนาการ เช่น บทบาทการเป็นบิดามารดา บทบาทการเป็นสามีภรรยาและบทบาทตามอาชีพเช่น บทบาทการเป็นพยาบาล บทบาทการเป็นครู และบทบาทการเป็นนักศึกษา
บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role)
เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้นได้รับ เช่น บทบาทสมาชิกสมาคมและบทบาทผู้ป่วยเป็นต้น
4) การปรับตัวด้านการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent mode)
บุคคลมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลที่สามารถปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence)ได้อย่างเหมาะสมจะต้องมีความสมดุลระหว่างการพึ่งตนเอง (Independence) การพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) และการให้ผู้อื่นได้พึ่งตนเอง ถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้ก็จะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
สิ่งแวดล้อม (Environment)
1) สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli)
เป็นสิ่งเร้าที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่หรือเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและกระตุ้นให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการปรับตัวมากที่สุด เช่น การผ่าตัดเต้านม การเจ็บป่วยที่เป็นอยู่หรือความเจ็บปวด เป็นต้น
2) สิ่งเร้าร่วม (Contextual stimuli)
เป็นสิ่งเร้าอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ และมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของบุคคล เช่น คุณลักษณะทางพันธุกรรม เพศ อายุ ระยะะต่างๆ ของพัฒนาการ สถานภาพสมรส บทบาทในสังคม การสูบบุหรี่ ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์แบบแผนการดำเนินชีวิต และการสนับสนุนทางสังคม
3) สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli)
เป็นปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของบุคคล เป็นสิ่งที่แอบแฝงอยู่ภายในและนอกตัวบุคคล เช่น ค่านิยม ทัศนคติ อุปนิสัย หรือประสบการณ์ในอดีต เป็นต้น
สุขภาพ (Health)แบ่งระดับความสามารถในการปรับตัวออกเป็น 3 ลักษณะ
1) ระดับปกติ (Integrated level) เป็นภาวะที่โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายทำงานเป็นองค์รวม สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลได้อย่างเหมาะสม
2) ระดับชดเชย (Compensatory level) เป็นภาวะที่กระบวนการชีวิตถูกรบกวนทำให้กลไกการควบคุมและการรับรู้ของระบบบุคคลถูกกระตุ้นให้ท างานเพื่อจัดการกับสิ่งเร้า
3) ระดับบกพร่อง (Compromised level) เป็นภาวะที่กระบวนการปรับตัวระดับปกติและระดับชดเชยทำงานไม่เพียงพอที่จะจัดการกับสิ่งเร้าได้ก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัวตามมา
สรุปทฤษฎีการปรับตัวของรอย :checkered_flag:
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย ช่วยให้เห็นลักษณะของวิชาชีพพยาบาล และทิศทางการปฏิยัติการพยาบาล จุดมุ่งหมายและกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสม และท้ายที่สุดทฤษฏีการปรับตัวของรอยยังได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าของผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับบริการที่พยาบาลควรให้ความสำคัญการส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วยนับว่าเป็นบริการจากพยาบาลที่มีคุณประโยช์นต่อบุคคล
นางสาว ชลดา เขียนแก้ว รหัส 61122230116 เลขที่ 107